"ดีลอยท์" เตรียมขยายธุรกิจรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เน้นกลยุทธ์การเป็นหนึ่งเดียว ชี้ เป็นโอกาสลงทุนที่ดีที่ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในไทยและไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ ระบุ ศก.โลกมีความเสี่ยง ยุโรปอาจถดถอย หากกรีซผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลกระทบส่งออกไทยแนะมองหาตลาดใหม่ทดแทน
นายชาลี มาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีลอยท์ เซาท์ อีสท์ เอเชียและดีลอยท์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในขณะนี้มีความไม่แน่นอนสูงที่น่ราเป็นห่วงมากคือเศรษฐกิจของยุโรปซึ่งมีปัญหาหนี้สินมากและมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีการเติบโตที่ช้าลงและเนื่องจากเป็นตลาดบริโภคขนาดใหญ่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศจีนด้วยเพราะมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรปเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามประเทศจีนพยายามปรับแผนเศรษฐกิจให้มีการเติบโตทั้งประเทศไม่เฉพาะกับบริเวณชายฝั่งตะวันออกเท่านั้นซึ่งหากเศรษฐกิจโตได้ทั้งประเทศก็จะส่งผลดีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้มองว่าธุรกิจต่างๆต้องมีการปรับตัวในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ด้วยการไปดูที่ค่าใช้จ่ายของบริษัทซึ่งควรจะลดการใช้จ่ายต่างๆลง แต่ขณะนี้มองว่าบริษัทในเอเชียส่วนใหญ่มีาภระหนี้สินที่ต่ำเพราะเคยเจอบทเรียนจากปัญหาเศราฐกิจมาแล้วในอดีต แต่ก็ควีจะมองหาการลงทุนในตลาดใหม่ๆ เช่นในแอฟริกา ซึ่งทถหวันนี้จีนก็มีการขยายการลงทุนในยังแอฟริกามาก เพราะมีทรัพยากรที่มาก
นอกจากนี้ยังมองว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤตหนี้ในสหรัฐฯและยุโรปนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่บริษัทในภูมิภาคเอเชียจะเข้าไปซื้อหรือควบรวมกิจการ (M&A) ธุรกิจในยุโรปหรือสหรัฐฯ ซึ่งมีมาระยะหนึ่งแล้วเช่น บริษัทรถยนต์ ทาทา ในอินเดียที่เข้าไปซื้อบริษัทรถยนต์ในยุโรปเป็นต้นซึ่งกลับกันจากในอดีตที่บริษัทในยุโรปจะเข้ามาซื้อบริษัทในเอเชีย
"ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ประเทศกรีซว่าจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ซึ่งหากผิดนัดชำระหนี้ก็จะส่งผลให้เศราฐกิจเกิดการย่ำแย่ลงไปอีกแต่ยังคาดเดาได้ยาก แต่ส่วนตัวยังมองในแง่ดีว่าจะไม่ผิดนัดชำระหนี้" นายชาลี มาห์ กล่าว
วางกลยุทธ์ธุรกิจรับมือ ACE
นายชาลี มาห์ ยัง กล่าวว่า การรวมมือกันทางการค้าภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) นั้นมองว่า การเป็นตลาดเดียวในอาเซียนนั้นถือเป็นโอกาสที่ดี แต่ที่ต้องดูก็คือเรื่องของการพัฒนาของแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากัน มีเศรษฐกิจที่ต่างกันมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันแก้ว่าจะรวมกันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของภาษีที่ต่างกันด้วยซึ่งทาง ดีลอยท์ ก็สนับสนุนเพราะมองว่าประเทศในอาเซียนเป็นโอกาสที่ดี เช่นกัมพูชา ที่มีบริษัทข้ามชาติเข้าไปตั้งออฟฟิตมากรวมทั้งลาวซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติ อย่าง เพชร พลอย และเมื่อไม่นานมานี้ ดีลอยท์ เพิ่งไปเปิดออฟฟิตที่ประเทศมองโกเลีย ซึ่งมีลูกค้าที่เป็นบริษัทที่มำธุรกิจเหมืองแร่ในจีนและมองโกเลียมาใช้บริการเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามมองว่า การรวมกันของ AEC นั้นยังเป็นความร่วมมือกันในเรื่องของการค้าเป็นหลักเท่านั้น และยังเป็นไปได้ยากที่จะทำเหมือนกับประเทศในยุโรปที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะเนื่องจากแต่ละประเทศในอาเซียนมีระดับเศรษฐกิจที่ต่างกันมาก
