ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อเดือนส.ค.ติดลบ 1% ลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 “ศิริพล”เผยการติดลบเริ่มน้อยลง และกำลังขยายตัวเป็นบวก เหตุราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด สินค้ามีแนวโน้มราคาขึ้น แต่คาดทั้งปีติดลบ 1% ถึง 0% เช่นเดิม เล็งเรียกเหล็กหารือสัปดาห์หน้า หลังมีแนวโน้มราคาขึ้นตามความต้องการใช้และต้นทุนเพิ่ม ปัดสินค้าใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบขึ้นราคา
ทั้งน้ำอัดลมและผลไม้กระป๋อง
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) ในเดือนส.ค.2552 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 105.1 สูงขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2552 แต่ยังติดลบ 1% เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2551 และเป็นอัตราที่ติดลบลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนเฉลี่ย 8 เดือนของปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังติดลบ 1.9%
สำหรับเงินเฟ้อทั่วไปเดือนส.ค.2552 ที่สูงขึ้น 0.4% นั้น เป็นการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม 0.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้นถึง 5.8% รวมถึงการสูงขึ้นของบุหรี่ 0.2% วัสดุก่อสร้าง 1% (ปูนซีเมนต์ และอิฐ) ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล 0.1% (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน แชมพู
ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และกระดาษชำระ) ค่ายาและเวชภัณฑ์ 0.1% (ยาแก้ไข ยาแก้ปวดลดไข้ และยาแก้ไข้หวัด) ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.1% โดยสินค้สำคัญที่ลดลง เช่น เนื้อสุกร ผัก ผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร นมและผลิตภัณฑ์นม
ส่วนเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2551 ติดลบ 0.1% เป็นผลจากดัชนีหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 3.3% จากการลดลงดัชนีหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 10% (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ และอุปกรณ์ยานพาหนะ) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา 10.2% (ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์การศึกษา) และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3.4%
(เครื่องแบบนักเรียน) ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.4% จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารสำเร็จรูป
“แนวโน้มเงินเฟ้อ น่าจะขยายตัวเป็นบวกได้ตั้งแต่เดือนต.ค.-ธ.ค. เพราะฐานปีก่อนเริ่มลดลง ขณะที่ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้ออย่างน้ำมันเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้สินค้าหลายรายการเริ่มมีราคาสูงขึ้น แต่กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดูแลให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนโดยคาดว่าแม้เงินเฟ้อจะเริ่มกลับมาเป็นบวกหลังจากติดลบมาต่อเนื่อง 8 เดือน แต่เงินเฟ้อทั้งปีน่าจะยังติดลบ 1% ถึง 0% ตามที่คาดการณ์ไว้”นายศิริพลกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานของไทย ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และพลังงานออก ในเดือนส.ค.2552 อยู่ที่ระดับ 102.5 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2552 แต่ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2551 และสูงขึ้น 0.4% เมื่อเทียบ 8 เดือนแรกปีนี้กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุที่เงินเฟ้อพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลง เพราะราคาสินค้ามีทั้งสูงขึ้น และลดลง โดยราคาสินค้าที่สูงขึ้น ได้แก่
วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ส่วนราคาสินค้าที่ลดลง ได้แก่ อุปกรณ์ยานพาหนะ เครื่องถวายพระ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สัปดาห์หน้า จะเชิญผู้ประกอบการเหล็กมาหารือถึงสถานการณ์ราคาที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะขณะนี้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาขายจริงใกล้เคียงกับราคาเพดาน โดยเหล็กกลมขนาด 9 มิลลิเมตร ราคาเพดานเส้นละ 136.75 บาท แต่ขณะนี้ขายจริงเส้นละ 107-110 บาท
ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการไม่ได้ปรับขึ้นราคา เพราะความต้องการใช้ลดลง จึงต้องแข่งกันลดราคาขาย แต่ขณะนี้ สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว โดยความต้องการใช้มีมากขึ้น จากโครงการเมกะโปรเจ็กต์ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน จึงมีแนวโน้มว่าราคาอาจปรับขึ้นบ้าง
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงแนวโน้มราคาน้ำตาลมีแนวโน้มสูงขึ้น และมีผู้ผลิต สินค้าหลายรายยื่นขอปรับขึ้นราคาสินค้า โดยฉพาะน้ำอัดลม และผลไม้กระป๋องว่า กรมฯ ยังไม่อนุมัติให้ผู้ผลิตขึ้นราคาสินค้าได้ในขณะนี้ แต่ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการกักตุน หรือแอบขึ้นราคา
ทั้งน้ำอัดลมและผลไม้กระป๋อง
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) ในเดือนส.ค.2552 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 105.1 สูงขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2552 แต่ยังติดลบ 1% เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2551 และเป็นอัตราที่ติดลบลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนเฉลี่ย 8 เดือนของปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังติดลบ 1.9%
สำหรับเงินเฟ้อทั่วไปเดือนส.ค.2552 ที่สูงขึ้น 0.4% นั้น เป็นการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม 0.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้นถึง 5.8% รวมถึงการสูงขึ้นของบุหรี่ 0.2% วัสดุก่อสร้าง 1% (ปูนซีเมนต์ และอิฐ) ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล 0.1% (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน แชมพู
ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และกระดาษชำระ) ค่ายาและเวชภัณฑ์ 0.1% (ยาแก้ไข ยาแก้ปวดลดไข้ และยาแก้ไข้หวัด) ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.1% โดยสินค้สำคัญที่ลดลง เช่น เนื้อสุกร ผัก ผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร นมและผลิตภัณฑ์นม
ส่วนเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2551 ติดลบ 0.1% เป็นผลจากดัชนีหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 3.3% จากการลดลงดัชนีหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 10% (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ และอุปกรณ์ยานพาหนะ) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา 10.2% (ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์การศึกษา) และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3.4%
(เครื่องแบบนักเรียน) ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.4% จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารสำเร็จรูป
“แนวโน้มเงินเฟ้อ น่าจะขยายตัวเป็นบวกได้ตั้งแต่เดือนต.ค.-ธ.ค. เพราะฐานปีก่อนเริ่มลดลง ขณะที่ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้ออย่างน้ำมันเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้สินค้าหลายรายการเริ่มมีราคาสูงขึ้น แต่กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดูแลให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนโดยคาดว่าแม้เงินเฟ้อจะเริ่มกลับมาเป็นบวกหลังจากติดลบมาต่อเนื่อง 8 เดือน แต่เงินเฟ้อทั้งปีน่าจะยังติดลบ 1% ถึง 0% ตามที่คาดการณ์ไว้”นายศิริพลกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานของไทย ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และพลังงานออก ในเดือนส.ค.2552 อยู่ที่ระดับ 102.5 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2552 แต่ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2551 และสูงขึ้น 0.4% เมื่อเทียบ 8 เดือนแรกปีนี้กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุที่เงินเฟ้อพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลง เพราะราคาสินค้ามีทั้งสูงขึ้น และลดลง โดยราคาสินค้าที่สูงขึ้น ได้แก่
วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ส่วนราคาสินค้าที่ลดลง ได้แก่ อุปกรณ์ยานพาหนะ เครื่องถวายพระ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สัปดาห์หน้า จะเชิญผู้ประกอบการเหล็กมาหารือถึงสถานการณ์ราคาที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะขณะนี้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาขายจริงใกล้เคียงกับราคาเพดาน โดยเหล็กกลมขนาด 9 มิลลิเมตร ราคาเพดานเส้นละ 136.75 บาท แต่ขณะนี้ขายจริงเส้นละ 107-110 บาท
ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการไม่ได้ปรับขึ้นราคา เพราะความต้องการใช้ลดลง จึงต้องแข่งกันลดราคาขาย แต่ขณะนี้ สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว โดยความต้องการใช้มีมากขึ้น จากโครงการเมกะโปรเจ็กต์ และต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน จึงมีแนวโน้มว่าราคาอาจปรับขึ้นบ้าง
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงแนวโน้มราคาน้ำตาลมีแนวโน้มสูงขึ้น และมีผู้ผลิต สินค้าหลายรายยื่นขอปรับขึ้นราคาสินค้า โดยฉพาะน้ำอัดลม และผลไม้กระป๋องว่า กรมฯ ยังไม่อนุมัติให้ผู้ผลิตขึ้นราคาสินค้าได้ในขณะนี้ แต่ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการกักตุน หรือแอบขึ้นราคา