ทาทา สตีล (ประเทศไทย) เผยไตรมาสแรกขาดทุน 201 ล้านบาท เหตุยอดขายงวดนี้ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของถังบรรจุสารเคมีภายในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีที่ตั้งติดกับ “เหล็กก่อสร้างสยาม” ทำให้ยอดขายสินค้าเหล็กเส้นก่อสร้างลดลง อีกทั้งราคาเหล็กลวดนำเข้าจากจีนมาแย่งส่วนแบ่งตลาด
นายปิยุช กุปต้า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TSTH แจ้งผลงานไตรมาสแรก ประจำปี 2555-2556 ว่าบริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 200.84 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อน มีผลกำไรสุทธิ 1.76 ล้านบาท
โดยผลงานไตรมาสแรกนี้ (เมษายน -มิถุนายน 2555) มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นกว่าไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) ทั้งด้านกำไรขั้นต้น EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ค่าใช้จ่ายการเงิน ค่าเสื่อมราคา และรายจ่ายตัดบัญชี) และกำไรก่อนหักภาษี ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมต้นทุนการผลิตการจัดหาเศษเหล็กสอดคล้องกับการผลิตที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว
สำหรับในด้านการขาย ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของถังบรรจุสารเคมีภายในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีที่ตั้งติดกับบริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำกัด มีผลต่อเนื่องทำให้ยอดขายสินค้าเหล็กเส้นก่อสร้างลดลงประมาณ 35,000 ตัน ส่วนยอดขายสินค้าเหล็กลวดทั้งด้านปริมาณ และราคายังคงได้รับผลกระทบจากการนำเข้าจากจีน ทั้งส่วนของเหล็กลวดคาร์บอนสูง และเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ ส่วนการขายเหล็กตัด และดัดสำเร็จรูปเหล็กรูปพรรณขนาดเล็ก และเหล็กเพลา เป็นไปตามแผน และดีกว่าไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) สัดส่วนการขายสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงอยู่ที่ 30% ในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 21%
โดยไตรมาสนี้ TSTH มียอดขายสุทธิระหว่างไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2555) มียอดขาย 5,897 ล้านบาท ปริมาณขาย 258,000 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) ที่มียอดขาย 7,554 ล้านบาท และปริมาณการขาย 329,000 ตันราคาขายในไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2555) อยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) ที่ 22,900 บาทต่อตัน และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) ยอดขายต่ำกว่า 9% แต่ราคาขายยังคงเท่ากับไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) การลดลงของปริมาณการขายเนื่องมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ล่าช้า และผลกระทบจากการระเบิดของโรงงานที่ติดอยู่กับบริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำกัด และการนำเข้าสินค้าเหล็กลวดจากจีน
ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทมี EBITDA ในไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2555) 117 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) ซึ่งอยู่ที่ 356 ล้านบาท การลดลงของ EBITDA มีผลกระทบจากยอดขายที่ต่ำลเนื่องจากการฟื้นตัวของความต้องการในตลาดล่าช้า และต้นทุนที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีแผนพลิกฟื้นการดำเนินงาน ทำให้ EBITDA สูงกว่าไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) 50 ล้านบาทโดยไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม 2555) มีกำไรก่อนหักภาษี 190 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 (มกราคม-มีนาคม 2554) 19 ล้านบาท และเทียบกับไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) 222 ล้านบาท เป็นผลจากการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี ยังมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555 ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศปีงบประมาณใหม่ในเดือนตุลาคม อุตสาหกรรมคาดว่าจะมีการแร่งใช้เงินทุนในช่วงนี้ ถึงแม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปหลายฝ่ายยังประมาณการว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโต 5-5.5% ในปี 2555 ในอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีการผลิตประมาณ 2 ล้านคัน และอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีแนวโน้มในการใช้ที่เพิ่มขึ้น ยังคงมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่มีผลกระทบ คือ ประสิทธิภาพของการป้องกันน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ มาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินประกาศโดยรัฐบาลที่จะทำให้มีการเจริญเติบโต และปฏิบัติจริงมากน้อยเพียงใด และ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนพลังงาน และค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเปลี่ยนแปลง 1 เมษายน 2555 โดยไม่มีผลถึงการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพในการผลิต
นายปิยุช กุปต้า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TSTH แจ้งผลงานไตรมาสแรก ประจำปี 2555-2556 ว่าบริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 200.84 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อน มีผลกำไรสุทธิ 1.76 ล้านบาท
โดยผลงานไตรมาสแรกนี้ (เมษายน -มิถุนายน 2555) มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นกว่าไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) ทั้งด้านกำไรขั้นต้น EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ค่าใช้จ่ายการเงิน ค่าเสื่อมราคา และรายจ่ายตัดบัญชี) และกำไรก่อนหักภาษี ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมต้นทุนการผลิตการจัดหาเศษเหล็กสอดคล้องกับการผลิตที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว
สำหรับในด้านการขาย ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของถังบรรจุสารเคมีภายในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีที่ตั้งติดกับบริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำกัด มีผลต่อเนื่องทำให้ยอดขายสินค้าเหล็กเส้นก่อสร้างลดลงประมาณ 35,000 ตัน ส่วนยอดขายสินค้าเหล็กลวดทั้งด้านปริมาณ และราคายังคงได้รับผลกระทบจากการนำเข้าจากจีน ทั้งส่วนของเหล็กลวดคาร์บอนสูง และเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ ส่วนการขายเหล็กตัด และดัดสำเร็จรูปเหล็กรูปพรรณขนาดเล็ก และเหล็กเพลา เป็นไปตามแผน และดีกว่าไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) สัดส่วนการขายสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงอยู่ที่ 30% ในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 21%
โดยไตรมาสนี้ TSTH มียอดขายสุทธิระหว่างไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2555) มียอดขาย 5,897 ล้านบาท ปริมาณขาย 258,000 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) ที่มียอดขาย 7,554 ล้านบาท และปริมาณการขาย 329,000 ตันราคาขายในไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2555) อยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) ที่ 22,900 บาทต่อตัน และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) ยอดขายต่ำกว่า 9% แต่ราคาขายยังคงเท่ากับไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) การลดลงของปริมาณการขายเนื่องมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ล่าช้า และผลกระทบจากการระเบิดของโรงงานที่ติดอยู่กับบริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำกัด และการนำเข้าสินค้าเหล็กลวดจากจีน
ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทมี EBITDA ในไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2555) 117 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 (เมษายน-มิถุนายน 2554) ซึ่งอยู่ที่ 356 ล้านบาท การลดลงของ EBITDA มีผลกระทบจากยอดขายที่ต่ำลเนื่องจากการฟื้นตัวของความต้องการในตลาดล่าช้า และต้นทุนที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีแผนพลิกฟื้นการดำเนินงาน ทำให้ EBITDA สูงกว่าไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) 50 ล้านบาทโดยไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม 2555) มีกำไรก่อนหักภาษี 190 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 (มกราคม-มีนาคม 2554) 19 ล้านบาท และเทียบกับไตรมาส 4 (มกราคม-มีนาคม 2555) 222 ล้านบาท เป็นผลจากการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี ยังมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555 ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศปีงบประมาณใหม่ในเดือนตุลาคม อุตสาหกรรมคาดว่าจะมีการแร่งใช้เงินทุนในช่วงนี้ ถึงแม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปหลายฝ่ายยังประมาณการว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโต 5-5.5% ในปี 2555 ในอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีการผลิตประมาณ 2 ล้านคัน และอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีแนวโน้มในการใช้ที่เพิ่มขึ้น ยังคงมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่มีผลกระทบ คือ ประสิทธิภาพของการป้องกันน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ มาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินประกาศโดยรัฐบาลที่จะทำให้มีการเจริญเติบโต และปฏิบัติจริงมากน้อยเพียงใด และ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนพลังงาน และค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเปลี่ยนแปลง 1 เมษายน 2555 โดยไม่มีผลถึงการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพในการผลิต