ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อเดือนมิถุนายนติดลบ 4% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และยังต่ำสุดในรอบ 12 ปี ส่วนยอดรวม 6 เดือนแรก ติดลบ 1.6% กระทรวงพาณิชย์พลิ้ว ฉีกตำราเศรษฐศาสตร์ทิ้ง ยืนขาเดียว เงินไม่ฝืด เลี่ยงใช้แค่เงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง ยังมั่นใจยอดรวมทั้งปีจะกลับมาเป็นบวก 0-0.5% นักวิชาการให้จับตาเดือนต่อไป หากติดลบอีกส่อเงินฝืดแน่ แต่ยังหวังอัตราติดลบเดือนหน้าจะดีขึ้น เหตุความเชื่อมั่นธุรกิจดีขึ้น รัฐบาลเร่งใช้จ่ายงบประมาณ
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนมิ.ย.2552 เท่ากับ 104.7 ลดลง 4.0% เทียบกับเดือนมิ.ย.2551 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 6 และต่ำสุดนับหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 แต่เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2552 เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.4% ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อลดลง 4.0% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 9.4% สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 26.5% ค่าโดยสารสาธารณะ ลดลง 10.8% หมวดบันเทิงการศึกษา และการอ่าน (ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์) ลดลง 10% หมวดเคหสถาน (ค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปา) ลดลง 5%
ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.8% สินค้าที่ราคาลดลงมีเพียงรายการเดียว คือ ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์ ลดลง 8.3% นอกนั้นราคาสูงขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้น 7.3% ไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้น 5.4% ผักและผลไม้สูงขึ้น 8.9% เครื่องประกอบอาหารสูงขึ้น 0.4% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 3.8% อาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้น 2.0% อาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้น 1.6%
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อกับเดือนพ.ค. สูงขึ้น 0.4% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.0% เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้น ตามภาวะน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมทั้งรัฐบาลได้ลดการสนับสนุนมาตรการให้เงินอุดหนุนสาธารณูปโภคลงในพื้นที่บางจังหวัด และการปรับตัวสูงขึ้นของบุหรี่และสุรา จากการขึ้นภาษีสรรพสามิตของรัฐบาล ส่วนดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.4%
นายศิริพลกล่าวว่า แม้เงินเฟ้อมิ.ย.จะติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน แต่ยังไม่ถือว่าเป็นภาวะเงินฝืด หรือ Deflation เป็นเพียงภาวะเงินเฟ้อลดลงเรื่อยๆ หรือ Disinflation เพราะเงินเฟ้อที่ลดลง เป็นผลจากราคาน้ำมันในปีนี้ต่ำกว่าปีก่อนมาก และรัฐบาทต่อระยะเวลา 6 มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน แต่ราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังมีราคาสูงขึ้น ทางเทคนิคจึงเรียกว่าเป็นภาวะ Disinflation มากกว่าซึ่งไม่น่ากังวล ถือว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์ เพราะมีเงินจับจ่ายใช้สอยถูกลง
“หากเป็นภาวะเงินฝืด ราคาสินค้าส่วนใหญ่จะต้องปรับตัวลดลงหมด แต่ภาวะนี้ยังไม่ใช่ เพราะมีสินค้าบางส่วนราคาสูงขึ้น มีเพียงน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมาก ซึ่งเป็นเพราะภาวะฐานปีก่อนที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก ซึ่งการที่นักวิชาการวิเคราะห์ว่าเงินเฟ้อลดติดต่อกัน 6 เดือน เป็นภาวะเงินฝืดนั้น ไม่ได้ดูข้อเท็จจริงทั้งหมด”นายศิริพลกล่าว
นายศิริพลกล่าวว่า เงินเฟ้อครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มสูงขึ้น จากราคาน้ำมันภายในประเทศสูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่า 34 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้การนำเข้าสินค้าในแง่เงินบาทสูงขึ้น รวมถึงมาตรการที่รัฐบาลนำมาช่วยเหลือประชาชนเริ่มหมดระยะเวลา ทำให้เงินเฟ้อทั้งปียังคาดการณ์อยู่ในกรอบ 0.-0.5% ภายใต้สมมุติฐาน ราคาน้ำมันดิบ 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 35-36 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อทั้งปีจะต่ำกว่ากรอบ ภายใต้ปัจจัยราคาน้ำมันลดลงมากกว่าระดับสมมุติฐาน หรือมีการเพิ่มมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านค่าครองชีพเข้ามาใช้ในช่วงครึ่งปีหลัง
สำหรับด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ เดือนมิ.ย.2552 เท่ากับ 102.5 ลดลง 1.0% เทียบเดือนมิ.ย. 2551 แต่สูงขึ้น 0.2% เทียบกับเดือนพ.ค. 2552 เฉลี่ย 6 เดือน สูงขึ้น 0.7% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2552
