xs
xsm
sm
md
lg

TTA งวดสิ้นปี 56 ฟื้นกำไร 250 ล. อานิสงส์ผลงานบริษัทย่อยหนุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โทรีเซนไทยฯ งวดสิ้นปี 56 กำไร 250 ล้านบาท ขณะงวดนี้ปีก่อนขาดทุน 118 ล้านบาท ผลดีจากบริษัทย่อยเกือบทุกแห่งผลประกอบการเติบโตดีถ้วนหน้า เร่งระบายถ่านหินของ “ยูนิคไมนิ่้งเซอร์วิสเซส” หวังปรับโครงสร้างเงินทุนให้เกิดความสมดุล และเหมาะสม สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินใหแก่ริษัท

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA แจ้งผลงานงวดสิ้นปี 56 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 250 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนขาดทุนสุทธิ 118 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 367 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 312%

ทั้งนี้ ผลดีจากบริษัทลูกทั้งโทรีเซนชิปปิ้ง รับรู้ผลกำไรสุทธิเติบโต 490% ที่ 117 ล้านบาท ซึ่ง สูงที่สุดในรอบ 3 ปี ธุรกิจเรือสินค้าแห้งเทกองส่งสัญญาณฟื้นตัว โทรีเซนชิปปิ้งยังคงบริหารงานด้วยโครงสร้างค่าใช้จ่ายได้เปรียบ ผลจากแผนการปรับโครงสร้างกองเรือ และการเอาใจใส่ซ่อมบำรุงเรือสม่ำเสมอ และเมอร์เมด มาริไทม์ รับรู้ผลกำไรสุทธิ 238 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี ผลประกอบการที่ดีขึ้นมาจากทั้งธุรกิจวิศวกรรมใต้ทะเล และธุรกิจเรือขุดเจาะ ซึ่งในไตรมาสนี้ เมอร์เมด มาริไทม์ เริ่มรับรู้ส่วนแบ่งผลกำไรจากเรือขุดเจาะสามขาทั้ง 3 ลำ จากบริษัท Asia OffshoreDrilling (AOD) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่ เมอร์เมด มาริไทม์ ถือหุ้นอยู่ 33.8% แม้บริษัท ยูนิคไมนิ่้งเซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) หรือ UMS รับรู้ผลขาดทุนสุทธิ 35 ล้านบาท ซึ่งมีผลกระทบจากการขนส่งที่ยังดำเนินงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และการเร่งระบายถ่านหินขนาด 0-5 มม. เพื่อที่จะปรับโครงสร้างเงินทุนให้เกิดความสมดุล และเหมาะสม และกลับมาสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินใหแก่บริษัทอีกครั้ง

ขณะที่ บาคองโค ยังคงรับรู้ผลกำไรสุทธิ 88 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง โดยกำไรสุทธิขยายตัว 24% ในไตรมาสนี้ อัตราผลกำไรโดยรวมสูงขึ้นมาจากธุรกิจปุ๋ยที่ยังคงหาช่องทางของการซื้อวัตถุดิบที่ดีขึ้นรวมทั้งการเพิ่มกลยุทธ์การตลาดในประเทศที่มากขึ้น ส่วนธุรกิจคลังสินค้ามีรายได้เติบโต 165% เปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันของปีที่แลว้ จากคลังสินค้าหมายเลข 5 ที่ได้เปิดทำการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

โดยงวดนี้รายได้รวมอยู่ที่ระดับ 5,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 26% รายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัทลูกทุกแห่งหนุน และต้นทุนตรงรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 21% เป็น 4,038 ล้านบาท จากงานบริการสัญญาวิศวกรรมใต้ทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากการได้สัญญาที่มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้บางส่วนถูกชดเชยจากต้นทุนในการขายที่ลดลงของ UMS และบาคองโค

นอกจากนี้ บริษัทมีส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนพุ่งสูงขึ้น 910% มาเป็น 262 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนของเมอร์เมดใน AOD ซึ่ง AOD มีส่วนแบ่งรายไดในไตรมาสนี้ 234 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากผลขาดทุน 11 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น