“แบงก์ชาติ” มั่นใจไม่มีสัญญาณภาวะเศรษฐกิจไทยฝืด เพราะการสำรวจความเชื่อมั่นทุกรอบ และครั้งล่าสุดสะท้อนความเชื่อมั่นดีขึ้น ทำให้แนวโน้มการบริโภคปรับตัวดี มองภาพรวมเศรษฐกิจไทยลักษณะวีเชฟ ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว คาดเริ่มเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนในไตรมาส 3 ปีนี้ ขณะที่ดัชนีการอุปโภคบริโภคเอกชนเป็นบวกครั้งแรกรอบ 11 เดือน
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) กล่าวว่า การบริโภคลดลงทั้งจากภาวะเศรษฐกิจชะลอ และปัญหาการเมืองไม่ได้ส่งสัญญาณว่าภาวะเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะฝืด เนื่องจากการสำรวจทุกรอบ และเมื่อครั้งล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนดีขึ้นตามลำดับ ทำให้การบริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่ประชาชนมีความระมัดระวังการใช้จ่าย และการลงทุนช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และการฟื้นตัวลักษณะวีเชฟ จึงให้รอดูตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ส.ค.และ ก.ย.ของปีนี้ เพื่อประเมินภาพเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจนขึ้น
ข้อมูลล่าสุดของ ธปท.ในรายงานเศรษฐกิจ และการเงินประจำเดือน ก.ค.57 พบว่า ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนอยู่ที่ 0.2% ขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอยู่ระดับ 41.4 จากเดือน มิ.ย.ที่ระดับ 38.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 3 เดือนข้างหน้าดีขึ้นกันขยับแตะที่ 45.4 จากเดือนก่อน 43.7 ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจสะท้อนการลงทุน ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งปัจจุบัน และอนาคตอยู่ที่ระดับ 49.6 และ 56.1 ตามลำดับ
ก่อนหน้านี้ นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในระยะต่อไปมองว่าจะไม่เห็นพระเอกเฉพาะภาคใดภาคหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่มีหลายเครื่องยนต์เริ่มทำงานพร้อมกันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3 ของปีนี้จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ช่วงเดือน 2 หลังจุดเปลี่ยนทางการเมืองและเป็นเดือนแรกของไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยล่าสุด เดือน ก.คเศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวไม่ชัดเจนมาก หรือทรงตัวจากเดือนก่อน
เหตุผลสำคัญเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เพราะภาคส่งออกไม่ดีเท่าที่คาดไว้ มีทั้งตลาดขยายตัวดีและไม่ดี ประกอบกับเศรษฐกิจยุโรปไม่เข้มแข็ง จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเข้ามา อีกทั้งยังเป็นช่วงระบายสินค้าคงคลังส่งผลให้ภาคการผลิตยังอยู่ระดับต่ำ นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรต่ำไม่เป็นผลบวกต่อรายได้ครัวเรือน และกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และการค้า
เดิมทีเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยรั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง ความเชื่อมั่นภาคเอกชน การจับจ่ายใช้สอยครัวเรือนดีขึ้นเฉพาะหมวดสินค้าไม่คงทน และการลงทุนเอกชนจะส่งผลดีในหมวดก่อสร้างนอกเขตเทศบาลเป็นสำคัญ แต่ขณะนี้กลับคืนสู่ภาวะปกติ คือ การใช้จ่ายการคลัง และภาคการท่องเที่ยวได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แม้ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกคงจะมีการทบทวนประมาณการตัวเลขการส่งออกใหม่
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) กล่าวว่า การบริโภคลดลงทั้งจากภาวะเศรษฐกิจชะลอ และปัญหาการเมืองไม่ได้ส่งสัญญาณว่าภาวะเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะฝืด เนื่องจากการสำรวจทุกรอบ และเมื่อครั้งล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนดีขึ้นตามลำดับ ทำให้การบริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่ประชาชนมีความระมัดระวังการใช้จ่าย และการลงทุนช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และการฟื้นตัวลักษณะวีเชฟ จึงให้รอดูตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ส.ค.และ ก.ย.ของปีนี้ เพื่อประเมินภาพเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจนขึ้น
ข้อมูลล่าสุดของ ธปท.ในรายงานเศรษฐกิจ และการเงินประจำเดือน ก.ค.57 พบว่า ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนอยู่ที่ 0.2% ขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอยู่ระดับ 41.4 จากเดือน มิ.ย.ที่ระดับ 38.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 3 เดือนข้างหน้าดีขึ้นกันขยับแตะที่ 45.4 จากเดือนก่อน 43.7 ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจสะท้อนการลงทุน ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งปัจจุบัน และอนาคตอยู่ที่ระดับ 49.6 และ 56.1 ตามลำดับ
ก่อนหน้านี้ นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในระยะต่อไปมองว่าจะไม่เห็นพระเอกเฉพาะภาคใดภาคหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่มีหลายเครื่องยนต์เริ่มทำงานพร้อมกันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3 ของปีนี้จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ช่วงเดือน 2 หลังจุดเปลี่ยนทางการเมืองและเป็นเดือนแรกของไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยล่าสุด เดือน ก.คเศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวไม่ชัดเจนมาก หรือทรงตัวจากเดือนก่อน
เหตุผลสำคัญเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เพราะภาคส่งออกไม่ดีเท่าที่คาดไว้ มีทั้งตลาดขยายตัวดีและไม่ดี ประกอบกับเศรษฐกิจยุโรปไม่เข้มแข็ง จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเข้ามา อีกทั้งยังเป็นช่วงระบายสินค้าคงคลังส่งผลให้ภาคการผลิตยังอยู่ระดับต่ำ นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรต่ำไม่เป็นผลบวกต่อรายได้ครัวเรือน และกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และการค้า
เดิมทีเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยรั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง ความเชื่อมั่นภาคเอกชน การจับจ่ายใช้สอยครัวเรือนดีขึ้นเฉพาะหมวดสินค้าไม่คงทน และการลงทุนเอกชนจะส่งผลดีในหมวดก่อสร้างนอกเขตเทศบาลเป็นสำคัญ แต่ขณะนี้กลับคืนสู่ภาวะปกติ คือ การใช้จ่ายการคลัง และภาคการท่องเที่ยวได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แม้ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกคงจะมีการทบทวนประมาณการตัวเลขการส่งออกใหม่