xs
xsm
sm
md
lg

“GCAP” เตรียมยื่นแบงก์ชาติขอนาโนไฟแนนซ์ คาดสรุป Q3/58 (ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายสันติ หอกิตติกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.จีแคปปิตอล หรือ GCAP
“จีแคปปิตอล” เตรียมยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ขอใบอนุญาติทำสินเชื่อรากหญ้า และสินเชื่อส่วนบุคคล คาดได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 2 ปีนี้ เน้นกลุ่มลูกค้าเกษตรกร และSME ขนาดเล็ก แย้มอนาคตอาจปรับสัดส่วนธุรกิจสินเชื่อกู้ยืมแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันช่วยเสริมรายได้ พร้อมเสนอขออนุมัติผู้ถือหุ้นปลายเมษายนนี้



นายสันติ หอกิตติกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.จีแคปปิตอล หรือ GCAP กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ในช่วงของการศึกษาข้อมูลเพื่อเตียมความพร้อม โดยเตรียมที่จะเข้ายื่นขอใบอนุญาตเป็นผู้ออกสินเชื่อรากหญ้า (นาโนไฟแนนซ์) ต่อทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาสที่ 2 นี้ และสามารถเปิดให้บริการสินเชื่อแก่ประชาชนได้ภายในไตรมาสที่ 3 นี้ ขณะที่ในส่วนของแผนการดำเนินธุรกิจสินเชื่อนั้นในปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าการเติบโตทั้งในส่วนของรายได้ และกำไรไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 14% จากปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถมีรายได้กว่า 186.22 ล้านบาท และกำไรสุทธิกว่า 59.41 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งของรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการเพิ่มพอร์ตสินเชื่อคงค้างสิ้นปีที่ 1,000 ล้านบาท จากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ประมาณ 900 ล้านบาท

“ต้องยอมรับว่าการทำสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และสินเชื่อส่วนบุคคลมีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 36% ต่อปี แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่รัฐบาลวางไว้มีความยืดหยุ่นสูง เพราะเป็นสินเชื่อแบบไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทฯ มองไว้จะเน้นที่ฐานลูกค้าเก่าเป็นหลัก เนื่องจากวงเงินกู้ไม่สูงมาก และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกตามฤดูกาล”

ขณะเดียวกัน ในเดือนเมษายนนี้ บริษัทฯ เตรียมที่จะขออนุมัติผู้ถือหุ้นในการเพิ่มประเภทธุรกิจใหม่คือ สินเชื่อกู้ยืมแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จากปัจจุบันที่บริษัทฯ มีการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้ออุปกรณ์การเกษตรอย่างเดียว ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ไม่มีข้อจำกัดเฉพาะกลุ่มลูกค้าเกษตรกรอย่างเดียวเหมือนที่มีอยู่

ทั้งนี้ ในส่วนของการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ของบริษัทฯ ซึ่งมีนโยบายการบริหารหนี้เสียทั้งปีให้อยู่ที่ไม่เกิน 8% ซึ่งเป็นระดับปกติที่บริษัทฯ ได้ตั้งสำรองความเสี่ยงหนี้เสียไว้ (ไม่รวมสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และสินเชื่อส่วนบุคคล) โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าเพิ่มสินเชื่อคงค้างในรอบบัญชีปีนี้ไว้ที่ 1,000 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น