xs
xsm
sm
md
lg

สรุปความเสียหายท่อก๊าซ ปตท. พรุ่งนี้ ห่วงน้ำมันเตา-ซีเอ็นจี ดันต้นทุนค่าไฟ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้บริหาร ปตท. คาดได้ข้อสรุปความเสียหายท่อก๊าซรั่วพรุ่งนี้ ยันไม่กระทบผลิตไฟฟ้า เตรียมหารือประกันภัย และผู้รับเหมา เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบ ขณะที่ผู้ว่าฯ กฟผ. เชื่อค่าไฟแพงขึ้น เพราะต้องเปลี่ยนใช้เชื่อเพลิง "น้ำมันเตา-ก๊าซซีเอ็นจี" ที่มีต้นทุนสูงกว่า แต่จะนานเท่าไร ขึ้นอยู่กับ ปตท. จะใช้เวลาซ่อมท่อนานหรือไม่ และจัดส่งก๊าซได้ตามปกติเมื่อใด

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT คาดว่าภายในพรุ่งนี้ บริษัทได้จะได้ข้อสรุปความเสียหายจากเหตุการณ์การรั่วของก๊าซในท่อก๊าซเส้นที่ 1 ในอ่าวไทย โดยท่อก๊าซดังกล่าวเชื่อมระหว่าง แหล่งปลาทอง ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 นิ้ว จากท่อก๊าซเส้นที่ 1 ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 34 นิ้ว โดยระหว่างนี้กำลังตรวจสอบว่า วาล์วจากท่อแหล่งปลาทองไปยังท่อก๊าซเส้นที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่

ขณะที่บริษัทได้ปิดการจ่ายก๊าซ ในท่อก๊าซเส้นที่ 1 ทำให้ปริมาณหายไป 600 ล้านลูกบากศ์กฟุตต่อวัน จากปริมาณการจ่ายปกติ 800 ล้านลูกบาศก์กฟุตต่อวัน ส่วนอีกปริมาณ 200 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน ได้ย้ายไปใช้ท่อก๊าซเส้นที่ 3 แทน

ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่กระทบกับการผลิตไฟฟ้า ซึ่งบริษัทได้นำแหล่งพลังงานอื่นเข้ามาชดเชย ทั้งน้ำมันเตา และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เข้ามาผลิตไฟฟ้า โดยบริษัทอยู่ระหว่างหารือร่วมกับบริษัทประกันภัย และผู้รับเหมา เพื่อพิจารณาว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว

ด้านนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตนเองได้สั่งการให้ ปตท. ประสานงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการจัดส่งเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซที่หายไปจากระบบ ประมาณ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กระทบต่อกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 3,000 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 4-5 โรงไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลนไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ กฟผ.ยอมรับว่า จะกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มจากการใช้เชื้อเพลิงอื่นที่แพงกว่า ทั้งน้ำมันเตา หรือก๊าซแอลเอ็นจี ส่วนจะใช้มาก หรือน้อยในการผลิตไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับ ปตท.ว่า จะใช้เวลาซ่อมท่อก๊าซ และจัดส่งก๊าซได้ตามปกติเมื่อใด

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพลังงาน ยังเห็นว่า ในอนาคตหากไทยมีการกระจายไปใช้พลังงานเชื้อเพลิงชนิดอื่นในการผลิตไฟฟ้า แทนการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ผลกระทบต่างๆ จะลดลง ซึ่งปัจจุบันไทยต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าถึง 70%
กำลังโหลดความคิดเห็น