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้องจับตาเงินเฟ้อพื้นฐานหลังจากนี้ไปว่าจะติดลบต่อเนื่องเกิน 6 เดือนหรือไม่ เพราะหลักการเกิดเงินฝืด เงินเฟ้อพื้นฐานต้องติดลบมากกว่า 6 เดือน แต่เชื่อว่าการติดลบของเงินเฟ้อในเดือนหน้าน่าจะดีขึ้น เพราะความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจดีขึ้น ขณะที่รัฐบาลเร่งใช้จ่ายงบประมาณแรงซื้อของประชาชนจะเพิ่มขึ้น
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนมิ.ย.2552 เท่ากับ 104.7 ลดลง 4.0% เทียบกับเดือนมิ.ย.2551 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 6 และต่ำสุดนับหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 แต่เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2552 เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.4% ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อลดลง 4.0% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 9.4% สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 26.5% ค่าโดยสารสาธารณะ ลดลง 10.8% หมวดบันเทิงการศึกษา และการอ่าน (ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์) ลดลง 10% หมวดเคหสถาน (ค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปา) ลดลง 5%
ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.8% สินค้าที่ราคาลดลงมีเพียงรายการเดียว คือ ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์ ลดลง 8.3% นอกนั้นราคาสูงขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้น 7.3% ไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้น 5.4% ผักและผลไม้สูงขึ้น 8.9% เครื่องประกอบอาหารสูงขึ้น 0.4% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 3.8% อาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้น 2.0% อาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้น 1.6%
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อกับเดือนพ.ค. สูงขึ้น 0.4% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.0% เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้น ตามภาวะน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมทั้งรัฐบาลได้ลดการสนับสนุนมาตรการให้เงินอุดหนุนสาธารณูปโภคลงในพื้นที่บางจังหวัด และการปรับตัวสูงขึ้นของบุหรี่และสุรา จากการขึ้นภาษีสรรพสามิตของรัฐบาล ส่วนดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.4%
นายศิริพลกล่าวว่า แม้เงินเฟ้อมิ.ย.จะติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน แต่ยังไม่ถือว่าเป็นภาวะเงินฝืด หรือ Deflation เป็นเพียงภาวะเงินเฟ้อลดลงเรื่อยๆ หรือ Disinflation เพราะเงินเฟ้อที่ลดลง เป็นผลจากราคาน้ำมันในปีนี้ต่ำกว่าปีก่อนมาก และรัฐบาทต่อระยะเวลา 6 มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน แต่ราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังมีราคาสูงขึ้น ทางเทคนิคจึงเรียกว่าเป็นภาวะ Disinflation มากกว่าซึ่งไม่น่ากังวล ถือว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์ เพราะมีเงินจับจ่ายใช้สอยถูกลง
“หากเป็นภาวะเงินฝืด ราคาสินค้าส่วนใหญ่จะต้องปรับตัวลดลงหมด แต่ภาวะนี้ยังไม่ใช่ เพราะมีสินค้าบางส่วนราคาสูงขึ้น มีเพียงน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมาก ซึ่งเป็นเพราะภาวะฐานปีก่อนที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก ซึ่งการที่นักวิชาการวิเคราะห์ว่าเงินเฟ้อลดติดต่อกัน 6 เดือน เป็นภาวะเงินฝืดนั้น ไม่ได้ดูข้อเท็จจริงทั้งหมด”นายศิริพลกล่าว
นายศิริพลกล่าวว่า เงินเฟ้อครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มสูงขึ้น จากราคาน้ำมันภายในประเทศสูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่า 34 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้การนำเข้าสินค้าในแง่เงินบาทสูงขึ้น รวมถึงมาตรการที่รัฐบาลนำมาช่วยเหลือประชาชนเริ่มหมดระยะเวลา ทำให้เงินเฟ้อทั้งปียังคาดการณ์อยู่ในกรอบ 0.-0.5% ภายใต้สมมุติฐาน ราคาน้ำมันดิบ 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 35-36 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อทั้งปีจะต่ำกว่ากรอบ ภายใต้ปัจจัยราคาน้ำมันลดลงมากกว่าระดับสมมุติฐาน หรือมีการเพิ่มมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านค่าครองชีพเข้ามาใช้ในช่วงครึ่งปีหลัง
สำหรับด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ เดือนมิ.ย.2552 เท่ากับ 102.5 ลดลง 1.0% เทียบเดือนมิ.ย. 2551 แต่สูงขึ้น 0.2% เทียบกับเดือนพ.ค. 2552 เฉลี่ย 6 เดือน สูงขึ้น 0.7% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2552
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้องจับตาเงินเฟ้อพื้นฐานหลังจากนี้ไปว่าจะติดลบต่อเนื่องเกิน 6 เดือนหรือไม่ เพราะหลักการเกิดเงินฝืด เงินเฟ้อพื้นฐานต้องติดลบมากกว่า 6 เดือน แต่เชื่อว่าการติดลบของเงินเฟ้อในเดือนหน้าน่าจะดีขึ้น เพราะความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจดีขึ้น ขณะที่รัฐบาลเร่งใช้จ่ายงบประมาณแรงซื้อของประชาชนจะเพิ่มขึ้น