ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยยังไม่มีภาวะฟองสบู่ ชี้สต็อกซับพลาย คงค้างในตลาดยังเหลืออื้อ
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอลง ทำให้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นตลาดให้สามารถขยายตัวท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯออกมา หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในระดับต่ำก็ตาม แต่ผู้บริโภคก็ยังคงมีความระมัดระวังในการซื้อที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ ด้านผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เองก็มีความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายได้ชะลอการเปิดโครงการใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก รวมถึงผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่มีความชำนาญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แต่ก็ชะลอการลงทุนออกไป
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นไตรมาส 3 ของปีนี้ เมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ทำให้ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ บางรายเริ่มเปิดโครงการใหม่ๆ เพื่อรองรับกำลังซื้อที่คาดว่าจะตามมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ในอัตราที่ต่ำ รวมถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่การที่อัตราดอกเบี้ยของไทยมีระดับต่ำต่อเนื่อง จะทำให้ผู้บริโภคกังวลว่าอาจจะนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ได้
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดอสังหาฯจะได้รับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในอัตราที่ต่ำ รวมถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีแผนการขยายการลงทุนเพิ่มก็ตาม แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวของฟองสบู่ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2534 – 2539 ที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่ผ่านมา
เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกัน อาทิ ภาวะอุปทานในตลาดที่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในช่วงปี 2534-2539 ซึ่งจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตั้งแต่ปี 2534 เรื่อยมาจนถึงปี 2540 มีจำนวนมากกว่า 100,000 หน่วย/ต่อปี ในขณะที่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีจำนวนเฉลี่ยประมาณ 72,000 หน่วย/ต่อปี ซึ่งภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างรุนแรงทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดีมากขึ้น
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอลง ทำให้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นตลาดให้สามารถขยายตัวท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯออกมา หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในระดับต่ำก็ตาม แต่ผู้บริโภคก็ยังคงมีความระมัดระวังในการซื้อที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ ด้านผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เองก็มีความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายได้ชะลอการเปิดโครงการใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก รวมถึงผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่มีความชำนาญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แต่ก็ชะลอการลงทุนออกไป
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นไตรมาส 3 ของปีนี้ เมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ทำให้ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ บางรายเริ่มเปิดโครงการใหม่ๆ เพื่อรองรับกำลังซื้อที่คาดว่าจะตามมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ในอัตราที่ต่ำ รวมถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่การที่อัตราดอกเบี้ยของไทยมีระดับต่ำต่อเนื่อง จะทำให้ผู้บริโภคกังวลว่าอาจจะนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ได้
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดอสังหาฯจะได้รับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในอัตราที่ต่ำ รวมถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีแผนการขยายการลงทุนเพิ่มก็ตาม แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวของฟองสบู่ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2534 – 2539 ที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่ผ่านมา
เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกัน อาทิ ภาวะอุปทานในตลาดที่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในช่วงปี 2534-2539 ซึ่งจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตั้งแต่ปี 2534 เรื่อยมาจนถึงปี 2540 มีจำนวนมากกว่า 100,000 หน่วย/ต่อปี ในขณะที่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีจำนวนเฉลี่ยประมาณ 72,000 หน่วย/ต่อปี ซึ่งภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างรุนแรงทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดีมากขึ้น