ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินเศรษฐกิจเดือนส.ค.ขยับฟื้นตัวแต่ยังเป็นไปอย่างเปราะบาง มีความเสี่ยงต่อการชะลอตัวลง จับตา 2 ตัวแปรสำคัญ แรงกดดันเงินเฟ้อ และ เสถียรภาพทางการเมือง รวมถึงเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องส่งกระทบต่อส่งออก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินตัวเลขเศรษฐกิจเดือนสิงหาคม 2552 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) ซึ่งภาคเศรษฐกิจที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น การบริโภค และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มอ่อนแรงลง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเดือนส.ค.พลิกกลับมาหดตัวร้อยละ 3.2 จากเดือนก่อนหน้า แต่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงขยับขึ้นเป็นเดือนที่ 3 เป็น 74.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 73.4 ซึ่งมองว่าค่าดัชนีที่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 บ่งชี้ถึง ความเปราะบางของความเชื่อมั่น และอาจถึกระทบจากปัจจัยที่ไม่แน่นอนต่างๆ อาทิ เสถียรภาพการเมืองในประเทศ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการแพร่ระบาดของหวัดใหญ่ 2009 ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวลงร้อยละ 3.6 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการหดตัวทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมที่เน้นเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมเพื่อขายในประเทศ
ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนในเดือนส.ค. 2552 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ขยายตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนนั้น มีความสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ขยับขึ้นสู่ระดับ 46.1 ในเดือนส.ค. จากระดับ 45.0 ในเดือนก.ค. ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ยืนเหนือระดับ 50.0 เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า คงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง อาทิ แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบในบางภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ล่าสุดเดือนส.ค. 2552 ปรับลดลงมาที่ 88.0 จาก 89.9 ในเดือนก.ค.
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความไม่ต่อเนื่องของสัญญาณบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าว ถือเป็นสถานการณ์ปกติของเศรษฐกิจที่เพิ่งจะเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว ซึ่งเป็นนัยว่า เศรษฐกิจไทยยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงิน-การคลังในระยะถัดไปเพื่อประคับประคองการฟื้นตัว และลดความเสี่ยงที่จะกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ทั้งนี้ คาดว่า แนวนโยบายของทางการไทย ทั้งในส่วนของนโยบายการเงินที่ยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำต่อเนื่อง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ น่าที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้และต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปีหน้า แต่คงจะต้องจับตา 2 ตัวแปรสำคัญ ก็คือ แรงกดดันเงินเฟ้อ และเสถียรภาพการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ กดดันบรรยากาศการลงทุนของภาคเอกชน และบั่นทอนประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งออกของไทยจะเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทิศทางของค่าเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกของไทย ก็คงเป็นประเด็นที่ทางการไทยต้องเฝ้าระวังเช่นกัน เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคส่งออกดังกล่าวยังคงต้องพึ่งพาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่เป็นปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม ทั้งนี้ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาอาจจะไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ที่ระดับร้อยละ 4.9 จะยังคงน้อยกว่าการหดตัวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 7.1 และหดตัวร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินตัวเลขเศรษฐกิจเดือนสิงหาคม 2552 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) ซึ่งภาคเศรษฐกิจที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น การบริโภค และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มอ่อนแรงลง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเดือนส.ค.พลิกกลับมาหดตัวร้อยละ 3.2 จากเดือนก่อนหน้า แต่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงขยับขึ้นเป็นเดือนที่ 3 เป็น 74.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 73.4 ซึ่งมองว่าค่าดัชนีที่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 บ่งชี้ถึง ความเปราะบางของความเชื่อมั่น และอาจถึกระทบจากปัจจัยที่ไม่แน่นอนต่างๆ อาทิ เสถียรภาพการเมืองในประเทศ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการแพร่ระบาดของหวัดใหญ่ 2009 ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวลงร้อยละ 3.6 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการหดตัวทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมที่เน้นเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมเพื่อขายในประเทศ
ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนในเดือนส.ค. 2552 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ขยายตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนนั้น มีความสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ขยับขึ้นสู่ระดับ 46.1 ในเดือนส.ค. จากระดับ 45.0 ในเดือนก.ค. ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ยืนเหนือระดับ 50.0 เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า คงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง อาทิ แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบในบางภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ล่าสุดเดือนส.ค. 2552 ปรับลดลงมาที่ 88.0 จาก 89.9 ในเดือนก.ค.
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความไม่ต่อเนื่องของสัญญาณบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าว ถือเป็นสถานการณ์ปกติของเศรษฐกิจที่เพิ่งจะเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว ซึ่งเป็นนัยว่า เศรษฐกิจไทยยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงิน-การคลังในระยะถัดไปเพื่อประคับประคองการฟื้นตัว และลดความเสี่ยงที่จะกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ทั้งนี้ คาดว่า แนวนโยบายของทางการไทย ทั้งในส่วนของนโยบายการเงินที่ยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำต่อเนื่อง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ น่าที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้และต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปีหน้า แต่คงจะต้องจับตา 2 ตัวแปรสำคัญ ก็คือ แรงกดดันเงินเฟ้อ และเสถียรภาพการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ กดดันบรรยากาศการลงทุนของภาคเอกชน และบั่นทอนประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งออกของไทยจะเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทิศทางของค่าเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกของไทย ก็คงเป็นประเด็นที่ทางการไทยต้องเฝ้าระวังเช่นกัน เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคส่งออกดังกล่าวยังคงต้องพึ่งพาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่เป็นปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม ทั้งนี้ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาอาจจะไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ที่ระดับร้อยละ 4.9 จะยังคงน้อยกว่าการหดตัวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 7.1 และหดตัวร้อยละ 4.9 ตามลำดับ