ร่วมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน! คลังจับมือเวิลด์แบงก์เซ็นเอ็มโอยูเงินเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 300 ล้านเหรียญ (หมื่นล้านบาท) ปล่อยกู้โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก
นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สบน.ได้ลงนามความร่วมมือในการกู้ยืมเงินจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาทไทย เพื่อใช้ในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำซึ่งสอดคล้องกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 15 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
ซึ่งโครงการที่สามารถใช้เงินกู้จากความร่วมมือในครั้งนี้จะต้องผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติโครงการก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เนื่องจากการใช้เงินจากโครงการนี้ถือเป็นความผู้พันทางด้านเงินกู้จากต่างประเทศจึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและคนทั้งโลกตระหนักถึงกันมาก ซึ่งประเทศไทยเองมีโครงการต่างๆ ที่พร้อมดำเนินการได้ทันที ซึ่งหากหน่วยงานใดมีโครงการที่มีความพร้อมก็สามารถส่งผ่านตามขั้นตอนและสบน.ก็พร้อมที่จะกู้เงินเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าวได้ทันที” นายสุวิชญกล่าว
นายสุวิชญกล่าวว่า สำหรับรายละเอียดของวงเงินกู้ยืมนั้นทางเวิลด์แบงก์ได้กำหนดเงื่อนไขให้ใช้เงินกู้จากวงเงินที่ทำข้อตกลงกันไว้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐจำนวนครึ่งหนึ่งของเม็ดเงินในโครงการส่วนอีกครึ่งให้ใช้เงินกู้ดอกเบี้ยปกติจากองค์กรหรือหน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกันกับเวิลด์แบงก์ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เป็นต้น
“เงินกู้นี้เฉพาะเจาะจงให้ใช้กับโครงการที่มีส่วนลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ โดยเฉพาะ ทั้งโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมอยู่แล้วเช่นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่มีส่วนช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษหรือบีอาร์ทีที่กรุงเทพมหานครสร้างเสร็จและพร้อมใช้งานด้วย” นายสุวิชญกล่าว
การเซ็นสัญญาเงินกู้ครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลาง การการประชุมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 15 และพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 5 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งนายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมด้วย โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลเดนมาร์ก เจ้าภาพจัดการประชุมที่มีความตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องร่วมกันต่อสู้อย่างจริงจังและถือเป็นสิ่งที่เร่งด่วน เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
สำหรับไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสภาพภูมิอากาศของโลก และการคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการอาหารโลก ที่จะเพิ่มขึ้นถึง 50% ภายในปี 2050 นั้น อาจจะมีผลทำให้ความสามารถ ในการผลิตอาหารของประเทศไทยลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารได้ในอนาคต ไทยจึงได้มีการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งโครงการนี้ถูกออกแบบให้สามารถรักษาผลผลิตที่ดี ในขณะเดียวกันก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไทยได้นำปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งในฉบับที่ 10 และ 11 เป็นการวางแผนให้ประเทศไทยที่ไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้ผลิตคาร์บอนน้อยลง และสนับสนุนการขนส่งและการลำเลียงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคในประเทศมาใช้สินค้าที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
"ไทยยังได้อนุวัติแผนการพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (2551-2565) ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำพลังงานทดแทนมาใช้ร้อยละ 20 ของพลังงานที่มีใช้ทั้งหมดของประเทศภายในปี 2022 ซึ่งจะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง และตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก"
นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สบน.ได้ลงนามความร่วมมือในการกู้ยืมเงินจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาทไทย เพื่อใช้ในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำซึ่งสอดคล้องกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 15 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
ซึ่งโครงการที่สามารถใช้เงินกู้จากความร่วมมือในครั้งนี้จะต้องผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติโครงการก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เนื่องจากการใช้เงินจากโครงการนี้ถือเป็นความผู้พันทางด้านเงินกู้จากต่างประเทศจึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและคนทั้งโลกตระหนักถึงกันมาก ซึ่งประเทศไทยเองมีโครงการต่างๆ ที่พร้อมดำเนินการได้ทันที ซึ่งหากหน่วยงานใดมีโครงการที่มีความพร้อมก็สามารถส่งผ่านตามขั้นตอนและสบน.ก็พร้อมที่จะกู้เงินเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าวได้ทันที” นายสุวิชญกล่าว
นายสุวิชญกล่าวว่า สำหรับรายละเอียดของวงเงินกู้ยืมนั้นทางเวิลด์แบงก์ได้กำหนดเงื่อนไขให้ใช้เงินกู้จากวงเงินที่ทำข้อตกลงกันไว้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐจำนวนครึ่งหนึ่งของเม็ดเงินในโครงการส่วนอีกครึ่งให้ใช้เงินกู้ดอกเบี้ยปกติจากองค์กรหรือหน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกันกับเวิลด์แบงก์ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เป็นต้น
“เงินกู้นี้เฉพาะเจาะจงให้ใช้กับโครงการที่มีส่วนลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ โดยเฉพาะ ทั้งโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมอยู่แล้วเช่นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่มีส่วนช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษหรือบีอาร์ทีที่กรุงเทพมหานครสร้างเสร็จและพร้อมใช้งานด้วย” นายสุวิชญกล่าว
การเซ็นสัญญาเงินกู้ครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลาง การการประชุมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 15 และพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 5 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งนายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมด้วย โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลเดนมาร์ก เจ้าภาพจัดการประชุมที่มีความตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องร่วมกันต่อสู้อย่างจริงจังและถือเป็นสิ่งที่เร่งด่วน เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
สำหรับไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสภาพภูมิอากาศของโลก และการคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการอาหารโลก ที่จะเพิ่มขึ้นถึง 50% ภายในปี 2050 นั้น อาจจะมีผลทำให้ความสามารถ ในการผลิตอาหารของประเทศไทยลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารได้ในอนาคต ไทยจึงได้มีการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งโครงการนี้ถูกออกแบบให้สามารถรักษาผลผลิตที่ดี ในขณะเดียวกันก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไทยได้นำปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งในฉบับที่ 10 และ 11 เป็นการวางแผนให้ประเทศไทยที่ไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้ผลิตคาร์บอนน้อยลง และสนับสนุนการขนส่งและการลำเลียงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคในประเทศมาใช้สินค้าที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
"ไทยยังได้อนุวัติแผนการพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (2551-2565) ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำพลังงานทดแทนมาใช้ร้อยละ 20 ของพลังงานที่มีใช้ทั้งหมดของประเทศภายในปี 2022 ซึ่งจะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง และตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก"