สินค้าดาหน้าขึ้นราคา อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ สินค้าเกษตร พุ่งพรวด ดันเงินเฟ้อ ม.ค.53 ทะยาน 4.1% พาณิชย์เชื่อไตรมาสแรกยังพุ่งต่อ แต่หลังจากนั้นทยอยลด ฟุ้งเศรษฐกิจฟื้นแล้ว กำลังซื้อคืนชีพ
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(เงินเฟ้อ) เดือน ม.ค.53 ว่า เท่ากับ 106.29 เพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบกับดัชนีเดือน ม.ค.52 เป็นการเพิ่ม 4 เดือนติดต่อกัน ส่วนเมื่อเทียบดัชนีเดือนธ.ค.52 เพิ่มขึ้น 0.6% แสดงว่าทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจนโดยเฉพาะกำลังซื้อประชาชนที่เริ่มกลับมาเป็นบวกแล้ว
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อม.ค.53สูงขึ้น 4.1% มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่ม 3.2% สินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มได้แก่ ข้าวและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่สัตว์น้ำเพิ่ม ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม อาหารสำเร็จรูป รวมถึงดัชนีหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ได้แก่ ยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง กระแสไฟฟ้า น้ำประปา ค่ายาเวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาลผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกฮอล์
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเทียบกับเดือน ธ.ค.52 เพิ่มขึ้น มาจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 0.5% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ข้าว เนื้อสุกร ผัก ผลไม้ ไก่สด เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ อาหารสำเร็จรูป มีเพียงไข่ไก่เท่านั้นที่ราคาลด ขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่ม 0.7%โดยเฉพาะราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่สูงขึ้น ประกอบกับรัฐบาลลดมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ทำให้ค่าน้ำประปาเพิ่ม เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภค และรถยนต์
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจน ตัวเลขการบริโภคในประเทศก็เพิ่มขึ้น แสดงว่าความต้องการและกำลังซื้อของผู้บริโภคมีมากโดยสาเหตุที่ทำให้กำลังซื้อฟื้น มาจากการฟื้นตัวของการส่งออกทำให้ภาคการผลิตและการจ้างงานดีขึ้น อัตราการว่างงานเดือน พ.ย.ลดลงต่ำสุด นับจากเผชิญวิกฤตมาประกอบกับรายได้จากภาคเกษตรก็เพิ่มขึ้น จากการที่ขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น
นายยรรยง กล่าวว่า เป้าหมายเงินเฟ้อปี 53 จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้ขยายตัว 3-3.5% โดยคาด ไตรมาสแรกจะขยายตัว 3.7% ส่วนไตรมาสต่อๆ ไปจะแผ่วลงภายใต้สมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 31 -33 บาทต่อเหรียญฯ และรัฐบาลต่อมาตรการลดภาระค่าครองชีพโดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมัน
ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักกลุ่มอาหารสดและพลังงานเดือน ม.ค.53 เท่ากับ103.03 สูงขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับ ม.ค.52 และเพิ่มสูงขึ้น 0.2%เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.52 โดยราคาสินค้าสูงขึ้นและลดลงใกล้เคียงกันสินค้าที่ราคาเพิ่ม เช่น ค่าน้ำประปา ของใช้ส่วนบุคคล สินค้าราคาลดลง ได้แก่ค่าอุปกรณ์บันเทิง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นายยรรยง กล่าวถึงแนวโน้มราคาสินค้าว่า สินค้าเกษตรมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะผลผลิตลดลงจากปัญหาเพลี้ยกระโดด และภัยแล้งขณะที่กลุ่มวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบโลก เช่น เหล็กอิฐมอญ ยกเว้นปูนซีเมนต์ที่ราคาลดลง โดยปูนผสมขนาด 50 กก. ลดจากถุงละ 135บาท เหลือ 132 บาท ปุ๋ย ถุง (50 กก.) ลดจาก 835 บาท เหลือ 827 บาทส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอกน้ำยาล้างจาน จะยังตรึงราคาต่อไปตลอดไตรมาสแรก
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(เงินเฟ้อ) เดือน ม.ค.53 ว่า เท่ากับ 106.29 เพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบกับดัชนีเดือน ม.ค.52 เป็นการเพิ่ม 4 เดือนติดต่อกัน ส่วนเมื่อเทียบดัชนีเดือนธ.ค.52 เพิ่มขึ้น 0.6% แสดงว่าทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจนโดยเฉพาะกำลังซื้อประชาชนที่เริ่มกลับมาเป็นบวกแล้ว
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อม.ค.53สูงขึ้น 4.1% มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่ม 3.2% สินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มได้แก่ ข้าวและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่สัตว์น้ำเพิ่ม ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม อาหารสำเร็จรูป รวมถึงดัชนีหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ได้แก่ ยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง กระแสไฟฟ้า น้ำประปา ค่ายาเวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาลผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกฮอล์
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเทียบกับเดือน ธ.ค.52 เพิ่มขึ้น มาจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 0.5% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ข้าว เนื้อสุกร ผัก ผลไม้ ไก่สด เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ อาหารสำเร็จรูป มีเพียงไข่ไก่เท่านั้นที่ราคาลด ขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่ม 0.7%โดยเฉพาะราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่สูงขึ้น ประกอบกับรัฐบาลลดมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ทำให้ค่าน้ำประปาเพิ่ม เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภค และรถยนต์
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจน ตัวเลขการบริโภคในประเทศก็เพิ่มขึ้น แสดงว่าความต้องการและกำลังซื้อของผู้บริโภคมีมากโดยสาเหตุที่ทำให้กำลังซื้อฟื้น มาจากการฟื้นตัวของการส่งออกทำให้ภาคการผลิตและการจ้างงานดีขึ้น อัตราการว่างงานเดือน พ.ย.ลดลงต่ำสุด นับจากเผชิญวิกฤตมาประกอบกับรายได้จากภาคเกษตรก็เพิ่มขึ้น จากการที่ขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น
นายยรรยง กล่าวว่า เป้าหมายเงินเฟ้อปี 53 จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้ขยายตัว 3-3.5% โดยคาด ไตรมาสแรกจะขยายตัว 3.7% ส่วนไตรมาสต่อๆ ไปจะแผ่วลงภายใต้สมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 31 -33 บาทต่อเหรียญฯ และรัฐบาลต่อมาตรการลดภาระค่าครองชีพโดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมัน
ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักกลุ่มอาหารสดและพลังงานเดือน ม.ค.53 เท่ากับ103.03 สูงขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับ ม.ค.52 และเพิ่มสูงขึ้น 0.2%เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.52 โดยราคาสินค้าสูงขึ้นและลดลงใกล้เคียงกันสินค้าที่ราคาเพิ่ม เช่น ค่าน้ำประปา ของใช้ส่วนบุคคล สินค้าราคาลดลง ได้แก่ค่าอุปกรณ์บันเทิง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นายยรรยง กล่าวถึงแนวโน้มราคาสินค้าว่า สินค้าเกษตรมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะผลผลิตลดลงจากปัญหาเพลี้ยกระโดด และภัยแล้งขณะที่กลุ่มวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบโลก เช่น เหล็กอิฐมอญ ยกเว้นปูนซีเมนต์ที่ราคาลดลง โดยปูนผสมขนาด 50 กก. ลดจากถุงละ 135บาท เหลือ 132 บาท ปุ๋ย ถุง (50 กก.) ลดจาก 835 บาท เหลือ 827 บาทส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอกน้ำยาล้างจาน จะยังตรึงราคาต่อไปตลอดไตรมาสแรก