นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือเงินเฟ้อ ของประเทศเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552 ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วติดลบร้อยละ 4.4 ซึ่งเป็นการติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ในปีนี้ ส่วนเงินเฟ้อ 7 เดือนแรกปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 1.9
นายศิริพล กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 4.4 เนื่องจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารสาธารณะ รวมถึงหมวดบันเทิง การอ่าน การศึกษา และศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์ หมวดเคหะสถาน เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เช่น เครื่องแบบนักเรียน ขณะที่มีบางหมวดสินค้า ราคาเพิ่มขึ้น เช่น หมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเนื้อสุกร ไก่สด ปลา และสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ขณะที่สาเหตุที่เงินเฟ้อ 7 เดือนแรกลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า น้ำประปา หมวดเครื่องนุ่งห่ม
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า หลังจากเงินเฟ้อติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อ 5 เดือนหลังของปีนี้ยังมีแนวโน้มติดลบ ทำให้กระทรวงพาณิชย์ปรับประมาณการเงินเฟ้อปี 2552 ใหม่ จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 0-0.5 ตามสมมติฐานราคาน้ำมันเฉลี่ย 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 34-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่จากการที่รัฐบาลขยายเวลา 5 มาตรการลดค่าครองชีพจนถึงสิ้นปี ประกอบกับราคาน้ำมันโดย เฉลี่ยปรับขึ้น ทำให้เงินเฟ้อใหม่น่าจะติดลบร้อยละ 1-0 ภายใต้สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยน 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ น้ำมัน 60-70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนกรกฎาคมเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552 ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 1.2 ทำให้ช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
นายศิริพล กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 4.4 เนื่องจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าโดยสารสาธารณะ รวมถึงหมวดบันเทิง การอ่าน การศึกษา และศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์ หมวดเคหะสถาน เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เช่น เครื่องแบบนักเรียน ขณะที่มีบางหมวดสินค้า ราคาเพิ่มขึ้น เช่น หมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเนื้อสุกร ไก่สด ปลา และสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ขณะที่สาเหตุที่เงินเฟ้อ 7 เดือนแรกลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า น้ำประปา หมวดเครื่องนุ่งห่ม
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า หลังจากเงินเฟ้อติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อ 5 เดือนหลังของปีนี้ยังมีแนวโน้มติดลบ ทำให้กระทรวงพาณิชย์ปรับประมาณการเงินเฟ้อปี 2552 ใหม่ จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 0-0.5 ตามสมมติฐานราคาน้ำมันเฉลี่ย 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 34-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่จากการที่รัฐบาลขยายเวลา 5 มาตรการลดค่าครองชีพจนถึงสิ้นปี ประกอบกับราคาน้ำมันโดย เฉลี่ยปรับขึ้น ทำให้เงินเฟ้อใหม่น่าจะติดลบร้อยละ 1-0 ภายใต้สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยน 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ น้ำมัน 60-70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนกรกฎาคมเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2552 ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 1.2 ทำให้ช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5