xs
xsm
sm
md
lg

“MBKET” คาดหุ้นไทยมีสิทธิแตะ 1,750 จุด (ชมคลิป)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เมย์แบงก์กิมเอ็ง (MBKET) คาดแนวโน้ม GDP ในปีนี้คาดว่าจะโตที่ระดับ 4.5% เหตุค่าเงินบาทแข็งกระทบส่งออก ส่วนอัตรากำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียน (Net Profit Margin) จะเติบโตได้ที่ 20% ชี้หากเศรฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นมาก ดัชนีมีแนวโน้มแตะที่ระดับ 1,750 จุด-1,800 จุด

นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ หลักทรัพย์ บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ BMKET กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้คาดว่าจะโตที่ระดับ 4.5% อันเนื่องมาจากการส่งออกยังคงมีปัญหาต่อเนื่องจากเงินบาทแข็งค่า และมีความเสี่ยงค่อนข้างมากจากเงินทุนไหลเข้าพักฐานประเทศในระยะสั้น แต่ในส่วนของการบริโภคในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่

สำหรับดัชนีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ตั้งไว้ 12 เดือนล่วงหน้ามีแน้วโน้มที่จะแตะระดับ 1,750 จุด ตามภาวะการลงทุนและนโยบายเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ ในส่วนของอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) คาดว่าจะเติบโตได้ที่ 20% ตามคาด และมีโอกาศที่จะปรับประมาณการได้ในบางกลุ่ม หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่อดีตที่ระดับ 700 จุด- 1,000 จุด การปรับตัวขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่มาจากการที่ผลกำไรดีกว่าที่คาดการณ์ไว้

โดยไตรมาส 1/56 เทียบกับไตรมาสที่ 4/55 ที่ผ่านมา กลุ่มที่ผลประกอบการดีที่สุด ได้แก่ กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร กลุ่มขนส่ง และพลังงาน กลุ่มวัสดุก่อสร้าง แต่ถ้าหากเทียบระหว่างไตรมาสต่อไตรมาส พบว่า กลุ่มธนาคารจะเป็นกลุ่มที่มีผลประกอบการดีที่สุด ส่วนกลุ่มที่น่าลงทุนคือ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวหลักได้แก่ อินเดีย จีน และรัสเซีย นิยมมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และเทศกาลเหมือนสมัยก่อน

“หุ้นกลุ่มธนาคารมีกำไรดีเกินคาด เพราะมีค่าธรรมเนียมดี หุ้นกลุ่มไอซีที มีกำไรสูงขึ้นจากมาร์จิ้นที่สูงขึ้น และบริการเครื่อข่ายที่ไม่เกี่ยวกับเสียง (Non-Voice) เช่น อินเทอร์เน็ตดาต้า และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่ได้รับงานเพิ่มขึ่นจากการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ และโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาล”

ส่วนของกลุ่มหุ้นที่มีความเสี่ยงแย่ลง ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ตามการขยายตัวของเมือง ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้า และต่างจังหวัด ทั้งในแนวตั้ง (คอนโดมิเนียม) และแนวระนาบ (หมู่บ้านจัดสรร) เนื่องจากมีราคาที่ดินสูงขึ้นตามการประเมินราคาที่อยู่อาศัยและการยกเลิกใบจองนโยบายบ้านหลังแรก

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานปี 2555-2556 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แยกตามระดับความเสี่ยงของบริษัทที่มีความน่าลงทุนได้แก่ กลุ่มไอซีทีที่มีความเสี่ยงต่ำ ด้วยเหตุมีการพัฒนา และแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ใช้งานจำนวนมาก กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ กลุ่มลีสซิ่ง และกลุ่มอสังหาฯ และนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากมี backlog ในมืออยู่แล้ว

ส่วนบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยการขยายตัวของที่อยุ่อาศัย และงบลงทุนของบริษัท

ในส่วนของอัตราความเสี่ยงระหว่างประเทศนั้น มาจากการที่เงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าลงทะลุ 100 เยน/ดอลล่าห์สหรัฐ ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ BOJ ต้องกำหนดมาตรการแก้ใขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าในระบบ จำนวน 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเวลา 2 ปี ส่วนทางด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve Bank) หรือ FED นั้น ได้อัดฉีดเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องภายในประเทศแล้ว 2.35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเองได้อัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเข้าสู่ตลาด 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน เพื่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศ และส่วนหนึ่งของเงินที่เข้าสู่ระบบจะไหลเข้าไปในตลาดหุ้นส่วนหนึ่ง แต่เข้ามาลงทุนในพันธบัตรจะมากที่สุด ซึ่งรวมแล้ว 1.66 ล้านล้านเหรียญในปีหน้า

โดยหุ้นที่ควรซื้อสะสมคือ หุ้นกลุ่มพลังงาน และอาหาร ซื้อขณะนี้แม้ว่าจะอยู่ในอัตราที่ต่ำ แต่เมื่อมีความต้องการสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และฤดูกาล ราคาก็จะกลับดีดตัวขึ้นมา ส่วนการลงทุนระยะยาวควรแบ่งประเภทการลงทุนออกเป็น 4 ประเภท คือ การลงทุนระยะสั้น 12 เดือน คือ CPN, BTS ความเสี่ยงต่ำ PTTGC, TTA เทรดในราคาต่ำมีแนวโน้มที่ราคาจะเพิ้มขึ้นได้อีก ITD, TASCO ,TRUE ปีนี้คาดหมายว่าจะมีกำไรฟื้นตัวกลับขึ้นมา KK, MFEC เป็นหุ้นกลุ่มที่จ่ายปันผลดี

สำหรับการลงทุนในระยะยาว 3 ปีขึ้นไปนั้น ได้แก่ BTS กลุ่มสื่อสารระบบ และไอซีที 3G และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (infrastructure) เพราะมีอัตราผลกำไรที่เติบโตต่อเนื่องแน่นอน

“ปีนี้หุ้นไทยน่าจะขึ้นไปที่ระดับ 1,600-1,700 จุด ซึ่งถ้าหากเศรฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นมาก อาจปรับตัวขึ้นไปถึง 1,700-1,800 จุดในปีหน้า ทั้งนี้ ต้องดูมาตรการทางการเมืองว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าหากเกิดสถานการณ์รุนแรงทางการเมือง หุ้นอาจตกลงไปได้ถึงในระดับ 1,400 จุด”


กำลังโหลดความคิดเห็น