ทริสเรทติ้งฯ ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กร และหุ้นกู้ “เซ็นทรัลพัฒนา” ระดับ “A+” พร้อมเปลี่ยนแนวโน้มอันดับเครดิตบริษัทเป็น “Positive” หรือ “บวก” จาก “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนผลการดำเนินงานของบริษัทที่ดีขึ้น จากการเปิดศูนย์การค้าใหม่หลายแห่งในต่างจังหวัด รวมถึงการกลับมาเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบของศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์
บริษัท ทริสเรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กร และหุ้นกู้ของ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A+” พร้อมเปลี่ยนแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทเป็น “Positive” หรือ “บวก” จาก “Stable” หรือ “คงที่” แนวโน้มอันดับเครดิตที่เปลี่ยนแปลง สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของบริษัทที่ดีขึ้น จากการเปิดศูนย์การค้าใหม่หลายแห่งในต่างจังหวัด และการกลับมาเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบของศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์
ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต “Positive” หรือ “บวก” ยังสะท้อนถึงความสำเร็จของศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ และผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์
ทั้งนี้ อันดับเครดิตอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้น หากบริษัทสามารถรักษาอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุน (รวมค่าเช่าที่ดินตลอดอายุสัญญาเช่า) ให้อยู่ในระดับ 55%-60% แม้บริษัทจะมีแผนการใช้เงินลงทุนจำนวนมากก็ตาม ในทางตรงข้าม หากสถานะทางการเงินของบริษัทถดถอยลงอย่างมาก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการปรับลดอันดับเครดิต หรือแนวโน้มอันดับเครดิตลง
ในขณะที่อันดับเครดิตระดับ “A+” ยังคงสะท้อนสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้า ตลอดจนผลงานในการบริหารศูนย์การค้าที่มีคุณภาพสูง กระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากรายได้ค่าเช่า และค่าบริการ และนโยบายทางการเงินที่มีความระมัดระวัง
ทั้งนี้ การพิจารณาอันดับเครดิตยังคำนึงถึงความต้องการเงินลงทุนจำนวนมาก เพื่อใช้รองรับแผนการขยายธุรกิจของบริษัท ในช่วงปี 2556-2560 ด้วย บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมีตระกูลจิราธิวัฒน์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในสัดส่วน 32% รองลงมาคือ บริษัท เซ็นทรัล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกของไทย (27%) ขณะเดียวกัน การเป็นสมาชิกในเครือเซ็นทรัล ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากการมีห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล เป็นร้านค้าหลักภายในศูนย์การค้าของบริษัท ณ เดือนธันวาคม 2555 บริษัทเป็นผู้พัฒนา และบริหารศูนย์การค้าจำนวน 20 แห่ง ในเขตกรุงเทพฯ และในจังหวัดสำคัญ โดยมีพื้นที่ค้าปลีกรวม 1,121,527 ตารางเมตร (ตร.ม.)
อย่างไรก็ดี บริษัทคงความเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารศูนย์การค้าในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง จากการมีอัตราการเช่าพื้นที่ในระดับสูง และรายได้ค่าเช่าของศูนย์การค้าเดิมที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอ บริษัทมีอัตราการเช่าศูนย์การค้าโดยเฉลี่ยที่ระดับ 97.3% ต่อปี ในช่วงปี 2551 ถึง 9 เดือนแรกของปี 2555 ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 92.6% บริษัทเปิดศูนย์การค้าใหม่ 2 แห่งในปลายปี 2555 ได้แก่ เซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี และเซ็นทรัล พลาซา ลำปาง ศูนย์การค้าดังกล่าวมีอัตราการเช่าพื้นที่สูงถึง 99% และ 98% ตามลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 รายได้ค่าเช่าของศูนย์การค้าเดิมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 9% ในปี 2554 และ 11% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ขณะที่รายได้ค่าเช่า และบริการของบริษัทสูงขึ้นเป็น 10,853 ล้านบาทในปี 2554 เพิ่มขึ้น 10% จาก 9,822 ล้านบาท ในปี 2553 สาเหตุหลักมาจากการกลับมาเปิดให้บริการของศูนย์การค้า เซ็นทรัล เวิลด์ ภายหลังจากเหตุเพลิงไหม้เมื่อต้นปี 2553
โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 รายได้ค่าเช่า และบริการเพิ่มถึงจุดสูงสุดที่ 11,284 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการกลับมาเปิดให้บริการของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว หลังจากการปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ รวมทั้งจากการเปิดส่วนขยายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี และผลการดำเนินงานเต็มปีของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา แกรนด์ พระราม 9 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ ค่าเช่า และค่าบริการ และรายได้จากการขายของบริษัท เท่ากับ 51.91% ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2555 เพิ่มขึ้นจาก 42.24% ในปี 2554 และ 40.50% ในปี 2553 โดยความสามารถในการทำกำไร และผลการดำเนินงานดีขึ้นในทุกศูนย์การค้า
สำหรับกระแสเงินสดของบริษัท ได้รับแรงหนุนจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งขึ้น และการให้เช่าช่วงอาคารสำนักงาน “ดิ ออฟฟิสเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์” แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทำให้อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมดีขึ้นเป็น 14.81% (ยังไม่ได้ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็มปี) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 จากประมาณ 12% ในช่วงปี 2553 และ 2554
อย่างไรก็ตาม การลงทุนเปิดศูนย์การค้าใหม่จำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทมีอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนสูงขึ้นเป็น 60%-64% ในช่วงปี 2553-2555 ซึ่งบริษัทมีความต้องการใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000-14,000 ล้านบาทต่อปี ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนา และเปิดศูนย์การค้าใหม่ให้เพิ่มเป็น 30 แห่งภายในปี 2558
ทั้งนี้ บริษัทยังคงนโยบายในการรักษาอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน ให้ต่ำกว่า 1 เท่า โดยบริษัทจะจัดหาเงินลงทุนดังกล่าวจากหลายแหล่ง ทั้งจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน การกู้ยืม และการขายสินทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
***********
บริษัท ทริสเรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กร และหุ้นกู้ของ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A+” พร้อมเปลี่ยนแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทเป็น “Positive” หรือ “บวก” จาก “Stable” หรือ “คงที่” แนวโน้มอันดับเครดิตที่เปลี่ยนแปลง สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของบริษัทที่ดีขึ้น จากการเปิดศูนย์การค้าใหม่หลายแห่งในต่างจังหวัด และการกลับมาเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบของศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์
ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต “Positive” หรือ “บวก” ยังสะท้อนถึงความสำเร็จของศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ และผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์
ทั้งนี้ อันดับเครดิตอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้น หากบริษัทสามารถรักษาอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุน (รวมค่าเช่าที่ดินตลอดอายุสัญญาเช่า) ให้อยู่ในระดับ 55%-60% แม้บริษัทจะมีแผนการใช้เงินลงทุนจำนวนมากก็ตาม ในทางตรงข้าม หากสถานะทางการเงินของบริษัทถดถอยลงอย่างมาก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการปรับลดอันดับเครดิต หรือแนวโน้มอันดับเครดิตลง
ในขณะที่อันดับเครดิตระดับ “A+” ยังคงสะท้อนสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้า ตลอดจนผลงานในการบริหารศูนย์การค้าที่มีคุณภาพสูง กระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากรายได้ค่าเช่า และค่าบริการ และนโยบายทางการเงินที่มีความระมัดระวัง
ทั้งนี้ การพิจารณาอันดับเครดิตยังคำนึงถึงความต้องการเงินลงทุนจำนวนมาก เพื่อใช้รองรับแผนการขยายธุรกิจของบริษัท ในช่วงปี 2556-2560 ด้วย บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมีตระกูลจิราธิวัฒน์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในสัดส่วน 32% รองลงมาคือ บริษัท เซ็นทรัล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกของไทย (27%) ขณะเดียวกัน การเป็นสมาชิกในเครือเซ็นทรัล ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากการมีห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล เป็นร้านค้าหลักภายในศูนย์การค้าของบริษัท ณ เดือนธันวาคม 2555 บริษัทเป็นผู้พัฒนา และบริหารศูนย์การค้าจำนวน 20 แห่ง ในเขตกรุงเทพฯ และในจังหวัดสำคัญ โดยมีพื้นที่ค้าปลีกรวม 1,121,527 ตารางเมตร (ตร.ม.)
อย่างไรก็ดี บริษัทคงความเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารศูนย์การค้าในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง จากการมีอัตราการเช่าพื้นที่ในระดับสูง และรายได้ค่าเช่าของศูนย์การค้าเดิมที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอ บริษัทมีอัตราการเช่าศูนย์การค้าโดยเฉลี่ยที่ระดับ 97.3% ต่อปี ในช่วงปี 2551 ถึง 9 เดือนแรกของปี 2555 ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 92.6% บริษัทเปิดศูนย์การค้าใหม่ 2 แห่งในปลายปี 2555 ได้แก่ เซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี และเซ็นทรัล พลาซา ลำปาง ศูนย์การค้าดังกล่าวมีอัตราการเช่าพื้นที่สูงถึง 99% และ 98% ตามลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 รายได้ค่าเช่าของศูนย์การค้าเดิมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 9% ในปี 2554 และ 11% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ขณะที่รายได้ค่าเช่า และบริการของบริษัทสูงขึ้นเป็น 10,853 ล้านบาทในปี 2554 เพิ่มขึ้น 10% จาก 9,822 ล้านบาท ในปี 2553 สาเหตุหลักมาจากการกลับมาเปิดให้บริการของศูนย์การค้า เซ็นทรัล เวิลด์ ภายหลังจากเหตุเพลิงไหม้เมื่อต้นปี 2553
โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 รายได้ค่าเช่า และบริการเพิ่มถึงจุดสูงสุดที่ 11,284 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการกลับมาเปิดให้บริการของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว หลังจากการปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ รวมทั้งจากการเปิดส่วนขยายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี และผลการดำเนินงานเต็มปีของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา แกรนด์ พระราม 9 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ ค่าเช่า และค่าบริการ และรายได้จากการขายของบริษัท เท่ากับ 51.91% ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2555 เพิ่มขึ้นจาก 42.24% ในปี 2554 และ 40.50% ในปี 2553 โดยความสามารถในการทำกำไร และผลการดำเนินงานดีขึ้นในทุกศูนย์การค้า
สำหรับกระแสเงินสดของบริษัท ได้รับแรงหนุนจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งขึ้น และการให้เช่าช่วงอาคารสำนักงาน “ดิ ออฟฟิสเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์” แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทำให้อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมดีขึ้นเป็น 14.81% (ยังไม่ได้ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็มปี) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 จากประมาณ 12% ในช่วงปี 2553 และ 2554
อย่างไรก็ตาม การลงทุนเปิดศูนย์การค้าใหม่จำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทมีอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนสูงขึ้นเป็น 60%-64% ในช่วงปี 2553-2555 ซึ่งบริษัทมีความต้องการใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000-14,000 ล้านบาทต่อปี ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนา และเปิดศูนย์การค้าใหม่ให้เพิ่มเป็น 30 แห่งภายในปี 2558
ทั้งนี้ บริษัทยังคงนโยบายในการรักษาอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน ให้ต่ำกว่า 1 เท่า โดยบริษัทจะจัดหาเงินลงทุนดังกล่าวจากหลายแหล่ง ทั้งจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน การกู้ยืม และการขายสินทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
***********