ASTVผู้จัดการรายวัน- ถกแก้ท่อก๊าซฯอ่าวไทยรั่วยังไม่คืบ”ปตท.”ส่งนักประดาน้ำลงสำรวจวันนี้ คาด 2-3 สัปดาห์ตรวจสอบความเสียหายทั้งหมดได้ กฟผ.ประเมินเบื้องต้นใช้เวลาซ่อมเป็นเดือน กางมาตรการบริหารทั้งเพิ่มใช้แอลเอ็นจี ดึงน้ำมันเตาเสริม 9 -10 ล้านลิตรต่อวัน หยุดโรงแยกก๊าซฯ5ชั่วคราวฯลฯ ยันไฟไม่ขาดแต่คนรับผิดชอบยังไม่รู้ว่าเป็นใคร”ปตท.”โบ้ยต้องดูสัญญาผู้รับเหมาวางท่อกับบ.ประกัน
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารเชื้อเพลิงวานนี้(27มิ.ย.) ถึงกรณีปัญหาท่อก๊าซอ่าวไทยรั่วว่า จะใช้เวลาในการตรวจสอบความเสียหายของท่อก๊าซฯรั่วได้ภายใน 2 -3สัปดาห์ โดยขณะนี้บมจ.ปตท.ได้ส่งเครื่องสำรวจใต้น้ำด้วยระบบรีโมทคอนโทรลแต่มีทรายฟุ้งกระจายเห็นไม่ชัดและวันนี้(28มิ.ย.)จะส่งนักประดาน้ำลงไปดูคงจะรู้ผลชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะเร่งแก้ไขเพื่อไม่ให้ไฟฟ้าดับได้อย่างแน่นอนส่วนความรับผิดชอบว่าจะตกอยู่ที่ใครยังไม่หารือกันขณะนี้ และจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งวันที่ 29 มิ.ย.นี้
สำหรับปัญหาเกิดขึ้นจากเรือที่ไปวางท่อได้วางสมอลงไปเกี่ยวท่อบริเวณ ท่อก๊าซต่อเชื่อมระหว่างท่อประธานในทะเลขนาด 34 นิ้ว (ท่อเส้นที่ 1) กับท่อย่อยขนาด 24 นิ้ว ที่ส่งก๊าซมาจากแหล่งปลาทองเมื่อวันที่ 25 ช่วงเวลาบ่ายสามจึงได้หยุดจ่ายก๊าซฯแต่ได้ผันส่วนหนึ่งไปยังเส้นที่ 2 และ 3 ทำให้ผลกระทบต่อก๊าซฯที่หายไปจริง 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันดังนั้นจึงมอบหมายให้ปตท.เร่งจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากขณะนี้ส่งเข้าระบบ 140 ล้านลบ.ฟุตต่อวันเพิ่มอีก 160 ล้านลบ.ฟุตต่อวันเป็น 300 ล้านลบ.ฟุตต่อวันโดยให้ปตท.ไปเร่งจัดหาแอลเอ็นจีนำเข้าในตลาดจรเพิ่มอีก 1 ลำประมาณ 6 หมื่นตันต่อวันเป็นการเร่งด่วนจากเดิมที่จะทะยอยนำเข้าอยู่แล้วในวันที่ 29 มิ.ย.รวม 3 ลำ ขนาด 1.8-2 แสนตัน
นอกจากนี้ปตท.จะหยุดซ่อมโรงแยกก๊าซฯแห่งที่ 5 จากเดิมที่หยุดซ่อมและจะกลับมาเปิดช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาก็หยุดไปก่อน ขณะเดียวกันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จะบริหารด้วยการเลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี บริหารใช้น้ำมันเตา 9-10 ล้านลิตรต่อวันที่โรงไฟฟ้าบางปะกงและพระนครใต้โดยกรมธุรกิจพลังงานจะออกประกาศห้ามส่งออกน้ำมันเตาเนื่องจากโรงกลั่นบมจ.บางจากเป็นแห่งเดียวที่ส่งออกน้ำมันเตาซึ่งจะใช้ได้กับพระนรคใต้คาดว่าจะเริ่มทยอยส่งในวันที่ 11 ก.ค.และสามารถใช้น้ำมันเตากำมะถัน 2% ได้
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า จากสถานการณ์ท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ทำให้ความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติมีปริมาณลดลงประมาณ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่กระทบต่อการจัดส่งก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ กฟผ. ประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ระหว่างที่ ปตท. เร่งดำเนินการซ่อม คาดว่าจะใช้เวลา ประมาณ 1 เดือน กฟผ. ได้เตรียมแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น เพิ่มการผลิตโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากโรงไฟฟ้าเขื่อนน้ำเทิน 2 น้ำงึม 2 และเขื่อนรัชชประภา ประสานงานโรงไฟฟ้า SPP ที่ไม่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ให้ผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มที่ นำเข้าน้ำมันเตา 0.5 % จำนวน 30 ล้านลิตรให้โรงไฟฟ้าบางปะกง และจัดส่งน้ำมันเตาให้โรงไฟฟ้ากระบี่อย่างต่อเนื่องเป็นต้น
“ ขณะนี้ไทยได้พึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากถึง 70 % ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงในระบบไฟฟ้า จึงควรมีการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าอย่างหลากหลาย และเหมาะสม เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยลง”นายสุทัศน์กล่าว
