สินค้าราคาขยับรับเศรษฐกิจฟื้นตัว ดันเงินเฟ้อต.ค.พุ่ง 0.4% สูงสุดในรอบ 10 เดือน เผยอาหารสำเร็จรูป เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ของใช้ส่วนบุคคลนำทีม “พาณิชย์”คาดไตรมาส 4 เงินเฟ้อขยับต่อ ส่วนปีหน้าตั้งเป้าเงินเฟ้อโต 3.3%
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนต.ค.2552 ที่สำรวจจากสินค้าและบริการจำนวน 417 รายการ เท่ากับ 105.5 เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2551 เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบใน 10 เดือน นับจากเดือนธ.ค.2551 ส่วนเมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2552 สูงขึ้น 0.2% แต่ยอดเฉลี่ย 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 1.5%
“การปรับขึ้นของเงินเฟ้อสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศ จนทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในการใช้จ่ายอีกครั้ง และคาดว่าแนวโน้มเงินเฟ้อไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะปรับขึ้นเฉลี่ย 1.5% โดยเดือน พ.ย.เพิ่มขึ้น 1.4% และเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 2-3% ทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ติดลบ 0.9% ตามกรอบประมาณการณ์ที่กระทรวงพาณิชย์คาดไว้ว่าจะติดลบ 1 ถึง 0%”นายยรรยงกล่าว
สาเหตุที่เงินเฟ้อปรับเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มาจากการปรับขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.6% โดยมีรายการสำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่ม 4% ผักและผลไม้ 5.4% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 2.9% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2% อาหารสำเร็จรูป 0.5% มีเพียงข้าวและผลิตภัณฑ์ทำจากแป้งลดลง 0.5% และเครื่องประกอบอาหารลด 1.2%
ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มก็ปรับเพิ่มเช่นกัน ได้แก่ ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 13.6% ค่าไฟฟ้า น้ำประปา และวัสดุก่อสร้าง 3.5% ค่ายาเวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาล ค่าของใช้ส่วนบุคคล 1.1% มีเพียงกลุ่มเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลง 3.4% การขนส่งและการสื่อสารลดลง 4.1% และหมวดการบันเทิงการศึกษาและการศาสนาลดลง 10.2%
สำหรับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2552 มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 0.6% เพราะราคาอาหารหลายชนิดสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน เช่น ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว 1.2% เนื่องจากผู้ส่งออกเร่งส่งมอบข้าวไปยังต่างประเทศ ผักและผลไม้ เช่น คะน้า ผักกาดขาว เห็ด กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักชี มะนาว มะม่วง และแตงโมเพิ่มขึ้น 4.2% เพราะตรงกับเทศกาลกินเจและเกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ ไก่สดเพิ่ม 0.8% อาหารสำเร็จรูปเพิ่ม 0.4% และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์เพิ่ม 0.2% มีเพียงไข่ไก่ลดลง 4.8% เนื้อสุกรลด 0.4% ปลาและสัตว์น้ำลด 0.2% เพราะตรงกับช่วงกินเจ
ด้านดัชนีหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.1% มาจากน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ 1.2% วัสดุก่อสร้าง 0.4% โทรศัพท์มือถือ 0.3% และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 0.5% ส่วนสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าโดยสารเพิ่ม 9% สบู่ ยาสีฟัน น้ำมันใส่ผม และครีมนวดผมเพิ่ม 0.1% แบตเตอรี่รถยนต์เพิ่ม 0.9% และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอลล์เพิ่ม 0.2%
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ หักกลุ่มอาหารสดและพลังงาน 117 รายการ เดือนต.ค.2552 เท่ากับ 102.7 ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับต.ค.2551 แต่สูงขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับก.ย.2552 ขณะที่ยอดเฉลี่ย 10 เดือน สูงขึ้น 0.3% สาเหตุจากมีราคาสินค้าที่สูงขึ้นและลดลงใกล้เคียงกัน โดยสินค้าที่มีราคาเพิ่ม เช่น ค่าโดยสาร แบตเตอรีรถยนตร์
และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอลล์ ส่วนสินค้าที่ลดลง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์การสื่อสาร
นายยรรยงกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2553 จะขยายตัวเป็นบวก 3.3% ภายใต้กรอบ 3.0-3.5% มีสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีมาตรการลดค่าครองชีพจากรัฐบาล
นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนม.ค.2553 กระทรวงฯ จะปรับวิธีประกาศตัวเลขเงินเฟ้อใหม่เป็นแบบทศนิยม 2 ตำแหน่ง จากเดิม 1 ตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์กับภาวะเศรษฐกิจ และสามารถนำไปคำนวณอ้างอิงภาวะเศรษฐกิจ การปรับฐานเงินเดือนของลูกจ้างแรงงาน
