ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.แจงทันควัน เศรษฐกิจเดือนส.ค.แผ่ว ไม่สะท้อนนโยบายรัฐไม่ได้ผล ระบุเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในเดือนก.ค.และส.ค.ทุกตัวปรับตัวดีขึ้น จึงเป็นแรงส่งเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 แต่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้านเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นผ่าน โชว์ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่สูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มั่นใจการผลิตเดินหน้าไปได้อย่างน้อยถึงไตรมาส 4 ของปีนี้ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า แม้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยในเดือนส.ค.ทุกตัวจะแผ่วลงบ้างจากเดือนก่อนหน้า แต่เศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วงเดือนก.ค.และส.ค.เป็น 2 เดือนแรกของไตรมาส 3 ที่เครี่องบ่งชี้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นทุกตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังมีต่อเนื่องและเป็นไปในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป
“เศรษฐกิจเดือนส.ค.เหวี่ยงแรงไม่ได้สะท้อนว่ามาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผล แต่เกิดจากผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักถึง 40%ในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)หดตัวลงจากการปิดซ่อมโรงงานปิโตรเลียม 2 แห่ง และการเร่งผลิตก่อนหน้านี้จากมาตรการภาษี รวมถึงการนำเข้าน้อย แต่การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคยังดีอยู่”
ทั้งนี้ การบริโภคลดลงในเดือนส.ค.เทียบกับก.ค.ตามการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและการจัดเก็บรายได้ภาษีมูลค่าลดลง แต่หมวดรถยนต์และการใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวแทนสะท้อนกิจกรรมเศรษฐกิจกลับปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมทั้งปัจจุบันและอนาคตยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ผ่านการลงทุนภาครัฐ รวมถึงนโยบายการเงินที่ยังคงเอื้อต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ
แม้ดัชนีการลงทุนในเดือนส.ค.หดตัวลงจากภาคก่อสร้างเป็นสำคัญ แต่การนำเข้าสินค้าและยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนกลับปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แล้ว และเป็นการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปหลังวิกฤต สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดีขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนส.ค.อยู่ที่ 46.1 แต่ในอีก 3 เดือนข้างหน้าสูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และองค์ประกอบทุกตัวดีขึ้น โดยเฉพาะคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนสะท้อนการผลิตเดินหน้าไปได้อย่างน้อยเดือนพ.ย.หรือไตรมาส 4 ของปีนี้ และผู้ประกอบการมีความกังวลภาวะเศรษฐกิจและการเมืองลดลง อีกทั้งผู้ประกอบการเห็นว่าความต้องการในประเทศเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือนส.ค.มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าทุกภาค โดยต่างชาติเข้ามาซื้อพันธบัตรธปท.และรัฐบาลในตลาดรอง ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารมีเงินทุนไหลออกจากการที่คนไทยไปลงทุนพันธบัตรเกาหลีจำนวน 858 ล้านเหรียญ ทำให้ภาคธนาคารมีเงินทุนไหลเข้าจากการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกผลจากเงินบาทแข็งค่าและคนไทยที่หันไปลงทุนในต่างประเทศ
การส่งออกมีมูลค่า 13,181 ล้านเหรียญ หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน 17.9% ในแถบทุกหมวด แต่ที่หดตัวชะลอลง คือ ภาคเกษตร ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะออสเตรียเลีย จีน และฮ่องกง การนำเข้ามีมูลค่า 10,910 ล้านเหรียญ หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน 33.8% ใกล้เคียงกับเดือนก่อน เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้มีการนำเข้าน้ำมันน้อย ถือเป็นปัจจัยชั่วคราว ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2,271 ล้านเหรียญ ซึ่งยอดสะสมในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 14.8 พันล้านเหรียญ
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุล 356 ล้านเหรียญตามรายได้ท่องเที่ยวลดลงและการส่งกำไรกลับของธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคารส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,916 ล้านเหรียญ และสะสมนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน 14.9 พันล้านเหรียญ
สำหรับเงินฝากของสถาบันการเงินขยายตัว 7.8% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นเงินฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อรองรับการขยายสินเชื่อตามนโยบายภาครัฐ ประกอบกับสถาบันการเงินต้องการรักษาฐานเงินฝากด้วยการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อรักษาฐานลูกค้า ขณะเดียวกันธนาคารขนาดกลางและเล็กก็มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจูงใจด้วย ขณะที่สินเชื่อชะลอตัวต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการชะลอตัวสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจจากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงเป็นสำคัญ แต่สินเชื่อให้แก่ครัวเรือนยังขยายตัวต่อเนื่องอยู่ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินอยู่ที่ 85.18% แต่ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง
อัตราการว่างงานล่าสุดในเดือนก.ค.ยังอยู่ในระดับต่ำที่ระดับ 1.2% หรือมีจำนวนผู้ว่างงาน 475,700 คน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากเดิมที่ภาคผลิตติดลบนับตั้งแต่ พ.ค.51 เพราะตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจค่อนข้างดีขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานลดลงจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพครบ 1 ปี รวมทั้งผลจากฐานราคาน้ำมันเริ่มลดลง
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า แม้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยในเดือนส.ค.ทุกตัวจะแผ่วลงบ้างจากเดือนก่อนหน้า แต่เศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วงเดือนก.ค.และส.ค.เป็น 2 เดือนแรกของไตรมาส 3 ที่เครี่องบ่งชี้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นทุกตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังมีต่อเนื่องและเป็นไปในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป
“เศรษฐกิจเดือนส.ค.เหวี่ยงแรงไม่ได้สะท้อนว่ามาตรการภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผล แต่เกิดจากผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักถึง 40%ในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)หดตัวลงจากการปิดซ่อมโรงงานปิโตรเลียม 2 แห่ง และการเร่งผลิตก่อนหน้านี้จากมาตรการภาษี รวมถึงการนำเข้าน้อย แต่การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคยังดีอยู่”
ทั้งนี้ การบริโภคลดลงในเดือนส.ค.เทียบกับก.ค.ตามการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและการจัดเก็บรายได้ภาษีมูลค่าลดลง แต่หมวดรถยนต์และการใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวแทนสะท้อนกิจกรรมเศรษฐกิจกลับปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมทั้งปัจจุบันและอนาคตยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ผ่านการลงทุนภาครัฐ รวมถึงนโยบายการเงินที่ยังคงเอื้อต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ
แม้ดัชนีการลงทุนในเดือนส.ค.หดตัวลงจากภาคก่อสร้างเป็นสำคัญ แต่การนำเข้าสินค้าและยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนกลับปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แล้ว และเป็นการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปหลังวิกฤต สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดีขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนส.ค.อยู่ที่ 46.1 แต่ในอีก 3 เดือนข้างหน้าสูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และองค์ประกอบทุกตัวดีขึ้น โดยเฉพาะคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนสะท้อนการผลิตเดินหน้าไปได้อย่างน้อยเดือนพ.ย.หรือไตรมาส 4 ของปีนี้ และผู้ประกอบการมีความกังวลภาวะเศรษฐกิจและการเมืองลดลง อีกทั้งผู้ประกอบการเห็นว่าความต้องการในประเทศเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือนส.ค.มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าทุกภาค โดยต่างชาติเข้ามาซื้อพันธบัตรธปท.และรัฐบาลในตลาดรอง ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารมีเงินทุนไหลออกจากการที่คนไทยไปลงทุนพันธบัตรเกาหลีจำนวน 858 ล้านเหรียญ ทำให้ภาคธนาคารมีเงินทุนไหลเข้าจากการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกผลจากเงินบาทแข็งค่าและคนไทยที่หันไปลงทุนในต่างประเทศ
การส่งออกมีมูลค่า 13,181 ล้านเหรียญ หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน 17.9% ในแถบทุกหมวด แต่ที่หดตัวชะลอลง คือ ภาคเกษตร ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะออสเตรียเลีย จีน และฮ่องกง การนำเข้ามีมูลค่า 10,910 ล้านเหรียญ หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน 33.8% ใกล้เคียงกับเดือนก่อน เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้มีการนำเข้าน้ำมันน้อย ถือเป็นปัจจัยชั่วคราว ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2,271 ล้านเหรียญ ซึ่งยอดสะสมในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 14.8 พันล้านเหรียญ
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุล 356 ล้านเหรียญตามรายได้ท่องเที่ยวลดลงและการส่งกำไรกลับของธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคารส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,916 ล้านเหรียญ และสะสมนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน 14.9 พันล้านเหรียญ
สำหรับเงินฝากของสถาบันการเงินขยายตัว 7.8% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นเงินฝากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อรองรับการขยายสินเชื่อตามนโยบายภาครัฐ ประกอบกับสถาบันการเงินต้องการรักษาฐานเงินฝากด้วยการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อรักษาฐานลูกค้า ขณะเดียวกันธนาคารขนาดกลางและเล็กก็มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจูงใจด้วย ขณะที่สินเชื่อชะลอตัวต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการชะลอตัวสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจจากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงเป็นสำคัญ แต่สินเชื่อให้แก่ครัวเรือนยังขยายตัวต่อเนื่องอยู่ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินอยู่ที่ 85.18% แต่ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง
อัตราการว่างงานล่าสุดในเดือนก.ค.ยังอยู่ในระดับต่ำที่ระดับ 1.2% หรือมีจำนวนผู้ว่างงาน 475,700 คน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากเดิมที่ภาคผลิตติดลบนับตั้งแต่ พ.ค.51 เพราะตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจค่อนข้างดีขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานลดลงจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพครบ 1 ปี รวมทั้งผลจากฐานราคาน้ำมันเริ่มลดลง