กรุงศรีฯ ชี้เศรษฐกิจชะลอเป็นการปรับฐานเข้าสู่ระดับปกติ มั่นใจสินเชื่อเอสเอ็มอียังโตได้ตามเป้า ห่วงประโคมข่าวหนักส่งผลทางจิตวิทยาทำตลาดป่วน แต่ยังต้องจับตาเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่รับผลกระทบมากกว่า
นายสยาม ประสิทธิ์ศิริกุล ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ที่หดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 นั้น เป็นการลดลงจากฐานที่สูงมากของปีที่แล้ว ซึ่งจีดีพีเติบโตสูงผิดปกติจากการลงทุนภาคเอกชนที่สูงขึ้นหลังภาวะน้ำท่วม และนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ดังนั้น การชะลอตัวลงจึงเป็นการปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ
“เราต้องเข้าใจว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นเป็นการปรับฐานเข้าสู่ภาวะปกติจากปีก่อนที่เติบโตในระดับสูงผิดปกติ ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ข่าวที่ออกในทางลบมากๆ โดยไม่ได้ฟังเหตุผลที่แ้ท้จริงจะส่งผลทางจิตวิทยา และเกิดความเสียหายมาก อย่างตลาดหุ้นที่ลดลงอย่างที่เห็น ส่วนการชะลอตัวของการใช้จ่ายน่าจะเป็นช่วงสั้น 6-12 เดือน ก็คงเข้าสู่ภาวะปกติหากศรษฐกิจยังโตต่อได้”
ทั้งนี้ สิ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปนั้น ในภาคการท่องเที่ยวก็ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาคใช้จ่ายเอกชนยังต้องติดตาม รวมถึงหารลงทุนภาครัฐว่าจะสามารถออกมาไก้ตามที่วางไว้หรือไม่
ด้านสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารนั้น ขณะนี้ยังไม่สัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาอย่างชัดเจน โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีสามารถเติบโตได้ 8% สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปีเติบโต 15% โดยคาดว่าสิ้นปีจะมียอดสินเชื่อคงค้าง 208,000 ล้านบาท ซึ่งไตรมาส 3 เท่าที่ดูก็ยังเติบโตสูงกว่าเป้าและเชื่อว่าไตรมาส 4 จะโตได้ตามเป้าหมาย ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับ 2-3% ซึ่งเป็นระดับที่ยังบริหารจัดการได้
“เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงก็คงส่งผลกระทบต่อทุกๆ ธุรกิจ เอสเอ็มอีก็เช่นกันก็คงจะทำให้ผู้ประกอบการขายสินค้าได้น้อยลงแต่เรายังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจน แล้วก็คอยดูแลอยู่แล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก (วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 12 ล้านบาท) ที่มียอดหนี้ใกล้เต็มเพดาน”
จับมือ 4 พันธมิตรจับคู่ SME
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ของธนาคารไม่ได้เน้นที่การปล่อยกู้เท่านั้น แต่จะมุ่งเน้นที่การหาตลาดและคู่ค้าให้แก่ลูกค้าด้วย เพื่อให้เกิดการขยายตัว และเติบโตอย่างยั่งยืน และจะสนับสนุนด้านสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยได้ร่วมกับพันธมิตร 4 ราย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ เอ็นโซโก้ ล็อกซเล่ย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งมั่นใจว่าจะเสริมความแกร่งให้ผู้ประกอบการเจาะตลาดทั้งใน และต่างประเทศได้
“ความร่วมมือนี้จะเริ่มในไตรมาส 3 นี้ ซึ่งจะมาเสริมในส่วนที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขาดคือ การหาตลาด และคู่ค้า ซึ่งในช่วงแรกอาจจะเน้นไปที่ประเทศใกล้เคียงอย่างกลุ่ม clmv ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพ เมื่อมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เรื่องของสินเชื่อก็จะตามมาเอง”
เผยหารือภาพกว้างผู้ถือหุ้นใหม่แล้ว
ส่วนกรณีที่แบงก์ออฟโตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) จะเข้ามาถือหุ้นของธนาคารแทนจีอีนั้น นายสยาม กล่าวว่า ได้มีการหารือกันในภาพกว้างๆ บ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้มีแผนงานแต่อย่างใดคาดว่าภายหลังการทำ (BTO) เสร็จสิ้นในต้นปีหน้า จึงจะหารือกันถึงแนวนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่า ธุรกิจของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งมีส่วนที่จะเสริมกันได้ โดยในส่วน BTMU ที่เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อรายใหญ่ ก็จะมีส่วนของซัปพลายเชนที่จะช่วยส่งเสริมเอสเอ็มอีและธุรกิจรายย่อยที่เป็นจุดเด่นของธนาคารได้ เป็นต้น
นายสยาม ประสิทธิ์ศิริกุล ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ที่หดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 นั้น เป็นการลดลงจากฐานที่สูงมากของปีที่แล้ว ซึ่งจีดีพีเติบโตสูงผิดปกติจากการลงทุนภาคเอกชนที่สูงขึ้นหลังภาวะน้ำท่วม และนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ดังนั้น การชะลอตัวลงจึงเป็นการปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ
“เราต้องเข้าใจว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นเป็นการปรับฐานเข้าสู่ภาวะปกติจากปีก่อนที่เติบโตในระดับสูงผิดปกติ ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ข่าวที่ออกในทางลบมากๆ โดยไม่ได้ฟังเหตุผลที่แ้ท้จริงจะส่งผลทางจิตวิทยา และเกิดความเสียหายมาก อย่างตลาดหุ้นที่ลดลงอย่างที่เห็น ส่วนการชะลอตัวของการใช้จ่ายน่าจะเป็นช่วงสั้น 6-12 เดือน ก็คงเข้าสู่ภาวะปกติหากศรษฐกิจยังโตต่อได้”
ทั้งนี้ สิ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปนั้น ในภาคการท่องเที่ยวก็ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาคใช้จ่ายเอกชนยังต้องติดตาม รวมถึงหารลงทุนภาครัฐว่าจะสามารถออกมาไก้ตามที่วางไว้หรือไม่
ด้านสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารนั้น ขณะนี้ยังไม่สัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาอย่างชัดเจน โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีสามารถเติบโตได้ 8% สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปีเติบโต 15% โดยคาดว่าสิ้นปีจะมียอดสินเชื่อคงค้าง 208,000 ล้านบาท ซึ่งไตรมาส 3 เท่าที่ดูก็ยังเติบโตสูงกว่าเป้าและเชื่อว่าไตรมาส 4 จะโตได้ตามเป้าหมาย ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับ 2-3% ซึ่งเป็นระดับที่ยังบริหารจัดการได้
“เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงก็คงส่งผลกระทบต่อทุกๆ ธุรกิจ เอสเอ็มอีก็เช่นกันก็คงจะทำให้ผู้ประกอบการขายสินค้าได้น้อยลงแต่เรายังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจน แล้วก็คอยดูแลอยู่แล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก (วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 12 ล้านบาท) ที่มียอดหนี้ใกล้เต็มเพดาน”
จับมือ 4 พันธมิตรจับคู่ SME
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ของธนาคารไม่ได้เน้นที่การปล่อยกู้เท่านั้น แต่จะมุ่งเน้นที่การหาตลาดและคู่ค้าให้แก่ลูกค้าด้วย เพื่อให้เกิดการขยายตัว และเติบโตอย่างยั่งยืน และจะสนับสนุนด้านสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยได้ร่วมกับพันธมิตร 4 ราย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ เอ็นโซโก้ ล็อกซเล่ย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งมั่นใจว่าจะเสริมความแกร่งให้ผู้ประกอบการเจาะตลาดทั้งใน และต่างประเทศได้
“ความร่วมมือนี้จะเริ่มในไตรมาส 3 นี้ ซึ่งจะมาเสริมในส่วนที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขาดคือ การหาตลาด และคู่ค้า ซึ่งในช่วงแรกอาจจะเน้นไปที่ประเทศใกล้เคียงอย่างกลุ่ม clmv ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพ เมื่อมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เรื่องของสินเชื่อก็จะตามมาเอง”
เผยหารือภาพกว้างผู้ถือหุ้นใหม่แล้ว
ส่วนกรณีที่แบงก์ออฟโตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) จะเข้ามาถือหุ้นของธนาคารแทนจีอีนั้น นายสยาม กล่าวว่า ได้มีการหารือกันในภาพกว้างๆ บ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้มีแผนงานแต่อย่างใดคาดว่าภายหลังการทำ (BTO) เสร็จสิ้นในต้นปีหน้า จึงจะหารือกันถึงแนวนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่า ธุรกิจของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งมีส่วนที่จะเสริมกันได้ โดยในส่วน BTMU ที่เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อรายใหญ่ ก็จะมีส่วนของซัปพลายเชนที่จะช่วยส่งเสริมเอสเอ็มอีและธุรกิจรายย่อยที่เป็นจุดเด่นของธนาคารได้ เป็นต้น