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนต.ค.2552 ที่สำรวจจากสินค้าและบริการจำนวน 417 รายการ เท่ากับ 105.5 เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2551 เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบใน 10 เดือน นับจากเดือนธ.ค.2551 ส่วนเมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2552 สูงขึ้น 0.2% แต่ยอดเฉลี่ย 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 1.5%
“การปรับขึ้นของเงินเฟ้อสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศ จนทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในการใช้จ่ายอีกครั้ง และคาดว่าแนวโน้มเงินเฟ้อไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะปรับขึ้นเฉลี่ย 1.5% โดยเดือน พ.ย.เพิ่มขึ้น 1.4% และเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 2-3% ทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ติดลบ 0.9% ตามกรอบประมาณการณ์ที่กระทรวงพาณิชย์คาดไว้ว่าจะติดลบ 1 ถึง 0%”นายยรรยงกล่าว
สาเหตุที่เงินเฟ้อปรับเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มาจากการปรับขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.6% โดยมีรายการสำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่ม 4% ผักและผลไม้ 5.4% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 2.9% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2% อาหารสำเร็จรูป 0.5% มีเพียงข้าวและผลิตภัณฑ์ทำจากแป้งลดลง 0.5% และเครื่องประกอบอาหารลด 1.2%
ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มก็ปรับเพิ่มเช่นกัน ได้แก่ ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 13.6% ค่าไฟฟ้า น้ำประปา และวัสดุก่อสร้าง 3.5% ค่ายาเวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาล ค่าของใช้ส่วนบุคคล 1.1% มีเพียงกลุ่มเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลง 3.4% การขนส่งและการสื่อสารลดลง 4.1% และหมวดการบันเทิงการศึกษาและการศาสนาลดลง 10.2%
สำหรับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2552 มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 0.6% เพราะราคาอาหารหลายชนิดสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน เช่น ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว 1.2% เนื่องจากผู้ส่งออกเร่งส่งมอบข้าวไปยังต่างประเทศ ผักและผลไม้ เช่น คะน้า ผักกาดขาว เห็ด กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักชี มะนาว มะม่วง และแตงโมเพิ่มขึ้น 4.2% เพราะตรงกับเทศกาลกินเจและเกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ ไก่สดเพิ่ม 0.8% อาหารสำเร็จรูปเพิ่ม 0.4% และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์เพิ่ม 0.2% มีเพียงไข่ไก่ลดลง 4.8% เนื้อสุกรลด 0.4% ปลาและสัตว์น้ำลด 0.2% เพราะตรงกับช่วงกินเจ
ด้านดัชนีหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.1% มาจากน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ 1.2% วัสดุก่อสร้าง 0.4% โทรศัพท์มือถือ 0.3% และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 0.5% ส่วนสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าโดยสารเพิ่ม 9% สบู่ ยาสีฟัน น้ำมันใส่ผม และครีมนวดผมเพิ่ม 0.1% แบตเตอรี่รถยนต์เพิ่ม 0.9% และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอลล์เพิ่ม 0.2%
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ หักกลุ่มอาหารสดและพลังงาน 117 รายการ เดือนต.ค.2552 เท่ากับ 102.7 ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับต.ค.2551 แต่สูงขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับก.ย.2552 ขณะที่ยอดเฉลี่ย 10 เดือน สูงขึ้น 0.3% สาเหตุจากมีราคาสินค้าที่สูงขึ้นและลดลงใกล้เคียงกัน โดยสินค้าที่มีราคาเพิ่ม เช่น ค่าโดยสาร แบตเตอรีรถยนตร์
และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอลล์ ส่วนสินค้าที่ลดลง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์การสื่อสาร
นายยรรยงกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2553 จะขยายตัวเป็นบวก 3.3% ภายใต้กรอบ 3.0-3.5% มีสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีมาตรการลดค่าครองชีพจากรัฐบาล
นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนม.ค.2553 กระทรวงฯ จะปรับวิธีประกาศตัวเลขเงินเฟ้อใหม่เป็นแบบทศนิยม 2 ตำแหน่ง จากเดิม 1 ตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์กับภาวะเศรษฐกิจ และสามารถนำไปคำนวณอ้างอิงภาวะเศรษฐกิจ การปรับฐานเงินเดือนของลูกจ้างแรงงาน