ฟิทช์ เรทติ้งให้อันดับเครดิต SME Bank ที่ระดับ AA+(tha) แนวโน้มมีเสถียรภาพ จากจุดแข็งในฐานะรัฐวิสาหกิจ แต่จับตาผลกระทบในเชิงลบจากการที่ธนาคารมีลูกค้า-หนี้ด้อยคุณภาพอยู่สูง รวมถึงเงินกองทุนที่ต่ำ
ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ระยะยาวที่ “AA+(tha)” แนวโน้มอันเดับเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ “F1+(tha)” แก่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) โดยอันดับเครดิตของธนาคารพิจารณาถึงสถานะทางกฎหมายในฐานะรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากการที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บทบาทหน้าที่ของธนาคารในการสนับสนุนนโยบายรัฐ ความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อรัฐบาล และการให้การสนับสนุนทางการเงิน และการควบคุมกำกับอย่างใกล้ชิดโดยรัฐบาล
ทั้งนี้ SME Bank มีบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการช่วยพัฒนาและให้การสนับสนุนแก่กลุ่มผู้ประกอบการ SME รายใหม่ และรายที่ประสบปัญหาด้านการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตสูงสำหรับธนาคารพาณิชย์หากมีการปล่อยสินเชื่อหรือให้บริการทางการเงินอื่นๆ นอกจากนี้ ธนาคารยังทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อรัฐบาลของธนาคารจึงน่าจะยังคงมีอยู่ต่อไปในระยะยาว ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าธนาคารน่าจะได้การสนับสนุนจากรัฐบาล โดยเห็นได้จากการสนับสนุนด้านเงินกองทุนตั้งแต่ปี 2547
อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการที่ธนาคารมีลูกค้าเป้าหมายที่อยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพด้อย และมีการบริหารและควบคุมความเสี่ยงที่ด้อยประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ค่อนข้างอ่อนแอ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลชะลอการเพิ่มทุน และทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนลดลงมาอยู่ที่ 6.8% ณ สิ้นปี 2554 ต่ำกว่าระดับขั้นต่ำที่กำหนดที่ 8.5% นอกจากนี้ เป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในเชิงรุกจะยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันระดับของเงินกองทุน และยิ่งจะทำให้การเพิ่มทุนมีความจำเป็นมากขึ้น ในมุมมองของฟิทช์ การเพิ่มทุนโดยรัฐบาลต่อไปในอนาคต น่าจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ และแผนการแก้ปัญหาหนี้เสียของธนาคาร รวมทั้งงบประมาณของรัฐบาล
อันดับเครดิตของธนาคารอาจได้รับผลกระทบในเชิงลบ หากบทบาทหน้าที่และความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ของธนาคารลดลง รวมทั้งการลดสัดส่วนการถือหุ้นโดยรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ในการที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมีน้อยมาก เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการ SME ยังคงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย และธนาคารยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่ยังไม่สามารถรับบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ได้
ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ระยะยาวที่ “AA+(tha)” แนวโน้มอันเดับเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ “F1+(tha)” แก่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) โดยอันดับเครดิตของธนาคารพิจารณาถึงสถานะทางกฎหมายในฐานะรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากการที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บทบาทหน้าที่ของธนาคารในการสนับสนุนนโยบายรัฐ ความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อรัฐบาล และการให้การสนับสนุนทางการเงิน และการควบคุมกำกับอย่างใกล้ชิดโดยรัฐบาล
ทั้งนี้ SME Bank มีบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการช่วยพัฒนาและให้การสนับสนุนแก่กลุ่มผู้ประกอบการ SME รายใหม่ และรายที่ประสบปัญหาด้านการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตสูงสำหรับธนาคารพาณิชย์หากมีการปล่อยสินเชื่อหรือให้บริการทางการเงินอื่นๆ นอกจากนี้ ธนาคารยังทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อรัฐบาลของธนาคารจึงน่าจะยังคงมีอยู่ต่อไปในระยะยาว ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าธนาคารน่าจะได้การสนับสนุนจากรัฐบาล โดยเห็นได้จากการสนับสนุนด้านเงินกองทุนตั้งแต่ปี 2547
อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการที่ธนาคารมีลูกค้าเป้าหมายที่อยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพด้อย และมีการบริหารและควบคุมความเสี่ยงที่ด้อยประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ค่อนข้างอ่อนแอ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลชะลอการเพิ่มทุน และทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนลดลงมาอยู่ที่ 6.8% ณ สิ้นปี 2554 ต่ำกว่าระดับขั้นต่ำที่กำหนดที่ 8.5% นอกจากนี้ เป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในเชิงรุกจะยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันระดับของเงินกองทุน และยิ่งจะทำให้การเพิ่มทุนมีความจำเป็นมากขึ้น ในมุมมองของฟิทช์ การเพิ่มทุนโดยรัฐบาลต่อไปในอนาคต น่าจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ และแผนการแก้ปัญหาหนี้เสียของธนาคาร รวมทั้งงบประมาณของรัฐบาล
อันดับเครดิตของธนาคารอาจได้รับผลกระทบในเชิงลบ หากบทบาทหน้าที่และความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ของธนาคารลดลง รวมทั้งการลดสัดส่วนการถือหุ้นโดยรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ในการที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมีน้อยมาก เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการ SME ยังคงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย และธนาคารยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่ยังไม่สามารถรับบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ได้