ขณะที่นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เปิดเผยว่าการเกิด AEC ส่งผลให้เงินทุนและทรัพยากรบุคคลไหลเข้ามาในอาเซียนมากขึ้นทำให้มีโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น ทำให้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยและบริษัทในไทยก็สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งในส่วนของบริษัท ดีลอยท์ นั้นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับตลาดในอนาคตโดยในปีนี้ได้เน้นในเรื่องกลยุทธ์การเป็นหนึ่งเดียวของทั้งโลกและตั้งเป้าว่าในอีก 4- 5ปีในอนาคตจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 หรือ 2 ปัจจุบันธุรกิจของดีลอยท์ 50% เป็นเรื่องการตรวจสอบบัญชีและอีก 50% เป็นเรื่องที่ปรึกษาทางธุรกิจและการเงิน การบริหารความเสี่ยง โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนักงาน 22 แห่งใน 8 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กวม อินโดนิเซีย มาเลเวีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย
"จุดแข็งของบริษัท ดีลอยท์ เซาท์ อีสท์ เอเชีย นั้นคือเรามีออฟฟิตอยู่ในทุกประเทศ ทำให้สามารถใช้บุคคลากรไปให้บริการลูกค้าได้ทั่วในทุกประเทศ" นายสุภศักดิ์ กล่าว
ส่วนในเรื่องของโครงสร้างทางภาษีที่แตกต่างกันนั้นมองว่า เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง ในเรื่องของการค้า โดยบริษัทหนึ่งอาจนำเข้าจากประเทศหนึ่งและส่งออกไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ แต่บริษัทของไทยนั้นภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนในเรื่องนี้ว่าจะสามรถช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง แต่ทางดีลอยท์ มีความเข้าใจในเรื่องกฎหมายของประเทศต่างๆดีอยู่แล้ว
นายสุภศักดิ์ ยังกล่าวถึงเศรษฐกิจไทยด้วยว่า เศรษฐกิจไทยมีการส่งออกเป็นหลัก และะมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปหากเกิดภาวะถดถอย การส่งออกของไทยจะส่งออกไปที่ใดได้บ้าง ส่วนเรื่องราคาสินค้าเกษตรก็เป็นเรื่องสำคัญ หากมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นก็จะมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน
นายชาลี มาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีลอยท์ เซาท์ อีสท์ เอเชียและดีลอยท์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในขณะนี้มีความไม่แน่นอนสูงที่น่ราเป็นห่วงมากคือเศรษฐกิจของยุโรปซึ่งมีปัญหาหนี้สินมากและมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีการเติบโตที่ช้าลงและเนื่องจากเป็นตลาดบริโภคขนาดใหญ่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศจีนด้วยเพราะมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรปเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามประเทศจีนพยายามปรับแผนเศรษฐกิจให้มีการเติบโตทั้งประเทศไม่เฉพาะกับบริเวณชายฝั่งตะวันออกเท่านั้นซึ่งหากเศรษฐกิจโตได้ทั้งประเทศก็จะส่งผลดีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้มองว่าธุรกิจต่างๆต้องมีการปรับตัวในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ด้วยการไปดูที่ค่าใช้จ่ายของบริษัทซึ่งควรจะลดการใช้จ่ายต่างๆลง แต่ขณะนี้มองว่าบริษัทในเอเชียส่วนใหญ่มีาภระหนี้สินที่ต่ำเพราะเคยเจอบทเรียนจากปัญหาเศราฐกิจมาแล้วในอดีต แต่ก็ควีจะมองหาการลงทุนในตลาดใหม่ๆ เช่นในแอฟริกา ซึ่งทถหวันนี้จีนก็มีการขยายการลงทุนในยังแอฟริกามาก เพราะมีทรัพยากรที่มาก
นอกจากนี้ยังมองว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤตหนี้ในสหรัฐฯและยุโรปนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่บริษัทในภูมิภาคเอเชียจะเข้าไปซื้อหรือควบรวมกิจการ (M&A) ธุรกิจในยุโรปหรือสหรัฐฯ ซึ่งมีมาระยะหนึ่งแล้วเช่น บริษัทรถยนต์ ทาทา ในอินเดียที่เข้าไปซื้อบริษัทรถยนต์ในยุโรปเป็นต้นซึ่งกลับกันจากในอดีตที่บริษัทในยุโรปจะเข้ามาซื้อบริษัทในเอเชีย
"ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ประเทศกรีซว่าจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ซึ่งหากผิดนัดชำระหนี้ก็จะส่งผลให้เศราฐกิจเกิดการย่ำแย่ลงไปอีกแต่ยังคาดเดาได้ยาก แต่ส่วนตัวยังมองในแง่ดีว่าจะไม่ผิดนัดชำระหนี้" นายชาลี มาห์ กล่าว
วางกลยุทธ์ธุรกิจรับมือ ACE
นายชาลี มาห์ ยัง กล่าวว่า การรวมมือกันทางการค้าภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) นั้นมองว่า การเป็นตลาดเดียวในอาเซียนนั้นถือเป็นโอกาสที่ดี แต่ที่ต้องดูก็คือเรื่องของการพัฒนาของแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากัน มีเศรษฐกิจที่ต่างกันมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันแก้ว่าจะรวมกันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของภาษีที่ต่างกันด้วยซึ่งทาง ดีลอยท์ ก็สนับสนุนเพราะมองว่าประเทศในอาเซียนเป็นโอกาสที่ดี เช่นกัมพูชา ที่มีบริษัทข้ามชาติเข้าไปตั้งออฟฟิตมากรวมทั้งลาวซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติ อย่าง เพชร พลอย และเมื่อไม่นานมานี้ ดีลอยท์ เพิ่งไปเปิดออฟฟิตที่ประเทศมองโกเลีย ซึ่งมีลูกค้าที่เป็นบริษัทที่มำธุรกิจเหมืองแร่ในจีนและมองโกเลียมาใช้บริการเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามมองว่า การรวมกันของ AEC นั้นยังเป็นความร่วมมือกันในเรื่องของการค้าเป็นหลักเท่านั้น และยังเป็นไปได้ยากที่จะทำเหมือนกับประเทศในยุโรปที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน เพราะเนื่องจากแต่ละประเทศในอาเซียนมีระดับเศรษฐกิจที่ต่างกันมาก
ขณะที่นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เปิดเผยว่าการเกิด AEC ส่งผลให้เงินทุนและทรัพยากรบุคคลไหลเข้ามาในอาเซียนมากขึ้นทำให้มีโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น ทำให้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยและบริษัทในไทยก็สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งในส่วนของบริษัท ดีลอยท์ นั้นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับตลาดในอนาคตโดยในปีนี้ได้เน้นในเรื่องกลยุทธ์การเป็นหนึ่งเดียวของทั้งโลกและตั้งเป้าว่าในอีก 4- 5ปีในอนาคตจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 หรือ 2 ปัจจุบันธุรกิจของดีลอยท์ 50% เป็นเรื่องการตรวจสอบบัญชีและอีก 50% เป็นเรื่องที่ปรึกษาทางธุรกิจและการเงิน การบริหารความเสี่ยง โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนักงาน 22 แห่งใน 8 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กวม อินโดนิเซีย มาเลเวีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย
"จุดแข็งของบริษัท ดีลอยท์ เซาท์ อีสท์ เอเชีย นั้นคือเรามีออฟฟิตอยู่ในทุกประเทศ ทำให้สามารถใช้บุคคลากรไปให้บริการลูกค้าได้ทั่วในทุกประเทศ" นายสุภศักดิ์ กล่าว
ส่วนในเรื่องของโครงสร้างทางภาษีที่แตกต่างกันนั้นมองว่า เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง ในเรื่องของการค้า โดยบริษัทหนึ่งอาจนำเข้าจากประเทศหนึ่งและส่งออกไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ แต่บริษัทของไทยนั้นภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนในเรื่องนี้ว่าจะสามรถช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง แต่ทางดีลอยท์ มีความเข้าใจในเรื่องกฎหมายของประเทศต่างๆดีอยู่แล้ว
นายสุภศักดิ์ ยังกล่าวถึงเศรษฐกิจไทยด้วยว่า เศรษฐกิจไทยมีการส่งออกเป็นหลัก และะมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปหากเกิดภาวะถดถอย การส่งออกของไทยจะส่งออกไปที่ใดได้บ้าง ส่วนเรื่องราคาสินค้าเกษตรก็เป็นเรื่องสำคัญ หากมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นก็จะมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน