xs
xsm
sm
md
lg

น้องใหม่SCIเปิดงานอนาคต มั่นใจเข้าเทรดโค้งสุดท้ายปีนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:

“เอสซีไอ อิเลคตริค” เตรียมเข้าเทรดในช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ มั่นใจโครงการลงทุนอนาคตช่วยผลักดันรายได้บริษัทแตะระดับ 5 พันล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า ผู้บริหารระบุงานสปป.ลาวฉลุย รัฐบาลเชื่อฝีมือป้อนงานระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง ขณะที่งานในประเทศส่อได้อานิสงส์จากแผนลงทุนด้านพลังงานร่วม 2 หมื่นล้าน พร้อมหวังอนาคตสัดส่วนรายได้ธุรกิจพลังงานทดแทนขยับขึ้นมาเป็น50%

เร็วๆนี้ หุ้นในกลุ่มพลังงาน น่าจะมีน้องใหม่เข้ามาเป็นสมาชิก ภายใต้ชื่อ บริษัท เอสซีไอ อิเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) ผู้ผลิตและจำหน่ายตู้สวิตช์บอร์ด รางเดินสายไฟและอุปกรณ์รองรับ ผลิตและจำหน่ายเสาไฟฟ้าแรงสูง เสาสื่อสารโทรคมนาคม และโครงสร้างเหล็กชุบกัลวาไนซ์ รวมทั้ง ธุรกิจบริการรับเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงดันสูงและระบบจำหน่ายไฟฟ้า เข้ามาอยู่ในหมวดด้วยมูลค่ามาร์เกตแคป 4 - 5 พันล้านบาท

โดยล่าสุดเหลือเพียงเคาะสรุปราคาขายหุ้นIPO ที่คาดกันว่า 5.50 - 6.00 บาท หลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบไฟลิ่ง SCI แล้ว เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา สำหรับหุ้นIPO ของ SCI จำนวน 187.50 ล้านหุ้น พาร์ละ 1 บาท/หุ้น

“วิชา โตมานะ” กรรมการผู้จัดการ สายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวถึงแผนการเข้าซื้อขายบนกระดานเทรดของ SCI ว่า หากไม่มีสถานการณ์ที่สร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นไทย จนทำให้การเข้าซื้อขายไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย SCI พร้อมที่จะเข้าเทรดภายในช่วงที่เหลือของปีนี้แน่นอน

ย้อนกลับมาดูที่ธุรกิจที่น่าสนใจและติดตาม SCI ถือเป็นผู้ประกอบการที่อยู่คู่กับอุตสาหกรรมด้านพลังงานไฟฟ้ามาช้านานร่วม 50 ปี ผ่านผู้บริหารถึง 3 รุ่น และเคยมีแผนเตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในช่วงดังกล่าว ทำให้แผนดังกล่าวถูกพับเก็บไป จนมาถึงรุ่นที่ 3 อย่าง “เกรียงไกร เพียรวิทยาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCI” แผนการระดมทุนเพิ่มขยายกิจการรองรับการเติบโตทางธุรกิจจึงได้เกิดขึ้นอีกครั้ง

หันมามองที่กลุ่มลูกค้า นอกจากผู้ให้บริการไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ อย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครลวง พบว่า SCI ยังให้บริการแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมด้านพลังงานแถบตะวันออก รวมไปถึงกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีรองรับ ไม่เพียงเท่านี้การมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าสปป.ลาว จากผลงานและความเชี่ยวชาญในด้านสินค้า และการวางระบบ ยังทำให้ SCI มีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนภายใต้บริษัทย่อย คือ บริษัท ตาดสเลน พาวเวอร์ จำกัด(TAD) ที่สปป.ลาว ด้วยโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาด 3.2 เมกะวัตต์อายุสัมปทาน 30 ปี อยู่ในมือ

“ที่สปป.ลาวตอนนี้เราได้งานปรับปรุงระบบไฟฟ้าเฟสแรก 94 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ซึ่งจะจบในปี 2015 แต่เฟส2 อีก 67 ล้านเหรียญจะเริ่มเข้ามาในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ซึ่งนับเป็นงานในอนาคตที่เราจะเข้าไปรับ ส่วนงานอนาคตโปรเจกต์ที่ 2 คือการก่อสร้างโรงงานผลิตโครงเหล็กที่เมียนมาร์ ซึ่งSCI จะลงทุน 40% ที่เหลือจากมาจากกลุ่ม “มิตซูบิชิฯ” ที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลเมียนมาร์ในการนำเข้า - ส่งออกโครงเหล็ก และกลุ่มผู้ประกอบการในประเทศ มูลค่า 26 ล้านเหรียญสหรัฐ

