กนง.คาดช่วงปฏิรูปเศรษฐกิจอาจกระทบการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะสั้น สั่งกำชับติดตามภาวะหนี้ครัวเรือน หลังอัตราการก่อหนี้ใหม่ยังสูงกว่าการขยายตัวของรายได้ รวมถึงติดตามปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก มั่นใจอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออกจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ชี้บทบาทของนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายเพียงพอที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในระยะต่อไป
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงได้เผยแพร่ความคิดเห็นเพิ่มเติมเมื่อวานนี้ (20 ส.ค.) พบว่า กรรมการบางท่านประเมินว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงต้องติดตาม โดยเฉพาะในช่วงการปฏิรูปเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะสั้นบ้าง พร้อมกันนี้ กำชับให้ติดตามภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง เพราะอัตราการก่อหนี้ใหม่ยังสูงกว่าการขยายตัวของรายได้ รวมถึงยังต้องติดตามผลกระทบของปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
“การปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งหากต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนอาจจำเป็นต้องมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้นบ้าง แต่จะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในประเทศในระยะต่อไป กรรมการบางท่านเชื่อว่าอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออกจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป โดยอุปสงค์ในประเทศ น่าจะได้รับแรงกระตุ้นจากนโยบายการสร้างรายได้ของภาครัฐ ขณะที่การส่งออกจะได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้น” รายงานฉบับดังกล่าว ระบุ
บอร์ด กนง.ประเมินว่า ภายใต้บริบทที่นโยบายการคลังมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น และภาครัฐสามารถกลับมาดำเนินมาตรการเศรษฐกิจเร่งด่วนในระยะสั้น ประกอบกับการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศในมิติต่างๆ เริ่มชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเมื่อมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น ฉะนั้น บทบาทของนโยบายการเงิน คือ การรักษาความผ่อนคลายในระดับที่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่า จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ในระยะต่อไป การใช้จ่ายภาครัฐในระยะสั้นอาจได้รับผลกระทบจากการตรวจสอบโครงการลงทุนภาครัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ต่ำกว่าคาดไว้ แต่เม็ดเงินในปี 2558 จะเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายเหลื่อมปี ขณะที่ปัจจุบันการใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สถาบันการเงินยังมีบทบาท และความสามารถในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่การท่องเที่ยวคาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้น ด้านส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้
บอร์ด กนง.มีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบาย 2% ต่อปี เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ได้แก่ 1.เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน โดยแรงส่งทางเศรษฐกิจในระยะ 12 เดือนข้างหน้า แม้อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต แต่ก็ยังมีความเสี่ยง จึงยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป 2.นโยบายการเงินอยู่ในเกณฑ์ผ่อนคลายมากเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป โดยไม่กระทบเสถียรภาพการเงินในภาพรวม ซึ่งเอื้อต่อความพยายามของภาครัฐในการปฏิรูปประเทศ เพื่อยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย
3.การผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจสร้างต้นทุน ด้านเสถียรภาพในระยะยาว และ 4.การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินภายใต้ภาวะเศรษฐกิจการเงินปัจจุบันที่มีเสถียรภาพในเกณฑ์ที่น่าพอใจอาจส่งสัญญาณที่สับสนให้แก่ตลาด
นอกจากนี้ ในที่ประชุมประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2557 และปี 2558 จะขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน สำหรับปีนี้เศรษฐกิจไทยอาจมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าคาดเล็กน้อยตามการใช้จ่ายภาครัฐที่ล่าช้ากว่าที่คาดไว้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าและบริการกลับมามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นในปีหน้า และแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐาน และเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่าประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนเล็กน้อย แต่ยังมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ กรอบนโยบายบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันยังเหมาะสมรองรับความผันผวนระยะสั้นของค่าเงินบาท หลังสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาลงทุนทั้งตลาดพันธบัตร และตลาดหุ้นของไทย
“ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจากประเมินว่า นโยบายการเงินในปัจจุบันมีความผ่อนปรนเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลง และแนวนโยบายภาครัฐชัดเจนขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ความเชื่อมั่นภาคเอกชนปรับดีขึ้น และอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัว ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ”
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงได้เผยแพร่ความคิดเห็นเพิ่มเติมเมื่อวานนี้ (20 ส.ค.) พบว่า กรรมการบางท่านประเมินว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงต้องติดตาม โดยเฉพาะในช่วงการปฏิรูปเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะสั้นบ้าง พร้อมกันนี้ กำชับให้ติดตามภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง เพราะอัตราการก่อหนี้ใหม่ยังสูงกว่าการขยายตัวของรายได้ รวมถึงยังต้องติดตามผลกระทบของปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
“การปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งหากต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนอาจจำเป็นต้องมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้นบ้าง แต่จะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในประเทศในระยะต่อไป กรรมการบางท่านเชื่อว่าอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออกจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป โดยอุปสงค์ในประเทศ น่าจะได้รับแรงกระตุ้นจากนโยบายการสร้างรายได้ของภาครัฐ ขณะที่การส่งออกจะได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้น” รายงานฉบับดังกล่าว ระบุ
บอร์ด กนง.ประเมินว่า ภายใต้บริบทที่นโยบายการคลังมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น และภาครัฐสามารถกลับมาดำเนินมาตรการเศรษฐกิจเร่งด่วนในระยะสั้น ประกอบกับการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศในมิติต่างๆ เริ่มชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเมื่อมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น ฉะนั้น บทบาทของนโยบายการเงิน คือ การรักษาความผ่อนคลายในระดับที่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่า จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ในระยะต่อไป การใช้จ่ายภาครัฐในระยะสั้นอาจได้รับผลกระทบจากการตรวจสอบโครงการลงทุนภาครัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ต่ำกว่าคาดไว้ แต่เม็ดเงินในปี 2558 จะเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายเหลื่อมปี ขณะที่ปัจจุบันการใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สถาบันการเงินยังมีบทบาท และความสามารถในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่การท่องเที่ยวคาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้น ด้านส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้
บอร์ด กนง.มีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบาย 2% ต่อปี เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ได้แก่ 1.เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน โดยแรงส่งทางเศรษฐกิจในระยะ 12 เดือนข้างหน้า แม้อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต แต่ก็ยังมีความเสี่ยง จึงยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป 2.นโยบายการเงินอยู่ในเกณฑ์ผ่อนคลายมากเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป โดยไม่กระทบเสถียรภาพการเงินในภาพรวม ซึ่งเอื้อต่อความพยายามของภาครัฐในการปฏิรูปประเทศ เพื่อยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย
3.การผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจสร้างต้นทุน ด้านเสถียรภาพในระยะยาว และ 4.การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินภายใต้ภาวะเศรษฐกิจการเงินปัจจุบันที่มีเสถียรภาพในเกณฑ์ที่น่าพอใจอาจส่งสัญญาณที่สับสนให้แก่ตลาด
นอกจากนี้ ในที่ประชุมประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2557 และปี 2558 จะขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน สำหรับปีนี้เศรษฐกิจไทยอาจมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าคาดเล็กน้อยตามการใช้จ่ายภาครัฐที่ล่าช้ากว่าที่คาดไว้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าและบริการกลับมามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นในปีหน้า และแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐาน และเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่าประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนเล็กน้อย แต่ยังมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ กรอบนโยบายบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันยังเหมาะสมรองรับความผันผวนระยะสั้นของค่าเงินบาท หลังสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาลงทุนทั้งตลาดพันธบัตร และตลาดหุ้นของไทย
“ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจากประเมินว่า นโยบายการเงินในปัจจุบันมีความผ่อนปรนเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลง และแนวนโยบายภาครัฐชัดเจนขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ความเชื่อมั่นภาคเอกชนปรับดีขึ้น และอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัว ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ”