xs
xsm
sm
md
lg

เปิดรายงานประชุมบอร์ด กนง. เพิ่มน้ำหนักความเสี่ยง ศก.โลก เตรียมพร้อมยาแรงรับมือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เปิดรายงานประชุมบอร์ด กนง. ครั้งล่าสุด 13 มิ.ย. ระบุ มติบอร์ดเทน้ำหนักความเสี่ยง ศก.โลก มากกว่าเงินเฟ้อ และพร้อมปรับนโยบายการเงินตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ประเมินพื้นฐาน ศก.ไทยยังแข็งแกร่ง เชื่อจะมีแรงส่งกลับสู่ศักยภาพได้ภายในปีนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 3% โดยจะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด และพร้อมปรับนโยบายการเงินตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ความเสี่ยงที่สาคัญที่สุดคือเศรษฐกิจโลก ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง

ในกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คาดว่า สถานการณ์ในกลุ่มประเทศยูโรจะยืดเยื้อ เนื่องจากหลายประเทศเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะ ความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน พร้อมกับมีอัตราการว่างงานในระดับสูง ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง และต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ไข ในขณะเดียวกัน โอกาสที่สถานการณ์จะเลวร้ายลงยังมีอยู่จากปัจจัยด้านการเมือง และความอ่อนไหวของความเชื่อมั่น ภายใต้สมดุลความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป

คณะกรรมการฯ ได้หารือว่า นโยบายการเงินควรผ่อนปรนเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ และมีข้อสรุปดังนี้ แม้ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้ ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกไม่มากกว่าที่คาดไว้แล้ว และเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังแข็งแกร่งและมีแรงส่งเพียงพอที่จะกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพภายในปีนี้ ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อแผ่วลง แต่ก็ยังมีอยู่จากการฟื้นตัวที่เข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ายังอยู่สูงกว่าค่ากลางของเป้าหมายนโยบายการเงิน

นอกจากนี้ กรรมการบางท่านมีข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจบางภาคกำลังประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากรด้านการผลิต (supply constraints) ทั้งวัตถุดิบ และแรงงาน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวประกอบกับการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ จะทาให้การส่งผ่านของต้นทุนไปยังราคาสินค้า และบริการยังมีอยู่

ขณะที่ภาวะการเงินในปัจจุบัน อยู่ในระดับผ่อนคลายเพียงพอต่อความจ่าเป็นของเศรษฐกิจอยู่แล้ว สะท้อนจากสินเชื่อภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่า ซึ่งเอื้อต่อการลงทุน กรรมการบางท่านยังมีข้อสังเกตว่า ต้นทุนทางการเงินไม่ได้เป็นอุปสรรคที่สาคัญต่อภาคธุรกิจในขณะนี้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับข้อจากัดด้านอุปทานของปัจจัยการผลิต

แต่โอกาสที่เศรษฐกิจโลกอาจเลวร้ายลงมากยังมีอยู่ จึงควรจะสงวนศักยภาพในการด่าเนินนโยบายดอกเบี้ยเอาไว้ก่อน และรอดูความชัดเจนของความเสี่ยงของเศรษฐกิจในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยจะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะปรับนโยบายการเงินตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ฟื้นตัวดีกว่าคาด โดยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาอยู่ใกล้เคียงกับระดับปกติก่อนเกิดอุทกภัยแล้ว ส่วนหนึ่งจากการเร่งผลิตเพื่อสะสมสินค้าคงคลัง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงจากการเร่งฟื้นฟูความเสียหายและรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากการจ้างงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับสูงขึ้น

ส่วนภาครัฐสามารถเร่งเบิกจ่ายได้หลังพระราชบัญญัติงบประมาณประกาศใช้ และภาวะการเงินยังเอื้ออานวย โดยสินเชื่อขยายตัวสูงต่อเนื่อง ขณะนี้ จึงมีเพียงภาคการส่งออกที่ยังไม่กลับสู่ระดับปกติ เพราะแม้ข้อจากัดด้านการผลิตลดลงแล้ว แต่อุปสงค์จากต่างประเทศแผ่วลง โดยเฉพาะจากยุโรป

เศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีจากความต่อเนื่องของปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและอุปสงค์ในประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลงจะทำให้การส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2555 แผ่วกว่าประมาณการเดิม ประกอบกับคาดว่า ภาคการคลังอาจมีการเบิกจ่ายในอัตราต่ากว่าที่คาดไว้เดิม เป็นผลให้แม้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ฟื้นตัวได้แรงกว่าที่คาดไว้มาก แต่โดยรวมแล้ว อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปีก็ยังจะอยู่ที่ร้อยละ 6.0 เท่ากับประมาณการในการประชุมครั้งก่อน แต่มีความเสี่ยงมากขึ้นจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากปัญหาในกลุ่มประเทศยูโรทวีความรุนแรงขึ้น ก็จะกระทบต่อภาคการส่งออกทั้งทางตรง และทางอ้อม ผ่านการส่งออกของประเทศอื่น เช่น จีน และทาให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยชะลอลง

ส่วนแรงกดดันเงินเฟ้อยังมีอยู่ แต่ปรับลดลงเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อนตามต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง โดยเฉพาะราคานำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ภายใต้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี ทำให้การส่งผ่านของต้นทุนไปยังราคาผู้บริโภคยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง สะท้อนจากการปรับขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสินค้าหมวดสำคัญสาหรับผู้บริโภคไทย และการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ส่วนหนึ่งจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่าในช่วงที่ผ่านมา และแนวโน้มการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในอนาคต

ด้านภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน จากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของกรีซในกลุ่มประเทศยูโร และปัญหาภาคสถาบันการเงินของสเปนที่ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่คาดไว้เดิม และมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีความเชื่อมโยงกันสูง และล่าสุด สัญญาณการฟื้นตัวแผ่วลงบ้าง โดยภาวะการจ้างงานยังค่อนข้างอ่อนแอ ขณะที่มาตรการด้านการคลังบางส่วนใกล้จะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม การบริโภค และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในเกณฑ์ดียังเป็นปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

สำหรับเศรษฐกิจเอเชียชะลอตัว และมีแนวโน้มที่ภาคการส่งออกจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้เดิม ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจจีน แต่อุปสงค์ภายในประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี และความสามารถในการใช้นโยบายการเงินการคลังเพิ่มเติมหากจำเป็น จะช่วยบรรเทาผลกระทบของเศรษฐกิจโลกต่อประเทศในเอเชียได้ในระดับหนึ่ง

ภาวะตลาดการเงิน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับลดลงค่อนข้างมากจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในกลุ่มประเทศยูโร นักลงทุนจึงเพิ่มสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมนี ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ สาหรับเงินบาทอ่อนค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค จากการไหลออกของเงินทุนจากตลาดหุ้นเป็นสาคัญ สอดคล้องกับดัชนีหลักทรัพย์ที่ปรับลดลงทั้งภูมิภาค

ตลาดเงินของไทยโดยรวมไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นในตลาดการเงินโลก สภาพคล่องเงินบาท และเงินตราต่างประเทศยังมีเพียงพอ โดยอัตราดอกเบี้ย swap ผันผวนบ้าง แต่ไม่ผิดปกติ สาหรับอัตราดอกเบี้ยเงินบาทระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สะท้อนการคาดการณ์ของตลาดว่า คณะกรรมการฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะปานกลางถึงระยะยาวเคลื่อนไหวผันผวนขึ้น จากแรงซื้อขายของนักลงทุนที่ปรับตามความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก
กำลังโหลดความคิดเห็น