“อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์” แจงคุ้มค่าซื้อหุ้น “สมาร์ท แทรฟิค” สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี 4 เท่า ย้ำ ST เติบโตอย่างก้าวกระโดด มั่นใจช่วยเสริมบริษัทโตต่อเนื่อง
บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ EIC ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องปัจจัยที่ทำให้ EIC เข้าซื้อหุ้นบริษัทสมาร์ท แทรฟิค จำกัด หรือ ST ซึ่งประกอบธุรกิจติดตั้งระบบให้แก่กรมทางหลวง และการทางพิเศษฯ เช่น ระบบ Easy Pass และระบบจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทางของกรมทางหลวง รวมทั้งการให้บริการซ่อมบำรุง ในราคาหุ้นละ 500 บาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี (book value) ถึง 4 เท่า (ไม่ใช่ 9 เท่า) เนื่องจากมูลค่าตามบัญชี ณ สิ้นปี 2556 อยู่ที่ประมาณหุ้นละ 100 บาท โดยบริษัทมีความเห็นว่า การมองมูลค่าของหุ้นโดยดูมูลค่าตามบัญชีเพียงอย่างเดียว เป็นการมองแบบผิวเผิน เพราะมูลค่าทางบัญชีไม่ได้บอกถึงความสามารถในการทำกำไร และการเติบโตของบริษัทในอนาคตซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า ซึ่งหากลองพิจารณา P/E Ratio ของ ST จะเห็นได้ว่าอยู่เพียงแค่ 12 เท่า ซึ่งค่าเฉลี่ย P/E Ratio ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ที่ 14 เท่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดอิสระ มูลค่าหุ้นจะอยู่ที่ 501.40 บาทต่อหุ้น โดยการดำเนินงานที่ผ่านมานั้น ST เป็นบริษัทที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในอุตสาหกรรม พร้อมด้วยศักยภาพของบริษัทที่มีรายได้ที่โดดเด่น แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.งานกรมทางหลวง เช่น งานติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง งานบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง
2.งานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (EXAT) เช่น งานติดตั้งระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ Easy Pass งานขายบัตรอัตโนมัติ Easy Pass
3.โครงการอื่นๆ เช่น โครงการเกี่ยวกับระบบเก็บเงินค่าจอดรถ โครงการระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้บัตร Smart Card และ Mobile Payment
ทั้งนี้ จากการประเมินมูลค่าของที่ปรึกษาทางการเงิน ในปี 2557 ST จะมีรายได้มากกว่าปี 2556 เนื่องจากเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากโครงการที่ดำเนินการอยู่ในปี 2556 และคาดว่าจะมีการรับงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากการขยายงานของภาครัฐ และจำนวนผู้ใช้ทางที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบางส่วนอยู่ในระหว่างการรอประมูลงาน ซึ่ง ST มีโอกาสสูงที่จะชนะการประมูลเนื่องจากมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้มาโดยตลอด ประกอบกับในอดีตที่ ST ชนะประมูลงานหลายโครงการทั้งในนามตนเอง และในนามของกิจการร่วมค้า จากรายได้และโครงการที่เพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอในอนาคต จึงทำให้ EIC เข้าลงทุนใน ST และ ST เองก็มีทางเลือก (Solution) ใหม่ๆ ที่จะทำให้การชำระเงินทางด้านการคมนาคม (Transport) และเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองแนวทางของภาครัฐ และเอกชนในการเพิ่มความสามารถ และประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
โดยนอกเหนือจากวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด (DCF) ข้างต้น ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท แคปปิตอล ลิ้งแอ๊ดไวเซอรรี่ จำกัด ได้ประเมินมูลค่าด้วยวิธีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) โดยใช้ประมาณการกำไรสุทธิของ ST ปี 2556 ที่ 41.59 บาทต่อหุ้น คูณด้วย P/E Ratio เฉลี่ยของบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับ ST จำนวน 6 บริษัทที่ 11.45 เท่า ได้มูลค่าหุ้น 476.21 บาท ต่ำกว่าวิธี DCF ร้อยละ 5 คณะกรรมการจึงเลือกใช้วิธี DCF ในการตัดสินใจอนุมัติลงทุน เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินให้ความเห็นว่าเป็นวิธีที่ได้วิเคราะห์ถึงการดำเนินงานในอดีต ตลอดจนได้คำนึงถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และการทำกำไรของบริษัทในอนาคตตามหลักการดำเนินงานต่อเนื่องซึ่งจะทำให้สะท้อนมูลค่าของบริษัทได้ดีกว่าวิธีอื่น
บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ EIC ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องปัจจัยที่ทำให้ EIC เข้าซื้อหุ้นบริษัทสมาร์ท แทรฟิค จำกัด หรือ ST ซึ่งประกอบธุรกิจติดตั้งระบบให้แก่กรมทางหลวง และการทางพิเศษฯ เช่น ระบบ Easy Pass และระบบจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทางของกรมทางหลวง รวมทั้งการให้บริการซ่อมบำรุง ในราคาหุ้นละ 500 บาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี (book value) ถึง 4 เท่า (ไม่ใช่ 9 เท่า) เนื่องจากมูลค่าตามบัญชี ณ สิ้นปี 2556 อยู่ที่ประมาณหุ้นละ 100 บาท โดยบริษัทมีความเห็นว่า การมองมูลค่าของหุ้นโดยดูมูลค่าตามบัญชีเพียงอย่างเดียว เป็นการมองแบบผิวเผิน เพราะมูลค่าทางบัญชีไม่ได้บอกถึงความสามารถในการทำกำไร และการเติบโตของบริษัทในอนาคตซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า ซึ่งหากลองพิจารณา P/E Ratio ของ ST จะเห็นได้ว่าอยู่เพียงแค่ 12 เท่า ซึ่งค่าเฉลี่ย P/E Ratio ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ที่ 14 เท่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดอิสระ มูลค่าหุ้นจะอยู่ที่ 501.40 บาทต่อหุ้น โดยการดำเนินงานที่ผ่านมานั้น ST เป็นบริษัทที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในอุตสาหกรรม พร้อมด้วยศักยภาพของบริษัทที่มีรายได้ที่โดดเด่น แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.งานกรมทางหลวง เช่น งานติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง งานบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง
2.งานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (EXAT) เช่น งานติดตั้งระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ Easy Pass งานขายบัตรอัตโนมัติ Easy Pass
3.โครงการอื่นๆ เช่น โครงการเกี่ยวกับระบบเก็บเงินค่าจอดรถ โครงการระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้บัตร Smart Card และ Mobile Payment
ทั้งนี้ จากการประเมินมูลค่าของที่ปรึกษาทางการเงิน ในปี 2557 ST จะมีรายได้มากกว่าปี 2556 เนื่องจากเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากโครงการที่ดำเนินการอยู่ในปี 2556 และคาดว่าจะมีการรับงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากการขยายงานของภาครัฐ และจำนวนผู้ใช้ทางที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบางส่วนอยู่ในระหว่างการรอประมูลงาน ซึ่ง ST มีโอกาสสูงที่จะชนะการประมูลเนื่องจากมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้มาโดยตลอด ประกอบกับในอดีตที่ ST ชนะประมูลงานหลายโครงการทั้งในนามตนเอง และในนามของกิจการร่วมค้า จากรายได้และโครงการที่เพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอในอนาคต จึงทำให้ EIC เข้าลงทุนใน ST และ ST เองก็มีทางเลือก (Solution) ใหม่ๆ ที่จะทำให้การชำระเงินทางด้านการคมนาคม (Transport) และเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองแนวทางของภาครัฐ และเอกชนในการเพิ่มความสามารถ และประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
โดยนอกเหนือจากวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด (DCF) ข้างต้น ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท แคปปิตอล ลิ้งแอ๊ดไวเซอรรี่ จำกัด ได้ประเมินมูลค่าด้วยวิธีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) โดยใช้ประมาณการกำไรสุทธิของ ST ปี 2556 ที่ 41.59 บาทต่อหุ้น คูณด้วย P/E Ratio เฉลี่ยของบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับ ST จำนวน 6 บริษัทที่ 11.45 เท่า ได้มูลค่าหุ้น 476.21 บาท ต่ำกว่าวิธี DCF ร้อยละ 5 คณะกรรมการจึงเลือกใช้วิธี DCF ในการตัดสินใจอนุมัติลงทุน เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินให้ความเห็นว่าเป็นวิธีที่ได้วิเคราะห์ถึงการดำเนินงานในอดีต ตลอดจนได้คำนึงถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และการทำกำไรของบริษัทในอนาคตตามหลักการดำเนินงานต่อเนื่องซึ่งจะทำให้สะท้อนมูลค่าของบริษัทได้ดีกว่าวิธีอื่น