ASTVผู้จัดการรายวัน-ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมโวยออมสินกำหนดเงื่อนไขสุดโหด ในการปล่อยกู้นิคมฯ สร้างคันกั้นน้ำถาวร วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เหตุบังคับจับทุกโรงงานเซ็นสัญญาใช้หนี้ เอกชนวอนรัฐร่วมรับผิดชอบ ต้นเหตุบริหารจัดการน้ำผิดพลาด
นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสวนอุตสาหกรรมนวนคร เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลอนุมัติเงิน 15,000 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการนิคมอุตสหกรรมสร้างคันกั้นน้ำถาวรจากธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ย 0.01% ระยะเวลา 7 ปี ขณะนี้นวนครได้ยื่นขอกู้ไปแล้ว แต่ปรากฏว่าติดเงื่อนไขหลายด้าน โดยเฉพาะธนาคารออมสินต้องการให้โรงงานอุตสหากรรมทุกแห่งในนิคมฯ เข้ามาเซ็นสัญญาค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ด้วย เพื่อป้องกันกรณีที่ผู้พัฒนาไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็ให้โรงงานรับใช้หนี้แทน
“ได้คุยกับออมสิน ซึ่งประเด็นการคืนเงินกู้ จะต้องมีการไปชาร์จค่าส่วนกลางเพิ่มจากโรงงาน เพื่อชำระหนี้ จึงต้องการให้โรงงานเซ็นสัญญาเพื่อประกันจ่ายคืน โดยโรงงานจะมาเซ็นทุกแห่งเป็นไปได้ยาก เพราะต้องขออนุมัติจากบริษัทแม่ในต่างประเทศก่อน และยังเป็นภาระเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันน้ำท่วมครั้งนี้ เอกชนมองว่าไม่ได้เกิดจากความผิดจากตัวเอกชน แต่เพราะรัฐบาลบริหารจัดการน้ำผิดพลาด รัฐบาลเองควรร่วมรับผิดชอบ ซึ่งผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการต่างๆ จะเข้าไปหารือกับรัฐบาลเพื่อให้ช่วยเหลือในเรื่องนี้ รวมทั้งขอให้มีการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ออกไปเป็น 15 ปี จาก 7 ปีด้วย”นายนิพิฐกล่าว
ทั้งนี้ หากลงทุนสร้างคันกั้นน้ำถาวร คาดว่าสวนอุตสาหกรรมนวนครจะต้องเก็บค่าส่วนกลางจากโรงงานเพิ่มอีก 900 บาทต่อไร่ต่อเดือน จากปัจจุบันเก็บเพียง 600 บาทต่อไร่ต่อเดือน เพื่อชำระหนี้ 15 ปี แต่หากรัฐยังยืนยันให้ได้แค่ 7 ปี ก็จะต้องเก็บเพิ่มถึง 1,800 บาทต่อไร่ต่อเดือน สูงขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว ส่วนการสร้างคันกั้นน้ำคาดว่าจะกู้เงินประมาณ 600 ล้านบาท ระยะทางโดยรอบ 20 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแบบก่อสร้าง คาดว่าจะสรุปและดำเนินการก่อสร้างให้ได้ในเดือนก.พ.2555 เพื่อรองรับฤดูฝนใหม่
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (14 ธ.ค.) นวนครจะมีการทำความสะอาดโรงงาน โดยคาดว่าภายในเดือนม.ค.2555 โรงงานจะกลับมาเดินเครื่องผลิตได้ 50-70% และกลับมาผลิตได้ทั้งหมดประมาณ 227 แห่ง ในเดือนมี.ค.2555
นายวิทยา เลื่องลือยศ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางโรจนะได้ทำเรื่องขอกู้ไปยังธนาคารออมสินวงเงิน 2,000 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติวงเงินออกมา เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนจากรัฐบาลว่า ความสูงของเขื่อนคอนกรีตกั้นน้ำถาวรรอบนิคมฯ ควรจะมีความสูงเท่าใด รวมทั้งความชัดเจนในแผนการบริหารจัดการน้ำปีหน้าของรัฐบาล ซึ่งนักลงทุนในนิคมฯ ส่วนใหญ่ตอนนี้ต่างต้องการความชัดเจนให้ได้ก่อนเดือนก.พ.2555 เพื่อพิจารณาการตัดสินใจลงทุน
นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฟื้นฟูเขตอุตสาหกรรมแฟคทอรี่ แลนด์ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปว่าจะยื่นขอกู้เงินเพื่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรรอบนิคมฯ จากธนาคารออมสินวงเงินเท่าไร แต่ยอมรับว่าเบื้องต้นมีกฎระเบียบและเงื่อนไขในการขอกู้มาก ทำให้ขั้นตอนการกู้เงินลำบาก
นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสวนอุตสาหกรรมนวนคร เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลอนุมัติเงิน 15,000 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการนิคมอุตสหกรรมสร้างคันกั้นน้ำถาวรจากธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ย 0.01% ระยะเวลา 7 ปี ขณะนี้นวนครได้ยื่นขอกู้ไปแล้ว แต่ปรากฏว่าติดเงื่อนไขหลายด้าน โดยเฉพาะธนาคารออมสินต้องการให้โรงงานอุตสหากรรมทุกแห่งในนิคมฯ เข้ามาเซ็นสัญญาค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ด้วย เพื่อป้องกันกรณีที่ผู้พัฒนาไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็ให้โรงงานรับใช้หนี้แทน
“ได้คุยกับออมสิน ซึ่งประเด็นการคืนเงินกู้ จะต้องมีการไปชาร์จค่าส่วนกลางเพิ่มจากโรงงาน เพื่อชำระหนี้ จึงต้องการให้โรงงานเซ็นสัญญาเพื่อประกันจ่ายคืน โดยโรงงานจะมาเซ็นทุกแห่งเป็นไปได้ยาก เพราะต้องขออนุมัติจากบริษัทแม่ในต่างประเทศก่อน และยังเป็นภาระเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันน้ำท่วมครั้งนี้ เอกชนมองว่าไม่ได้เกิดจากความผิดจากตัวเอกชน แต่เพราะรัฐบาลบริหารจัดการน้ำผิดพลาด รัฐบาลเองควรร่วมรับผิดชอบ ซึ่งผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการต่างๆ จะเข้าไปหารือกับรัฐบาลเพื่อให้ช่วยเหลือในเรื่องนี้ รวมทั้งขอให้มีการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ออกไปเป็น 15 ปี จาก 7 ปีด้วย”นายนิพิฐกล่าว
ทั้งนี้ หากลงทุนสร้างคันกั้นน้ำถาวร คาดว่าสวนอุตสาหกรรมนวนครจะต้องเก็บค่าส่วนกลางจากโรงงานเพิ่มอีก 900 บาทต่อไร่ต่อเดือน จากปัจจุบันเก็บเพียง 600 บาทต่อไร่ต่อเดือน เพื่อชำระหนี้ 15 ปี แต่หากรัฐยังยืนยันให้ได้แค่ 7 ปี ก็จะต้องเก็บเพิ่มถึง 1,800 บาทต่อไร่ต่อเดือน สูงขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว ส่วนการสร้างคันกั้นน้ำคาดว่าจะกู้เงินประมาณ 600 ล้านบาท ระยะทางโดยรอบ 20 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแบบก่อสร้าง คาดว่าจะสรุปและดำเนินการก่อสร้างให้ได้ในเดือนก.พ.2555 เพื่อรองรับฤดูฝนใหม่
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (14 ธ.ค.) นวนครจะมีการทำความสะอาดโรงงาน โดยคาดว่าภายในเดือนม.ค.2555 โรงงานจะกลับมาเดินเครื่องผลิตได้ 50-70% และกลับมาผลิตได้ทั้งหมดประมาณ 227 แห่ง ในเดือนมี.ค.2555
นายวิทยา เลื่องลือยศ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางโรจนะได้ทำเรื่องขอกู้ไปยังธนาคารออมสินวงเงิน 2,000 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติวงเงินออกมา เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนจากรัฐบาลว่า ความสูงของเขื่อนคอนกรีตกั้นน้ำถาวรรอบนิคมฯ ควรจะมีความสูงเท่าใด รวมทั้งความชัดเจนในแผนการบริหารจัดการน้ำปีหน้าของรัฐบาล ซึ่งนักลงทุนในนิคมฯ ส่วนใหญ่ตอนนี้ต่างต้องการความชัดเจนให้ได้ก่อนเดือนก.พ.2555 เพื่อพิจารณาการตัดสินใจลงทุน
นายชัยยง กฤตผลชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฟื้นฟูเขตอุตสาหกรรมแฟคทอรี่ แลนด์ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปว่าจะยื่นขอกู้เงินเพื่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรรอบนิคมฯ จากธนาคารออมสินวงเงินเท่าไร แต่ยอมรับว่าเบื้องต้นมีกฎระเบียบและเงื่อนไขในการขอกู้มาก ทำให้ขั้นตอนการกู้เงินลำบาก