อย่าคาดหวังทริกเกอร์ ฟันด์ พยุงหุ้นไทยพ้นปากเหว โบรกฯ เชื่อต่างชาติยังขายปรับพอร์ตอีก 1-2 หมื่นล้านบาท ส่อฉุดวอลุ่มเทรดหดตัวจาก 5 หมื่นล้าน/วัน หลังหลายองค์ประกอบช่วยกำหนดฤกษ์ให้เป็นฤดูกาลขายทำกำไรในตลาดหุ้นเอเชีย ที่รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาท คาดระยะสั้นดัชนีจะทรงตัวก่อนปรับฐาน แถมพร้อมยกกรณีมูดี้ส์จ่อหั่นเครดิตไทย จะมีผลรุนแรงซ้ำเติมตลาดหุ้นหากเกิดขึ้นจริง เหตุจะทำให้ภาครัฐมีปัญหาต้นทุนเพิ่มในโครงการกู้เงินล็อตใหญ่
ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (7 มิ.ย.) ดัชนีหลักทรัพย์พลิกกลับมาปิดบวก 26.03 จุด อยู่ที่ระดับ 1,516.24 จุด หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.75% มูลค่าการซื้อขายกว่า 52,002.95 ล้านบาท โดยรวมตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.ดัชนีปรับลดลง 133.53 จุด หรือ 8.8% ซึ่งปัจจัยหลักที่กดดันดัชนีหุ้นไทย หนีไม่พ้นความกังวลต่อมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE3) ของสหรัฐฯ ที่อาจถูกยุติ หรือลดวงในการซื้อพันธบัตรลงในไม่ช้า จนเกิดกระแสดึงเงินกลับเพื่อรองรับ และเกิดกระแสการปรับพอร์ตลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เพียงแค่ 7 วันแรกของเดือนมิถุนายน มีการขายสุทธิออกไป 20,889.91 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปียอดการขายสุทธิมากถึง 41,982.17 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการซื้อขายสุทธิแยกตามประเภทนักลงทุน ยังพบว่านักลงทุนสถาบันเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มียอดซื้อสะสมตั้งแต่ต้นปี 51,638.17 ล้านบาท โดยในเดือนมิถุนายนนี้ ซื้อสะสมเข้ามา 10,033.31 ล้านบาท
นอกจากนี้ การรีบาวนด์กลับขึ้นมา 26 จุด ของดัชนีหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิ.ย. หลายฝ่ายเชื่อเกิดจากเม็ดเงินของกองทุนทริกเกอร์ ฟันด์ เข้ามาซื้อในตลาด ทำให้ช่วยหนุนดัชนีกลับขึ้นมาได้ในระดับสูง และคาดการณ์กันว่าในสัปดาห์นี้ (10-14 มิ.ย.) ยังมีเม็ดเงินจากกองทุนทริกเกอร์ ฟันด์ อีกหลายกองจะเข้ามาลงทุนในหุ้น หลังจากราคาปรับตัวลงไปมาก แต่ประเมินว่าอาจจะไม่สามารถช่วยต้านทานให้ดัชนีปรับขึ้นไปได้มากนัก หากนักลงทุนต่างประเทศยังเทขายสุทธิต่อเนื่องหลายล้านบาทต่อวันเช่นนี้
***กรุงศรีฯ มองหลายหุ้นน่าสะสมช่วงนี้
นายกษมพนธ์ เหมนิลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี แสดงความคิดเห็นโดยรวมของภาวะตลาดหุ้นไทยว่า จากสถานการณ์หุ้นไทยในรอบ 11 วันที่ผ่านมา ดัชนีลดลงอย่างต่อเนื่องจากจุดสูงสุดในรอบ 18 ปี ที่เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 1,650 จุด เมื่อ 21 พ.ค. ซึ่งหลังจากนั้นมาลดลงมาถึง 160 จุด หรือ 10% มีการหลุดแนวรับสำคัญ 1,500 จุด ซึ่งเป็นแนวรับที่สำคัญในเชิงจิตวิทยา อีกทั้งเป็นแนวรับที่สำคัญในเชิงทางเทคนิค และการลงทุนระยะกลาง และเป็นแนวรับในเชิง Perspective P/E Ratio ของตลาดหุ้นไทยโดยรวมปีนี้อยู่ที่ 15 เท่า ซึ่งเท่ากับ 1,500 จุด ทำให้เป็นการหลุดลงมาในแนวรับที่มีนัยสำคัญ
โดยมองว่าเป็นผลมาจากปัจจัยหลัก 3 ส่วน คือ 1.จากการคาดการณ์ปรับลด GDP โลก ที่ผ่านมา 2.เป็นการตอบสนองถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของไทย ที่สะท้อนออกมาในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก เพราะทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าเศรษฐกิจของไทยปีนี้จะชะลอตัวลง และอาจจะไม่เข้าเป้าหมายที่จะปรับประมาณการของทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดไว้ 3.นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นแรงกดสำคัญต่อดัชนี และอีกประเด็นคือ ข่าวเรื่อง มูดี้ส์ จะปรับลดเครดิตเรตติ้งของไทยในเรื่องการค้าข้าว ซึ่งถือว่าสร้างผลกระทบค่อนข้างรุนแรง
“จากตรงนี้ไปจะต้องมองการปรับตัวของตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นๆ ดัชนีจะทรงตัวนิ่งๆ ไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นการดีที่นักลงทุนจะได้เข้ามาเลือกซื้อหุ้น ทำให้หุ้นหลายตัวมีความน่าสนใจ จากที่เคยมองว่าแพงมากๆ และไม่มีตัวไหนซื้อขาย แต่ตอนนี้เริ่มมีนักลงทุนเริ่มมีการกลับมาซื้อในหลายๆ ตัว สำหรับการลงทุนระยะกลาง 3-6 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป”
***เลิก QE ไม่น่ากลัวเท่ามูดี้ส์หั่นเครดิต
ผอ.ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี ให้ความเห็นต่อว่า แนวโน้มจากนี้ไปจะต้องกลับมามองถึงปัจจัยหลักๆ คือ แนวโน้มการยกเลิกมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ซึ่งเปรียบเสมือนว่าสหรัฐฯ กำลังป่วย และ QE คือยารักษา ซึ่งการยกเลิก QE เป็นสัญญาณบอกว่าอาการป่วยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จึงถือว่าเป็นข่าวดีที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกในระยะกลางและระยะยาว แต่ในระยะสั้นสภาพคล่องในตลาดอาจจะหดถดถอยลง จากวงเงินที่เคยเทรดในระดับ 50,000 ล้านบาท ก็อาจจะหายไป ดังนั้น ต้องติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วันที่ 18-19 มิ.ย. ว่าจะสรุปออกมาในแนวทางไหน เพราะถ้ายกเลิกมาตรการ QE คาดการว่าเศรษฐกิจในปี2557 ก็จะดีขึ้น
ส่วนปัจจัยที่ 2 คือ สถานการณ์การเมืองไทยต่อภาวะการเศรษฐกิจทั้งระบบ ซึ่งประเด็นที่จะต้องจับตาถ้าหากมูดี้ส์ปรับลดเครดิตความน่าเชื่อถือของไทยลง จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้เงินต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินบาทอย่างมาก จะนำไปสู่การไหลออกของเงินเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ดังนั้น เรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างมาก
ประเด็นที่ 3 คือ การปรับลดการถือครองหุ้นในภาคของเอเชียที่ต่างชาติถือครอง และซื้อขาย เปรียบเทียบกับตลาดหุ้นใหญ่ๆ คือ ดาวโจนส์ แนสแดค นิกเกอิ โดยในเดือนพฤษภาคม ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นมาเกือบ 2% เยอรมนีปรับตัวขึ้นมา 5.5% นิกเกอิ ทรงตัว และปรับตัวลดลงไปที่ 0.6% และของไทยติดก็ติดลบ 2.2% และยังลดลงต่อเนื่องไปแตะที่ระดับ 4.6% ด้านดัชนีนิกเกอิ ในเดือนมิถุนายนเองก็ปรับตัวลดลงไป 7.2% ดาวโจนส์ก็ปรับตัวลดมา 0.5% แนสแดค ก็ปรับตัวลดลงมา 3% เพราะฉะนั้นในภาพของการดิ่งลงของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก สะท้อนถึงการไหลออกของแหล่งเงินทุนทั่วโลก ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะกระทบเป็นอันดับที่ 2 รองจากตลาดหุ้นญี่ปุ่น อันเป็นผลพวงมาจากมาตรการ QE ของสหรัฐฯ
“แนวโน้มต่อจากนี้ จากกรณีที่หุ้นลงแรงและขึ้นแรง ในเชิงเทคนิคแนวรับสำคัญจะอยู่ที่ 1,480 จุด ซึ่งถ้าหากดีดกลับขึ้นมาได้อาจจะกลับขึ้นไปที่ระดับ 1,600 จุดได้ แต่ถ้ามีปัจจัยอะไรที่มากระทบแรง เช่น ข่าวมูดี้ส์ปรับลดเครดิตเรตติ้ง ดัชนีก็อาจจะร่วงลงเร็วกว่า 60 จุด หรือกลับไปยืนที่ 1,420 จุดได้”
***แนะลงทุนหุ้นกลุ่มอนาคตไกล
สำหรับกลยุทธ์ลงทุน บล.กรุงศรี เรียกว่า “การลงทุนในหุ้นกลุ่มอนาคตไกล 3 กลุ่มหลัก” เพราะเมื่อตลาดลงแรงหุ้นกลุ่มเหล่านี้จะปรับลดลงไปก่อน ซึ่งอันดับ 1 คือ กลุ่มธนาคาร 2.พลังงาน และ 3.สื่อสาร โดยหุ้นกลุ่มธนาคารจะมีราคาที่น่าสนใจมากตอนนี้ แต่ต้องจับตาดูการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ จะสรุปออกมาเช่นไร โดยดูอัตราการว่างงานน่าจะอยู่ที่ 7.5% คงไม่มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากเป้าหมายที่จะชะลอมาตรการ QE ลง แต่สาระสำคัญคือ ตัวเลขแต่ละตัวที่ผ่านมาของสหรัฐฯ คือตัวเลขที่ดีแสดงถึงการฟื้นตัว ซึ่งจะตอบสนองต่อตลาดหุ้นในวันจันทร์ หรือสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป แต่กรณีข่าวของมูดี้ส์ ยังเป็นความกังวลของนักลงทุนไทยมากที่สุดในขณะนี้
*** ASP เชื่อเป็นฤดูกาลทำกำไร
ด้าน บล.เอเซียพลัส ระบุว่า โดยสรุปจากการฟื้นตัวของภาคแรงงานและเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ FED ปรับลดมาตการผ่อนคลายทางการเงินลง ในการประชุม FED ครั้งถัดไปคือ 29-30 ต.ค. นี้ ซึ่งหากผลการประชุมได้ทยอยลดลงตามที่ตลาดคาด เชื่อว่าไม่น่าจะสร้างแรงกดดันให้แก่ตลาดมากไปกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่เชื่อว่ามีการถอนออกไปหมดสิ้นเสียครั้งเดียว
ด้านฝั่งประเทศพัฒนาแล้วในแถบเอเชียพบว่า ค่าเงินยังมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะเงินรูปี ของอินเดียที่อ่อนค่าสูงถึง 7.3%ใ นช่วง 1 เดือนเศษ ตามด้วยค่าเงินบาท ประมาณ 6.7% (เทียบกับระดับที่แข็งค่าสุดที่ 28.61 บาทต่อดอลลาร์) ในสถานการณ์ถือว่าเป็นการปรับตัวของเศษฐกิจโลก และการปรับฐานของตลาดหุ้น เข้าสู่ระดับที่เหมาะสมในการทำกำไรของตลาดหุ้นไทย ซึ่งในปี 2556 คาดการณ์ EPS ไว้ที่หุ้นละ 104.67 บาทต่อหุ้น ดัชนีในช่วงสิ้นปี 2556 น่าจะแกว่งในกรอบ 1,465.38-1570 จุด ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่ดัชนีจะลงไปทำจุดต่ำที่ 1,465 จุดภายในเดือน มิ.ย. และมองว่า ณ จุดนี้จะเป็นโอกาสดีในการเข้าสะสมหุ้น โดยเน้นหุ้นที่ Global ผสม Domestic Plays พร้อมให้น้ำหนักการลงทุนที่ 40%
“ยังมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยต่อไป ตามตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค และโดยรวมสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยต่างชาติได้เทขายหุ้นออกมาแล้วประมาณ 50% ของยอดสูงสุด (1.06 แสนล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.2554-4 ก.พ.2556) ซึ่งขายสุทธิเป็นยอดรวม 5.5 หมื่นล้านบาท (ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.2556-ปัจจุบัน) แต่ยังมีโอกาสที่ต่างชาติจะขายออกมาอย่างหนักอีก 10-20% จากยอดสะสมสูงสุด หรือประมาณ 1-2หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับที่เคยขายอย่างหนักเมื่อ เม.ย.2553 และ ต.ค ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ทั้ง 2 ครั้ง ก่อนจะเข้าสู่รอบการซื้อถัดไป ส่วนนักลงทุนสถาบันวานนี้ได้ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ราว 1.7 พันล้านบาท แต่คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะยังเห็นแรงซื้อจากนักลงทุนกลุ่มนี้ต่อไปจาก Trigger Fund ถึง 6 กอง ที่จะทยอยปิดการขายในสัปดาห์หน้าอีก”
ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (7 มิ.ย.) ดัชนีหลักทรัพย์พลิกกลับมาปิดบวก 26.03 จุด อยู่ที่ระดับ 1,516.24 จุด หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.75% มูลค่าการซื้อขายกว่า 52,002.95 ล้านบาท โดยรวมตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.ดัชนีปรับลดลง 133.53 จุด หรือ 8.8% ซึ่งปัจจัยหลักที่กดดันดัชนีหุ้นไทย หนีไม่พ้นความกังวลต่อมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE3) ของสหรัฐฯ ที่อาจถูกยุติ หรือลดวงในการซื้อพันธบัตรลงในไม่ช้า จนเกิดกระแสดึงเงินกลับเพื่อรองรับ และเกิดกระแสการปรับพอร์ตลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เพียงแค่ 7 วันแรกของเดือนมิถุนายน มีการขายสุทธิออกไป 20,889.91 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปียอดการขายสุทธิมากถึง 41,982.17 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการซื้อขายสุทธิแยกตามประเภทนักลงทุน ยังพบว่านักลงทุนสถาบันเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มียอดซื้อสะสมตั้งแต่ต้นปี 51,638.17 ล้านบาท โดยในเดือนมิถุนายนนี้ ซื้อสะสมเข้ามา 10,033.31 ล้านบาท
นอกจากนี้ การรีบาวนด์กลับขึ้นมา 26 จุด ของดัชนีหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิ.ย. หลายฝ่ายเชื่อเกิดจากเม็ดเงินของกองทุนทริกเกอร์ ฟันด์ เข้ามาซื้อในตลาด ทำให้ช่วยหนุนดัชนีกลับขึ้นมาได้ในระดับสูง และคาดการณ์กันว่าในสัปดาห์นี้ (10-14 มิ.ย.) ยังมีเม็ดเงินจากกองทุนทริกเกอร์ ฟันด์ อีกหลายกองจะเข้ามาลงทุนในหุ้น หลังจากราคาปรับตัวลงไปมาก แต่ประเมินว่าอาจจะไม่สามารถช่วยต้านทานให้ดัชนีปรับขึ้นไปได้มากนัก หากนักลงทุนต่างประเทศยังเทขายสุทธิต่อเนื่องหลายล้านบาทต่อวันเช่นนี้
***กรุงศรีฯ มองหลายหุ้นน่าสะสมช่วงนี้
นายกษมพนธ์ เหมนิลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี แสดงความคิดเห็นโดยรวมของภาวะตลาดหุ้นไทยว่า จากสถานการณ์หุ้นไทยในรอบ 11 วันที่ผ่านมา ดัชนีลดลงอย่างต่อเนื่องจากจุดสูงสุดในรอบ 18 ปี ที่เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 1,650 จุด เมื่อ 21 พ.ค. ซึ่งหลังจากนั้นมาลดลงมาถึง 160 จุด หรือ 10% มีการหลุดแนวรับสำคัญ 1,500 จุด ซึ่งเป็นแนวรับที่สำคัญในเชิงจิตวิทยา อีกทั้งเป็นแนวรับที่สำคัญในเชิงทางเทคนิค และการลงทุนระยะกลาง และเป็นแนวรับในเชิง Perspective P/E Ratio ของตลาดหุ้นไทยโดยรวมปีนี้อยู่ที่ 15 เท่า ซึ่งเท่ากับ 1,500 จุด ทำให้เป็นการหลุดลงมาในแนวรับที่มีนัยสำคัญ
โดยมองว่าเป็นผลมาจากปัจจัยหลัก 3 ส่วน คือ 1.จากการคาดการณ์ปรับลด GDP โลก ที่ผ่านมา 2.เป็นการตอบสนองถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของไทย ที่สะท้อนออกมาในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก เพราะทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าเศรษฐกิจของไทยปีนี้จะชะลอตัวลง และอาจจะไม่เข้าเป้าหมายที่จะปรับประมาณการของทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดไว้ 3.นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นแรงกดสำคัญต่อดัชนี และอีกประเด็นคือ ข่าวเรื่อง มูดี้ส์ จะปรับลดเครดิตเรตติ้งของไทยในเรื่องการค้าข้าว ซึ่งถือว่าสร้างผลกระทบค่อนข้างรุนแรง
“จากตรงนี้ไปจะต้องมองการปรับตัวของตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นๆ ดัชนีจะทรงตัวนิ่งๆ ไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นการดีที่นักลงทุนจะได้เข้ามาเลือกซื้อหุ้น ทำให้หุ้นหลายตัวมีความน่าสนใจ จากที่เคยมองว่าแพงมากๆ และไม่มีตัวไหนซื้อขาย แต่ตอนนี้เริ่มมีนักลงทุนเริ่มมีการกลับมาซื้อในหลายๆ ตัว สำหรับการลงทุนระยะกลาง 3-6 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป”
***เลิก QE ไม่น่ากลัวเท่ามูดี้ส์หั่นเครดิต
ผอ.ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี ให้ความเห็นต่อว่า แนวโน้มจากนี้ไปจะต้องกลับมามองถึงปัจจัยหลักๆ คือ แนวโน้มการยกเลิกมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ซึ่งเปรียบเสมือนว่าสหรัฐฯ กำลังป่วย และ QE คือยารักษา ซึ่งการยกเลิก QE เป็นสัญญาณบอกว่าอาการป่วยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จึงถือว่าเป็นข่าวดีที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกในระยะกลางและระยะยาว แต่ในระยะสั้นสภาพคล่องในตลาดอาจจะหดถดถอยลง จากวงเงินที่เคยเทรดในระดับ 50,000 ล้านบาท ก็อาจจะหายไป ดังนั้น ต้องติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วันที่ 18-19 มิ.ย. ว่าจะสรุปออกมาในแนวทางไหน เพราะถ้ายกเลิกมาตรการ QE คาดการว่าเศรษฐกิจในปี2557 ก็จะดีขึ้น
ส่วนปัจจัยที่ 2 คือ สถานการณ์การเมืองไทยต่อภาวะการเศรษฐกิจทั้งระบบ ซึ่งประเด็นที่จะต้องจับตาถ้าหากมูดี้ส์ปรับลดเครดิตความน่าเชื่อถือของไทยลง จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้เงินต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินบาทอย่างมาก จะนำไปสู่การไหลออกของเงินเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ดังนั้น เรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างมาก
ประเด็นที่ 3 คือ การปรับลดการถือครองหุ้นในภาคของเอเชียที่ต่างชาติถือครอง และซื้อขาย เปรียบเทียบกับตลาดหุ้นใหญ่ๆ คือ ดาวโจนส์ แนสแดค นิกเกอิ โดยในเดือนพฤษภาคม ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นมาเกือบ 2% เยอรมนีปรับตัวขึ้นมา 5.5% นิกเกอิ ทรงตัว และปรับตัวลดลงไปที่ 0.6% และของไทยติดก็ติดลบ 2.2% และยังลดลงต่อเนื่องไปแตะที่ระดับ 4.6% ด้านดัชนีนิกเกอิ ในเดือนมิถุนายนเองก็ปรับตัวลดลงไป 7.2% ดาวโจนส์ก็ปรับตัวลดมา 0.5% แนสแดค ก็ปรับตัวลดลงมา 3% เพราะฉะนั้นในภาพของการดิ่งลงของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก สะท้อนถึงการไหลออกของแหล่งเงินทุนทั่วโลก ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะกระทบเป็นอันดับที่ 2 รองจากตลาดหุ้นญี่ปุ่น อันเป็นผลพวงมาจากมาตรการ QE ของสหรัฐฯ
“แนวโน้มต่อจากนี้ จากกรณีที่หุ้นลงแรงและขึ้นแรง ในเชิงเทคนิคแนวรับสำคัญจะอยู่ที่ 1,480 จุด ซึ่งถ้าหากดีดกลับขึ้นมาได้อาจจะกลับขึ้นไปที่ระดับ 1,600 จุดได้ แต่ถ้ามีปัจจัยอะไรที่มากระทบแรง เช่น ข่าวมูดี้ส์ปรับลดเครดิตเรตติ้ง ดัชนีก็อาจจะร่วงลงเร็วกว่า 60 จุด หรือกลับไปยืนที่ 1,420 จุดได้”
***แนะลงทุนหุ้นกลุ่มอนาคตไกล
สำหรับกลยุทธ์ลงทุน บล.กรุงศรี เรียกว่า “การลงทุนในหุ้นกลุ่มอนาคตไกล 3 กลุ่มหลัก” เพราะเมื่อตลาดลงแรงหุ้นกลุ่มเหล่านี้จะปรับลดลงไปก่อน ซึ่งอันดับ 1 คือ กลุ่มธนาคาร 2.พลังงาน และ 3.สื่อสาร โดยหุ้นกลุ่มธนาคารจะมีราคาที่น่าสนใจมากตอนนี้ แต่ต้องจับตาดูการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ จะสรุปออกมาเช่นไร โดยดูอัตราการว่างงานน่าจะอยู่ที่ 7.5% คงไม่มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากเป้าหมายที่จะชะลอมาตรการ QE ลง แต่สาระสำคัญคือ ตัวเลขแต่ละตัวที่ผ่านมาของสหรัฐฯ คือตัวเลขที่ดีแสดงถึงการฟื้นตัว ซึ่งจะตอบสนองต่อตลาดหุ้นในวันจันทร์ หรือสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป แต่กรณีข่าวของมูดี้ส์ ยังเป็นความกังวลของนักลงทุนไทยมากที่สุดในขณะนี้
*** ASP เชื่อเป็นฤดูกาลทำกำไร
ด้าน บล.เอเซียพลัส ระบุว่า โดยสรุปจากการฟื้นตัวของภาคแรงงานและเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ FED ปรับลดมาตการผ่อนคลายทางการเงินลง ในการประชุม FED ครั้งถัดไปคือ 29-30 ต.ค. นี้ ซึ่งหากผลการประชุมได้ทยอยลดลงตามที่ตลาดคาด เชื่อว่าไม่น่าจะสร้างแรงกดดันให้แก่ตลาดมากไปกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่เชื่อว่ามีการถอนออกไปหมดสิ้นเสียครั้งเดียว
ด้านฝั่งประเทศพัฒนาแล้วในแถบเอเชียพบว่า ค่าเงินยังมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะเงินรูปี ของอินเดียที่อ่อนค่าสูงถึง 7.3%ใ นช่วง 1 เดือนเศษ ตามด้วยค่าเงินบาท ประมาณ 6.7% (เทียบกับระดับที่แข็งค่าสุดที่ 28.61 บาทต่อดอลลาร์) ในสถานการณ์ถือว่าเป็นการปรับตัวของเศษฐกิจโลก และการปรับฐานของตลาดหุ้น เข้าสู่ระดับที่เหมาะสมในการทำกำไรของตลาดหุ้นไทย ซึ่งในปี 2556 คาดการณ์ EPS ไว้ที่หุ้นละ 104.67 บาทต่อหุ้น ดัชนีในช่วงสิ้นปี 2556 น่าจะแกว่งในกรอบ 1,465.38-1570 จุด ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่ดัชนีจะลงไปทำจุดต่ำที่ 1,465 จุดภายในเดือน มิ.ย. และมองว่า ณ จุดนี้จะเป็นโอกาสดีในการเข้าสะสมหุ้น โดยเน้นหุ้นที่ Global ผสม Domestic Plays พร้อมให้น้ำหนักการลงทุนที่ 40%
“ยังมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยต่อไป ตามตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค และโดยรวมสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยต่างชาติได้เทขายหุ้นออกมาแล้วประมาณ 50% ของยอดสูงสุด (1.06 แสนล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.2554-4 ก.พ.2556) ซึ่งขายสุทธิเป็นยอดรวม 5.5 หมื่นล้านบาท (ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.2556-ปัจจุบัน) แต่ยังมีโอกาสที่ต่างชาติจะขายออกมาอย่างหนักอีก 10-20% จากยอดสะสมสูงสุด หรือประมาณ 1-2หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับที่เคยขายอย่างหนักเมื่อ เม.ย.2553 และ ต.ค ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ทั้ง 2 ครั้ง ก่อนจะเข้าสู่รอบการซื้อถัดไป ส่วนนักลงทุนสถาบันวานนี้ได้ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ราว 1.7 พันล้านบาท แต่คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะยังเห็นแรงซื้อจากนักลงทุนกลุ่มนี้ต่อไปจาก Trigger Fund ถึง 6 กอง ที่จะทยอยปิดการขายในสัปดาห์หน้าอีก”