โปรเจกต์ที่ 3 คือการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมของประเทศ และโครงการสุดท้าย คือโครงการก่อสร้างสายส่ง สถานีไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมใน สปป.ลาว มูลค่าประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ ด้วยเพราะเป็นโครงการในรูปแบบ Turn Key Project ที่บริษัทต้องหาสถาบันการเงินมาปล่อยกู้ให้แก่รัฐบาลสปป.ลาว เพื่อนำมาจ่ายให้บริษัทดำเนินโครงการ”

“เกรียงไกร” กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายการลงทุนในเมียนมาร์และ สปป.ลาว ถือเป็นการเตรียมพร้อมขยายธุรกิจ เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีเกิดขึ้นภายในปลายปีนี้ และเป็นการเพิ่มที่มาของรายได้และกระจายความเสี่ยงในการลงทุนของบริษัท ซึ่งในอนาคต จากการลงทุนในหลากหลายธุรกิจทำให้สัดส่วนรายได้มาจากหลายส่วน แต่เมื่อการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้งในประเทศ และต่างประเทศแล้วเสร็จ คาดว่าสัดส่วนรายได้จะเปลี่ยนเป็นรายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทน 50% และรายได้จากธุรกิจหลักอีก 50%

“แม้เราจะมีการลงทุนจำนวนมากในอนาคต แต่อัตราหนี้สินต่อทุน(D/E)ของบริษัท จะไม่เติบโตจนน่ากังวล เนื่องจากบริษัทจะใช้เงินจากการระดมทุนไปชำระหนี้และมาขยายธุรกิจ ซึ่งหากแผนงานเป็นไปตามเป้าหมาย เชื่อว่าภายในอีก 2 ปีจากนี้เราน่าจะมีรายได้ระดับ 3 พันล้านบาท และภายใน 5 ปีรายได้ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านบาท จากช่วง 3 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ที่ระดับ 2.8 พันล้านบาท”

นอกจากนี้ในส่วนงานภายในประเทศ ด้วยการมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจแบบ Make to Order ทำให้บริษัทไม่มีปัญหาด้านต้นทุนหรือสต็อกสินค้า อีกทั้งเสาไฟฟ้าแรงสูง เสาสื่อสารโทรคมนาคมยังมีอัตราการเติบโตสูง โดยประเด็นที่ผู้บิหารให้นำหนักนั่นคือการลงทุนด้านพลังงานของประเทศในอนาคตมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะแบ่งเป็นการลงทุนด้านโครงสร้างและอุปกรณ์ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศเพียง 4 ราย และ SCI คือ หนึ่งในนั้นทำให้เชื่อว่าบริษัทมีโอกาสเข้าคว้ามูลค่างานประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ของช่วงเวลาลงทุนอีกประมาณ5ปีข้างหน้า

SCI ระบุชัดเจนว่าเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทจะนำไปชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในโครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า (PDSR) เฟส 2 ในสปป.ลาว และลงทุนในโรงงานผลิตในเมียนมาร์นอกจากนี้ จะนำเงินบางส่วนไปลงทุนในโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย ขนาด 45 เมกะวัตต์ โดยร่วมทุนกับพันธมิตรในสัดส่วนประมาณ 30% ของมูลค่าลงทุนทั้งหมดราว 3.5-3.7 พันล้านบาท ซึ่งเริ่มขึ้นในปีหน้า

โดยผลจากการนำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุน (โรดโชว์)ทั้งภายในและต่างประเทศ ผู้บริหารให้ข้อมูลว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้มั่นใจว่าหุ้นของบริษัทจะถูกจองซื้อได้ตามสัดส่วนที่นำออกมาเสนอขาย

สำหรับผลการดำเนินงาน SCI ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 บริษัทมีรายได้จากการขายและการให้บริการเพิ่มขึ้น 14.42% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 143.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.33% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน





ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ปลื้มผลโรดโชว์นักลงทุนสถาบันสนใจอื้อ
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ปลื้มผลโรดโชว์นักลงทุนสถาบันสนใจอื้อ
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบรับที่ดี จากการเดินสายโรดโชว์มากกว่า 10 สถาบันชั้นนำของไทย ในช่วงวันที่ 17-22 กันยายนที่ผ่านมา ด้านผู้บริหาร “พีระพงศ์ จรูญเอก” ประกาศเดินหน้ารุกธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวรถไฟฟ้า-โซนตะวันออกอย่างเต็มที่ หวังผลักดันผลการดำเนินงานเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ด้านที่ปรึกษาทางการเงิน บล.กสิกรไทย คาดขายหุ้นไอพีโอ และเข้าเทรดในเดือนตุลาคมนี้ มั่นใจหุ้น ORI มีศักยภาพในการเติบอย่างต่อเนื่อง
กำลังโหลดความคิดเห็น