ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยโดยรวมในไตรมาสสองติดลบ 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาคท่องเที่ยวลดลงมากจากปัญหาเศรษฐกิจโลกซบและผลความไม่สงบการเมือง ทำให้อัตราการเข้าพักแค่ 40.3% ต่ำสุดในอดีตที่ผ่านมาและส่งผลให้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนติดลบครั้งแรกจากในอดีตที่เป็นบวก
นายพิชิต ภัทรวิมลพร ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ระดับ 2% แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนยังคงติดลบ 5.4% ถือว่าติดลบในอัตราที่น้อยลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวที่ดีขึ้น แต่ที่ยังหดตัวอย่างมาก คือ รายได้เกษตรกรและการท่องเที่ยว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลความไม่สงบการเมืองในประเทศช่วงเดือนเม.ย.เป็นสำคัญ
ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกซบเซา ทำให้รายได้นักท่องเที่ยวลดลง ประกอบกับการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ที่องค์การอนามัยโลกยกระดับความรุนแรงขึ้น รวมถึงการซ้ำเติมจากความไม่สงบภายในประเทศ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัว 16.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ 40.3% ในเดือน มิ.ย. ถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมา และส่งผลให้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุล 1,604 ล้านบาท ถือเป็นการติดลบครั้งแรกจากเดิมเป็นบวก
“ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้ามีเสถียรภาพมากขึ้นในขณะนี้ หากไม่มีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปปัจจุบันคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้นและขยายตัวเป็นบวกได้ในปีหน้า”
สำหรับกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ ซึ่งมีบางฝ่ายมองว่าเป็นกับดักสภาพคล่องนั้น ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศธปท.กล่าวว่า การขอสินเชื่อเป็นเป็นเรื่องการตัดสินใจภาคเอกชนมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อเศรษฐกิจโลกขยายตัวไม่ดีนัก และหากเศรษฐกิจโลกในขณะนี้และต่อไปขยายตัวเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่มีอะไรมาสะดุด โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐก็เชื่อว่าสภาพคล่องในระบบค่อยๆ ลดลงได้ เพราะธนาคารพาณิชย์หันมาให้กู้หรือภาคธุรกิจจะมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจดี
ภาคการลงทุนภาคเอกชนหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรก แม้เครื่องชี้หลายตัวปรับตัวดีขึ้น แต่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการลงทุนอยู่ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมิ.ย.ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 46.3 จากเดือนก่อน 45.4
โดยเป็นการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อ ผลประกอบการและการลงทุน ซึ่งปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับความเชื่อมั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ระดับ 50.4 โดยคำสั่งซื้อ และการผลิต รวมถึงต้นทุนการประกอบการและการลงทุนลดลงเล็กน้อย สะท้อนความกังวลถึงความผันผวนของราคาน้ำมัน
ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 1.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่หดตัว 4.2% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 72.5 ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกนับจากเดือนก.พ. 52 โดยการปรับเพิ่มขึ้นทั้งความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคต ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพระราชกำหนดเงินกู้ 4 แสนล้านบาทที่ผ่านรัฐสภาและปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 51 แม้ดัชนีโดยรวมในเดือนมิ.ย.ยังหดตัว 7.8% เมื่อเทียบกับกับช่วงเดียวกันปีก่อน
นายพิชิต ภัทรวิมลพร ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ระดับ 2% แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนยังคงติดลบ 5.4% ถือว่าติดลบในอัตราที่น้อยลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวที่ดีขึ้น แต่ที่ยังหดตัวอย่างมาก คือ รายได้เกษตรกรและการท่องเที่ยว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลความไม่สงบการเมืองในประเทศช่วงเดือนเม.ย.เป็นสำคัญ
ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกซบเซา ทำให้รายได้นักท่องเที่ยวลดลง ประกอบกับการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ที่องค์การอนามัยโลกยกระดับความรุนแรงขึ้น รวมถึงการซ้ำเติมจากความไม่สงบภายในประเทศ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัว 16.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ 40.3% ในเดือน มิ.ย. ถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมา และส่งผลให้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุล 1,604 ล้านบาท ถือเป็นการติดลบครั้งแรกจากเดิมเป็นบวก
“ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้ามีเสถียรภาพมากขึ้นในขณะนี้ หากไม่มีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปปัจจุบันคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้นและขยายตัวเป็นบวกได้ในปีหน้า”
สำหรับกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ ซึ่งมีบางฝ่ายมองว่าเป็นกับดักสภาพคล่องนั้น ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศธปท.กล่าวว่า การขอสินเชื่อเป็นเป็นเรื่องการตัดสินใจภาคเอกชนมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อเศรษฐกิจโลกขยายตัวไม่ดีนัก และหากเศรษฐกิจโลกในขณะนี้และต่อไปขยายตัวเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่มีอะไรมาสะดุด โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐก็เชื่อว่าสภาพคล่องในระบบค่อยๆ ลดลงได้ เพราะธนาคารพาณิชย์หันมาให้กู้หรือภาคธุรกิจจะมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจดี
ภาคการลงทุนภาคเอกชนหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรก แม้เครื่องชี้หลายตัวปรับตัวดีขึ้น แต่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการลงทุนอยู่ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมิ.ย.ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 46.3 จากเดือนก่อน 45.4
โดยเป็นการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อ ผลประกอบการและการลงทุน ซึ่งปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับความเชื่อมั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ระดับ 50.4 โดยคำสั่งซื้อ และการผลิต รวมถึงต้นทุนการประกอบการและการลงทุนลดลงเล็กน้อย สะท้อนความกังวลถึงความผันผวนของราคาน้ำมัน
ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 1.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่หดตัว 4.2% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 72.5 ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกนับจากเดือนก.พ. 52 โดยการปรับเพิ่มขึ้นทั้งความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคต ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพระราชกำหนดเงินกู้ 4 แสนล้านบาทที่ผ่านรัฐสภาและปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 51 แม้ดัชนีโดยรวมในเดือนมิ.ย.ยังหดตัว 7.8% เมื่อเทียบกับกับช่วงเดียวกันปีก่อน