บิ๊กแบงก์กรุงไทย ห่วงชุมนุมยืดเยื้อ-รุนแรง กระทบธุรกิจหลายภาคส่วน โดยเฉพาะโครงการลงทุนรัฐที่ต้องชะงัก ลุ้นสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้โตตามเป้า ยอดแตะ 5.5 หมื่นล้าน หวังไตรมาสสุดท้ายผู้ประกอบการเร่งลงทุน
นายวรภัค ธันยาวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB)กล่าวว่า ตนเองค่อนข้างมีความกังวลอย่างมากกับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งหากการชุมนุมมีความยืดเยื้อก็คงมีการกระทบต่อหลายภาคส่วน กระทบความเชื่อมั่น ภาคส่งออกที่ชะลอลงอยู่แล้ว รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ซึ่งแม้จะไม่ต้องมีการลงทุนมากนักก็จะประสบปัญหาเนื่องจากไตรมาส 4 เป็นช่วงไฮซีซัน
“สิ่งที่เป็นห่วงในขณะนี้คือ ปัญหาการชุมนุม แต่หากสถานการณ์ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุม ก็คงไม่เป็นที่น่ากังวลเท่าไรนัก ในทางกลับกัน หากมีการชุมนุมปิดพื้นที่เศรษฐกิจเหมือนแบบในพื้นที่ราชประสงค์ที่ผ่านมา คงส่งผลกระทบค่อนข้างมาก รวมถึงราชดำเนินที่ล่าสุด มีการประกาศยึดเป็นพื้นที่ชุมนุมก็จะค่อนข้างกระทบเช่นกัน”
นายวรภัค กล่าวอีกว่า โดยส่วนตัวแล้วคาดหวังให้การชุมนุมไม่มีความยืดเยื้อ เพราะในปีนี้เศรษฐกิจมีภาวะชะลอลง อีกทั้งการขยายตัวเศรษฐกิจลดลงอยู่แล้ว และเป็นที่คาดหวังว่าในปี 2557 โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท จะช่วยกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องหยุดชะงักก็จะกระทบเศรษฐกิจ
ลุ้นเอสเอ็มอีเข้าเป้าไตรมาส 4
นายประสิทธิ์ วสุภัทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ของธนาคารกรุงไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มียอดสินเชื่อราว 30,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 55,000 ล้านบาท แต่คาดว่าผู้ประกอบการจะมีการใช้วงเงินมากขึ้นในช่วงสุดท้ายของปี และจะสามารถช่วยเพิ่มยอดสินเชื่อให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่มีการเติบโตมากขึ้น ความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียนก็เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากบางส่วนต้องมีการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งธนาคารก็มีการช่วยแนะนำการลงทุน และเสนอผลิตภัณฑ์ดอกเบี้ยต่ำ
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบายการแก้ไขหนี้ของทางธนาคาร อีกทั้งนโยบายพิจารณาสินเชื่อค่อนข้างระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ทำใหัควบคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
“สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้คือ ปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น และก่อให้เกิดความไม่สะดวกเรียบร้อย ขณะที่ธุรกิจด้านต่างๆ ก็ยังค่อนข้างมีความอ่อนไหวมาก โดยผลกระทบหลักส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงไฮซีซันของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดมีปัญหา ทางธนาคารคงมีการเข้าไปช่วยเหลือเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการชำระหนี้”
“โต้ง” ยอมรับกระทบเศรษฐกิจ Q4 ห่วงท่องเที่ยว
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวยอมรับว่า การชุมนุมทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งมีกลุ่มนักลงทุนต่างชาติแสดงความกังวลสอบถามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยในเบื้องต้น ได้สั่งการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทำความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระยะสั้น และระยะยาว แต่โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่าการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การให้อภัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น
นายวรภัค ธันยาวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB)กล่าวว่า ตนเองค่อนข้างมีความกังวลอย่างมากกับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งหากการชุมนุมมีความยืดเยื้อก็คงมีการกระทบต่อหลายภาคส่วน กระทบความเชื่อมั่น ภาคส่งออกที่ชะลอลงอยู่แล้ว รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ซึ่งแม้จะไม่ต้องมีการลงทุนมากนักก็จะประสบปัญหาเนื่องจากไตรมาส 4 เป็นช่วงไฮซีซัน
“สิ่งที่เป็นห่วงในขณะนี้คือ ปัญหาการชุมนุม แต่หากสถานการณ์ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุม ก็คงไม่เป็นที่น่ากังวลเท่าไรนัก ในทางกลับกัน หากมีการชุมนุมปิดพื้นที่เศรษฐกิจเหมือนแบบในพื้นที่ราชประสงค์ที่ผ่านมา คงส่งผลกระทบค่อนข้างมาก รวมถึงราชดำเนินที่ล่าสุด มีการประกาศยึดเป็นพื้นที่ชุมนุมก็จะค่อนข้างกระทบเช่นกัน”
นายวรภัค กล่าวอีกว่า โดยส่วนตัวแล้วคาดหวังให้การชุมนุมไม่มีความยืดเยื้อ เพราะในปีนี้เศรษฐกิจมีภาวะชะลอลง อีกทั้งการขยายตัวเศรษฐกิจลดลงอยู่แล้ว และเป็นที่คาดหวังว่าในปี 2557 โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท จะช่วยกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องหยุดชะงักก็จะกระทบเศรษฐกิจ
ลุ้นเอสเอ็มอีเข้าเป้าไตรมาส 4
นายประสิทธิ์ วสุภัทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ของธนาคารกรุงไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มียอดสินเชื่อราว 30,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 55,000 ล้านบาท แต่คาดว่าผู้ประกอบการจะมีการใช้วงเงินมากขึ้นในช่วงสุดท้ายของปี และจะสามารถช่วยเพิ่มยอดสินเชื่อให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่มีการเติบโตมากขึ้น ความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียนก็เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากบางส่วนต้องมีการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งธนาคารก็มีการช่วยแนะนำการลงทุน และเสนอผลิตภัณฑ์ดอกเบี้ยต่ำ
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบายการแก้ไขหนี้ของทางธนาคาร อีกทั้งนโยบายพิจารณาสินเชื่อค่อนข้างระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ทำใหัควบคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
“สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้คือ ปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น และก่อให้เกิดความไม่สะดวกเรียบร้อย ขณะที่ธุรกิจด้านต่างๆ ก็ยังค่อนข้างมีความอ่อนไหวมาก โดยผลกระทบหลักส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงไฮซีซันของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดมีปัญหา ทางธนาคารคงมีการเข้าไปช่วยเหลือเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการชำระหนี้”
“โต้ง” ยอมรับกระทบเศรษฐกิจ Q4 ห่วงท่องเที่ยว
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวยอมรับว่า การชุมนุมทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งมีกลุ่มนักลงทุนต่างชาติแสดงความกังวลสอบถามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยในเบื้องต้น ได้สั่งการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทำความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระยะสั้น และระยะยาว แต่โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่าการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การให้อภัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น