****วันนี้รู้ความเสียหาย
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.กล่าวว่า วันนี้ (28มิ.ย.)ปตท.จะทราบความเสียหายจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยรั่ว และจะใช้ระยะเวลาในการซ่อมแซมท่อก๊าซฯนานเท่าใด ซึ่งขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการตรวจสอบวาล์วที่เชื่อมท่อก๊าซฯทั้ง 2 เส้นว่ามีความเสียหายหรือไม่ หากพบว่าวาล์วไม่ได้รับความเสียหาย ก็จะปิดวาล์วที่เชื่อมท่อย่อย 24 นิ้ว เพื่อให้ท่อประธาน 1 ส่งก๊าซฯได้ตามปกติ ทำให้ปริมาณก๊าซฯหายไป 100 กว่าล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และการซ่อมแซมทำได้เร็ว แต่หากวาล์วได้รับความเสียหายก็จะใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้
“ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อส่งก๊าซฯ ที่รั่ว คงต้องไปดูในแง่สัญญาว่าจะดำเนินการเอาผิดอย่างไรกับผู้รับเหมา และบริษัทประกันภัยที่ปตท.ทำประกันเอาไว้ โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากเรือขนส่งอุปกรณ์ของบริษัท ฮุนได ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างของ ปตท. ที่ดำเนินการสร้างท่อก๊าซฯ เชื่อมระหว่างแหล่งปลาทองกับท่อก๊าซฯ เส้นที่ 3 มีการวางสมอเรือผิดพลาด ส่วนผลกระทบค่าไฟเรื่องนี้ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานคงจ้ะองไปตรวจสอบ”นายประเสริฐกล่าว
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า กรณีท่อก๊าซของ ปตท.รั่วไหล ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิด แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานของท่อก๊าซ ปตท.มีปัญหาแล้วแน่นอน แต่บริษัทผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐไทยกลับพยายามออกมาปกป้องความผิดพลาด ทั้งนี้ความจริงก็คือก๊าซธรรมชาติมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในรูปก๊าซพิษหลายชนิด เช่น ก๊าซมีเทน (CH4) อีเทน(C2H6) ฯล เรื่องดังกล่าวสมาคมฯ จะรวบรวมจัดส่งให้ศาลปกครองใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาในคดีที่สมาคมฯร่วมกับชาวเกาะสมุย เกาะพะงันและเกาะเต่า ฟ้องเพิกถอนแท่นสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยทั้งหมดต่อศาลปกครองกลางด้วย
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารเชื้อเพลิงวานนี้(27มิ.ย.) ถึงกรณีปัญหาท่อก๊าซอ่าวไทยรั่วว่า จะใช้เวลาในการตรวจสอบความเสียหายของท่อก๊าซฯรั่วได้ภายใน 2 -3สัปดาห์ โดยขณะนี้บมจ.ปตท.ได้ส่งเครื่องสำรวจใต้น้ำด้วยระบบรีโมทคอนโทรลแต่มีทรายฟุ้งกระจายเห็นไม่ชัดและวันนี้(28มิ.ย.)จะส่งนักประดาน้ำลงไปดูคงจะรู้ผลชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะเร่งแก้ไขเพื่อไม่ให้ไฟฟ้าดับได้อย่างแน่นอนส่วนความรับผิดชอบว่าจะตกอยู่ที่ใครยังไม่หารือกันขณะนี้ และจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งวันที่ 29 มิ.ย.นี้
สำหรับปัญหาเกิดขึ้นจากเรือที่ไปวางท่อได้วางสมอลงไปเกี่ยวท่อบริเวณ ท่อก๊าซต่อเชื่อมระหว่างท่อประธานในทะเลขนาด 34 นิ้ว (ท่อเส้นที่ 1) กับท่อย่อยขนาด 24 นิ้ว ที่ส่งก๊าซมาจากแหล่งปลาทองเมื่อวันที่ 25 ช่วงเวลาบ่ายสามจึงได้หยุดจ่ายก๊าซฯแต่ได้ผันส่วนหนึ่งไปยังเส้นที่ 2 และ 3 ทำให้ผลกระทบต่อก๊าซฯที่หายไปจริง 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันดังนั้นจึงมอบหมายให้ปตท.เร่งจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากขณะนี้ส่งเข้าระบบ 140 ล้านลบ.ฟุตต่อวันเพิ่มอีก 160 ล้านลบ.ฟุตต่อวันเป็น 300 ล้านลบ.ฟุตต่อวันโดยให้ปตท.ไปเร่งจัดหาแอลเอ็นจีนำเข้าในตลาดจรเพิ่มอีก 1 ลำประมาณ 6 หมื่นตันต่อวันเป็นการเร่งด่วนจากเดิมที่จะทะยอยนำเข้าอยู่แล้วในวันที่ 29 มิ.ย.รวม 3 ลำ ขนาด 1.8-2 แสนตัน
นอกจากนี้ปตท.จะหยุดซ่อมโรงแยกก๊าซฯแห่งที่ 5 จากเดิมที่หยุดซ่อมและจะกลับมาเปิดช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาก็หยุดไปก่อน ขณะเดียวกันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จะบริหารด้วยการเลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี บริหารใช้น้ำมันเตา 9-10 ล้านลิตรต่อวันที่โรงไฟฟ้าบางปะกงและพระนครใต้โดยกรมธุรกิจพลังงานจะออกประกาศห้ามส่งออกน้ำมันเตาเนื่องจากโรงกลั่นบมจ.บางจากเป็นแห่งเดียวที่ส่งออกน้ำมันเตาซึ่งจะใช้ได้กับพระนรคใต้คาดว่าจะเริ่มทยอยส่งในวันที่ 11 ก.ค.และสามารถใช้น้ำมันเตากำมะถัน 2% ได้
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า จากสถานการณ์ท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ทำให้ความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติมีปริมาณลดลงประมาณ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่กระทบต่อการจัดส่งก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ กฟผ. ประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ระหว่างที่ ปตท. เร่งดำเนินการซ่อม คาดว่าจะใช้เวลา ประมาณ 1 เดือน กฟผ. ได้เตรียมแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น เพิ่มการผลิตโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากโรงไฟฟ้าเขื่อนน้ำเทิน 2 น้ำงึม 2 และเขื่อนรัชชประภา ประสานงานโรงไฟฟ้า SPP ที่ไม่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ให้ผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มที่ นำเข้าน้ำมันเตา 0.5 % จำนวน 30 ล้านลิตรให้โรงไฟฟ้าบางปะกง และจัดส่งน้ำมันเตาให้โรงไฟฟ้ากระบี่อย่างต่อเนื่องเป็นต้น
“ ขณะนี้ไทยได้พึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากถึง 70 % ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงในระบบไฟฟ้า จึงควรมีการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าอย่างหลากหลาย และเหมาะสม เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยลง”นายสุทัศน์กล่าว
****วันนี้รู้ความเสียหาย
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.กล่าวว่า วันนี้ (28มิ.ย.)ปตท.จะทราบความเสียหายจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยรั่ว และจะใช้ระยะเวลาในการซ่อมแซมท่อก๊าซฯนานเท่าใด ซึ่งขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการตรวจสอบวาล์วที่เชื่อมท่อก๊าซฯทั้ง 2 เส้นว่ามีความเสียหายหรือไม่ หากพบว่าวาล์วไม่ได้รับความเสียหาย ก็จะปิดวาล์วที่เชื่อมท่อย่อย 24 นิ้ว เพื่อให้ท่อประธาน 1 ส่งก๊าซฯได้ตามปกติ ทำให้ปริมาณก๊าซฯหายไป 100 กว่าล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และการซ่อมแซมทำได้เร็ว แต่หากวาล์วได้รับความเสียหายก็จะใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้
“ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อส่งก๊าซฯ ที่รั่ว คงต้องไปดูในแง่สัญญาว่าจะดำเนินการเอาผิดอย่างไรกับผู้รับเหมา และบริษัทประกันภัยที่ปตท.ทำประกันเอาไว้ โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากเรือขนส่งอุปกรณ์ของบริษัท ฮุนได ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างของ ปตท. ที่ดำเนินการสร้างท่อก๊าซฯ เชื่อมระหว่างแหล่งปลาทองกับท่อก๊าซฯ เส้นที่ 3 มีการวางสมอเรือผิดพลาด ส่วนผลกระทบค่าไฟเรื่องนี้ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานคงจ้ะองไปตรวจสอบ”นายประเสริฐกล่าว
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า กรณีท่อก๊าซของ ปตท.รั่วไหล ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิด แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานของท่อก๊าซ ปตท.มีปัญหาแล้วแน่นอน แต่บริษัทผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐไทยกลับพยายามออกมาปกป้องความผิดพลาด ทั้งนี้ความจริงก็คือก๊าซธรรมชาติมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในรูปก๊าซพิษหลายชนิด เช่น ก๊าซมีเทน (CH4) อีเทน(C2H6) ฯล เรื่องดังกล่าวสมาคมฯ จะรวบรวมจัดส่งให้ศาลปกครองใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาในคดีที่สมาคมฯร่วมกับชาวเกาะสมุย เกาะพะงันและเกาะเต่า ฟ้องเพิกถอนแท่นสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยทั้งหมดต่อศาลปกครองกลางด้วย