xs
xsm
sm
md
lg

ดีลอยท์ฯแนะเอกชนปรับตัวรับ AEC เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยปี 2555 แตะ 5-7%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTV ผู้จัดการรายวัน - “ดีลอยท์” เชื่อมั่นเศรษฐกิจปีนี้ตัวเลขจีดีพี 5-7% แน่ จากการฟื้นตัวหลังน้ำท่วม และผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทไทย ยกภาคการลงทุน และการส่งออกยังเป็นปัจจัยหลัก พร้อมแนะผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับ AEC ชี้ เป็นโอกาสต่อการขยายธุรกิจและฐานลูกค้า

นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินรายใหญ่อันดับ 1 ใน 4 ของโลก เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2555 ว่า หลังรับทราบถึงผลประกอบการของบริษัทไทยที่เป็นลูกค้าดีลอยท์ ทำให้เชื่อว่าตัวเลขเศรษฐกิจในปีนี้จะอยู่ในลักษณะรีบาวด์ขึ้นประมาณ 5-7% ตามที่ รมว.คลัง และ ไอเอ็มเอฟ ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ซึ่งการลงทุนในประเทศ และการส่งออกยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อน อีกทั้งยังมีการยืนยันจากลูกค้าต่างชาติหลายราย ว่า จะลงทุนในไทยต่อไปไม่มีการย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ส่วนที่มีการจัดตั้งโรงงานเพิ่มเติมในประเทศอื่นนั้นเป็นเพียงการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย ความเสี่ยงต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นอีก, สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย และปัญหาการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดภาคใต้และในกรุงเทพฯ

ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยภาพรวมมองว่า ราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้น และยังไม่มีความแน่นอน ด้านสหรัฐฯมีท่าทีจะปรับตัวดีขึ้นหลังจากประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์ในยุโรป ปัญหาหนี้สาธารณะยังคงกดดัน และคาดว่า จะมีปัญหาออกมาให้เห็นอย่องต่อเนื่อง ซึ่งประเมินว่า การที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวและ ญี่ปุ่นเริ่มมีการลงทุนมากขึ้นถือเป็นปัจจัยบวกต่อประเทศไทย ที่มีโอกาสขยายตลาด แม้จีนจะชะลอการนำเข้าลงไป

ส่วนการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC ) ที่จะมาถึงในปี 2558 ผู้บริหาร ดีลอยท์ กล่าวว่า จากการพบปะลูกค้าทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน และผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ พบว่า ผู้ประกอบการไทยในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม มีแนวคิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ประเภทแรกมองว่าAEC ถือเป็นโอกาสในการขยายธุกริจและฐานลูกค้า ขณะที่อีกกลุ่มมองว่าจะเป็นปัญหา และอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของตน ซึ่งในส่วนของบริษัท ดีลอยท์นั้นอยากให้ผู้ประกอบการไทยทุกรายมองโอกาสและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อปรับตัวรองรับในเรื่องดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น