“หม่อมอุ๋ย” ยันไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด ระบุเงินเฟ้อติดลบ 2 เดือนติดต่อเพราะราคาน้ำมันร่วงต่ำสุด แต่ก็ต้องจับตา เชื่อ กนง.คิดได้ ส่วนจะลดดอกเบี้ยหรือไม่ ตอนนี้มี กนง.บางคนเสนอลดดอกเบี้ย เผยข่าวประธานบอร์ด ธอส.ชำแหละฝ่ายบริหาร ตนจะเข้าไปดูแม้จะเป็นเรื่องของกระทรวงคลัง
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืดตามที่หลายฝ่ายกังวล หลังจากอัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 2 เดือน จากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่การลดลงของการใช้จ่าย ซึ่งเมื่อดูการใช้จ่ายเดือนต่อเดือนเทียบกับปีที่แล้วพบว่า ยังสูงกว่า ซึ่งยังไม่ใช่ภาวะที่เรียกว่าเงินฝืด แม้ว่าเงินเฟ้อเดือน ก.พ.จะติดลบสูงสุดในรอบ 5 ปี 5 เดือน แต่ก็ต้องติดตามดูในระยะต่อไป
ส่วนจะเป็นปัจจัยที่ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่นั้น เชื่อว่า กนง.คงคิดออก เพราะขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มเสียงอ่อนแล้ว เห็นได้จาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็เป็นหนึ่งในกรรมการ กนง.คิดไปในทางให้ลดดอกเบี้ยอยู่แล้ว จึงคิดว่าควรปล่อยให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน 7 คนคุยกัน
สำหรับการเบิกจ่ายภาครัฐ ตนมองว่า การเบิกจ่ายงบประมาณถือว่าดีขึ้นกว่าปีก่อน แต่การที่นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง บอกว่า การเบิกจ่ายมีปัญหา คงเป็นเพราะยังไม่ได้ดั่งใจ ขณะนี้งบประมาณลงทุนน่าจะเข้าเป้าต้องรอตัวเลขวันที่ 28 ก.พ.ก่อน ซึ่งภาพรวมการใช้จ่ายภาครัฐถึงวันที่ 20 ก.พ.ยังดีกว่าเดือน ธ.ค.ปีที่แล้วมาก ขณะนี้จึงไม่จำเป็นต้องเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวถึงกระแสข่าวการปลด นางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รวมถึงการผลักดันนายขรรค์ ประจวบเหมาะ อดีตกรรมการผู้จัดการ ธอส.เข้ามาเป็นที่ปรึกษาของธนาคาร
“ไม่รู้เรื่องครับ เพราะไม่ได้คุม คลังเขาคุม แต่เดี๋ยวคงต้องไปตามให้รู้เรื่องแล้วล่ะ ยืนยันว่าผมไม่ได้เกี่ยวข้อง เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงคลัง” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
***ไทยพาณิชย์ชี้น้ำมันยังกดดันเงินเฟ้อต่อ
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรืออีไอซี ออกบทวิเคราะห์ “อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบที่ระดับ 0.52%” โดยระบุว่า ตามที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 0.52% YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวเช่นกันจาก 1.64% YOY ในเดือนมกราคม เหลือเพียง 1.45% YOY ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น อีไอซีมองว่า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงเป็นปัจจัยหลักให้เงินเฟ้อทั่วไปติดลบต่อเนื่อง โดยดัชนีเงินเฟ้อในส่วนของพลังงานยังคงปรับลดลง 12.89% YOY ตามราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่หดตัวราว 14.04% YOY พร้อมกับค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ที่ปรับลดลง 10.04 สตางค์ต่อหน่วยมาตั้งแต่เดือนมกราคม นอกจากนี้ ยังพบว่าเงินเฟ้อในส่วนของสินค้าหมวดอาหารสดก็ชะลอตัวลงต่อเนื่องเช่นกัน จาก 0.85% YOY ในเดือนมกราคม เหลือเพียง 0.18% YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอานิสงส์จากต้นทุนการขนส่งที่ต่ำลงค่อนข้างมาก และปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ยังคงเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาเฉลี่ยของสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์นม และผักผลไม้ ยังคงมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีเทศกาลตรุษจีนในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ก็ตาม
เงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอตัวลงเริ่มสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบทางอ้อมจากราคาน้ำมันมากขึ้น เงินเฟ้อพื้นฐานเดือนกุมภาพันธ์ ชะลอตัวเหลือเพียง 1.45% YOY นับเป็นการชะลอตัวค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับระดับ 1.64% YOY ในเดือนก่อนหน้านี้ โดยเงินเฟ้อในส่วนของอาหารสำเร็จรูปชะลอตัวเหลือเพียง 3.32% YOY เมื่อเทียบกับ 3.97% ในเดือนมกราคม และเงินเฟ้อในส่วนของสินค้าที่ไม่ใช่อาหารเดือนกุมภาพันธ์ หดตัว 1.71% YOY ต่อเนื่องจากที่หดตัว 1.86% ในเดือนมกราคม
อีไอซี ประเมินว่า ภาพรวมการบริโภคยังอยู่ในภาวะทรงตัว ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อพื้นฐานจะชะลอตัว โดย 89% ของการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น มาจากอาหารสำเร็จรูปซึ่งได้รับผลกระทบหลักจากการลดลงของราคาพลังงาน ในขณะที่ระดับราคาของสินค้าที่ไม่ใช่อาหารนั้นแทบไม่มีการชะลอตัว บ่งชี้ว่า การชะลอตัวของเงินเฟ้อพื้นฐานนั้นเกิดจากปัจจัยด้านราคาพลังงานเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้ครัวเรือน และรายได้เกษตรกรที่ลดลงต่อเนื่องถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ยังต้องจับตามองในปี 2015 โดยอีไอซีคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2015 จะอยู่ที่ 0.7% และ 1.6% ตามลำดับ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืดตามที่หลายฝ่ายกังวล หลังจากอัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 2 เดือน จากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่การลดลงของการใช้จ่าย ซึ่งเมื่อดูการใช้จ่ายเดือนต่อเดือนเทียบกับปีที่แล้วพบว่า ยังสูงกว่า ซึ่งยังไม่ใช่ภาวะที่เรียกว่าเงินฝืด แม้ว่าเงินเฟ้อเดือน ก.พ.จะติดลบสูงสุดในรอบ 5 ปี 5 เดือน แต่ก็ต้องติดตามดูในระยะต่อไป
ส่วนจะเป็นปัจจัยที่ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่นั้น เชื่อว่า กนง.คงคิดออก เพราะขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มเสียงอ่อนแล้ว เห็นได้จาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็เป็นหนึ่งในกรรมการ กนง.คิดไปในทางให้ลดดอกเบี้ยอยู่แล้ว จึงคิดว่าควรปล่อยให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน 7 คนคุยกัน
สำหรับการเบิกจ่ายภาครัฐ ตนมองว่า การเบิกจ่ายงบประมาณถือว่าดีขึ้นกว่าปีก่อน แต่การที่นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง บอกว่า การเบิกจ่ายมีปัญหา คงเป็นเพราะยังไม่ได้ดั่งใจ ขณะนี้งบประมาณลงทุนน่าจะเข้าเป้าต้องรอตัวเลขวันที่ 28 ก.พ.ก่อน ซึ่งภาพรวมการใช้จ่ายภาครัฐถึงวันที่ 20 ก.พ.ยังดีกว่าเดือน ธ.ค.ปีที่แล้วมาก ขณะนี้จึงไม่จำเป็นต้องเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวถึงกระแสข่าวการปลด นางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รวมถึงการผลักดันนายขรรค์ ประจวบเหมาะ อดีตกรรมการผู้จัดการ ธอส.เข้ามาเป็นที่ปรึกษาของธนาคาร
“ไม่รู้เรื่องครับ เพราะไม่ได้คุม คลังเขาคุม แต่เดี๋ยวคงต้องไปตามให้รู้เรื่องแล้วล่ะ ยืนยันว่าผมไม่ได้เกี่ยวข้อง เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงคลัง” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
***ไทยพาณิชย์ชี้น้ำมันยังกดดันเงินเฟ้อต่อ
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรืออีไอซี ออกบทวิเคราะห์ “อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบที่ระดับ 0.52%” โดยระบุว่า ตามที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 0.52% YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวเช่นกันจาก 1.64% YOY ในเดือนมกราคม เหลือเพียง 1.45% YOY ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น อีไอซีมองว่า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงเป็นปัจจัยหลักให้เงินเฟ้อทั่วไปติดลบต่อเนื่อง โดยดัชนีเงินเฟ้อในส่วนของพลังงานยังคงปรับลดลง 12.89% YOY ตามราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่หดตัวราว 14.04% YOY พร้อมกับค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ที่ปรับลดลง 10.04 สตางค์ต่อหน่วยมาตั้งแต่เดือนมกราคม นอกจากนี้ ยังพบว่าเงินเฟ้อในส่วนของสินค้าหมวดอาหารสดก็ชะลอตัวลงต่อเนื่องเช่นกัน จาก 0.85% YOY ในเดือนมกราคม เหลือเพียง 0.18% YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอานิสงส์จากต้นทุนการขนส่งที่ต่ำลงค่อนข้างมาก และปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ยังคงเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาเฉลี่ยของสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์นม และผักผลไม้ ยังคงมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีเทศกาลตรุษจีนในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ก็ตาม
เงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอตัวลงเริ่มสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบทางอ้อมจากราคาน้ำมันมากขึ้น เงินเฟ้อพื้นฐานเดือนกุมภาพันธ์ ชะลอตัวเหลือเพียง 1.45% YOY นับเป็นการชะลอตัวค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับระดับ 1.64% YOY ในเดือนก่อนหน้านี้ โดยเงินเฟ้อในส่วนของอาหารสำเร็จรูปชะลอตัวเหลือเพียง 3.32% YOY เมื่อเทียบกับ 3.97% ในเดือนมกราคม และเงินเฟ้อในส่วนของสินค้าที่ไม่ใช่อาหารเดือนกุมภาพันธ์ หดตัว 1.71% YOY ต่อเนื่องจากที่หดตัว 1.86% ในเดือนมกราคม
อีไอซี ประเมินว่า ภาพรวมการบริโภคยังอยู่ในภาวะทรงตัว ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อพื้นฐานจะชะลอตัว โดย 89% ของการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น มาจากอาหารสำเร็จรูปซึ่งได้รับผลกระทบหลักจากการลดลงของราคาพลังงาน ในขณะที่ระดับราคาของสินค้าที่ไม่ใช่อาหารนั้นแทบไม่มีการชะลอตัว บ่งชี้ว่า การชะลอตัวของเงินเฟ้อพื้นฐานนั้นเกิดจากปัจจัยด้านราคาพลังงานเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้ครัวเรือน และรายได้เกษตรกรที่ลดลงต่อเนื่องถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ยังต้องจับตามองในปี 2015 โดยอีไอซีคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2015 จะอยู่ที่ 0.7% และ 1.6% ตามลำดับ