ค่าเงินน่าเป็นห่วง “หม่อมเต่า” เบรกแบงก์ชาตินำทุนสำรองไปลงทุน-บริษัทไทยไปต่างประเทศ ชี้ การออกมาตรการสกัดบาทแข็งมากเกินไปไม่ดี เหตุเศรษฐกิจมีแววผันผวนสูง อาจพลิกกลับจนตั้งรับไม่ทัน
ภายหลังผู้บริหาร ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าพบเพื่อรายงานแนวทางการบริหารทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ ภายใต้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ชี้แจงถึงสถานการณ์ทางการเงินของไทยและระบบการเงินโลกในปัจจุบันให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ธปท.รับทราบ รวมทั้งหารือแนวนโยบายในการบริหารทุนสำรองทางการและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในระยะต่อไปนั้น
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธาน บอร์ด ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท.เห็นว่า แม้ขณะนี้ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศจำนวนมาก ทำให้แนวทางในการบริหารทุนสำรองมีข้อจำกัดในการดูแลค่าเงินบาท แต่การจะปรับเปลี่ยนเกณฑ์ หรือกำหนดแนวทางในการบริหารทุนสำรองและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท จะต้องคำนึงถึงทั้ง 2 ด้าน เพราะในช่วงต่อไปจากนี้มีความเป็นไปได้ที่ภาวะเศรษฐกิจอาจพลิกกลับมาอีกด้านหนึ่ง นอกจากนั้น ในส่วนของการนำเข้าที่ลดลงมาก ทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐน้อยลงนั้น ในขณะนี้ ดูเหมือนว่า การลดลงอาจจะมาจากจากการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศที่น้อยลง
“การนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนต้องพิจารณาให้ดี เพราะแทนที่เราจะเป็นลูกจ้าง ในที่สุดอาจกลายพลิกผันเป็นเจ้าของก็ได้ หรือจากการเขามาขอยืมเงินเรา เรากลับต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินแทน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้นโยบายที่วางไว้อาจจะเปลี่ยนแปลง และยืดหยุ่นได้ ดังนั้น การใช้นโยบายจุดเดียวกัน ค่อยๆ ดูกันไปมีเวลานาน เพราะขณะนี้ประเทศไทยปล่อยให้ไปลงทุนต่างประเทศค่อยข้างมากและกฎเกณฑ์เปิดกว้างมากขึ้น ที่เห็นได้ชัด คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดสามารถทำตรงนี้ได้เลย หรืออุตสาหกรรม หรือบริษัทคนไทยจำนวนมาก ที่มีการเปิดสาขา หรือซื้อโรงงานต่างประเทศ ทำให้ในความเป็นจริงประเทศมีสินทรัพย์ต่างประเทศที่ใกล้เคียงกับสินทรัพย์ต่างประเทศในประเทศไทย”
ในส่วนของการดูแลบริหารทุนสำรองทางการนั้น ตามกฎหมาย ธปท.ฉบับใหม่ เปิดโอกาสให้ธปท.นำทุนสำรองเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ มากประเภทขึ้น แต่เพื่อช่วยพิจารณาในเรื่องความเสี่ยงในการลงทุน จึงให้อำนาจบอร์ด ธปท.ที่มีทั้งอัยการสูงสุด และคณะกรรมการกฤษฎีกา จะมีหน้าที่อนุมัติ ประเภทของสินทรัพย์ที่จะเพิ่มเติมให้ฝ่ายตลาดการเงินนำทุนสำรองเข้าไปลงทุนได้ ส่วนจะเป็นสินทรัพย์ใด ชนิดใด และมีสัดส่วนเท่าไรเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ธปท.(คบร.) ซึ่งมีผู้ว่าการ ธปท.นั่งเป็นประธาน ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะดูแลสถานการณ์นโยบายดอกเบี้ยและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนว่าเหมาะสมต่อการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
“เท่าที่มารายงานในขณะนี้ เชื่อว่า ธปท.เข้าใจดีกว่าจะนำเงินสำรองไปบริหารอย่างไรหรือควรจะซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลใด โดยขณะนี้ทุกคน ธปท.มีความเห็นว่า การดำเนินนโยบายการเงิน ของธปท.ในช่วงที่ผ่านมาได้ทำต่อเนื่องเพียงพอแล้ว รวมทั้งการผลักดันธนาคารพาณิชย์ในดูแลฐานะของธนาคารให้เหมาะสมต่อการปล่อยสินเชื่อในอนาคต และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท แต่ขณะนี้มีเพียงภาคการอย่างเดียวที่ยังคงนิ่งอยู่”
ส่วนจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ธปท.ในอนาคตหรือไม่ ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า พ.ร.บ.ธปท.ที่ใช้ปัจจุบันคงไม่มีรื้อ เพราะอยากให้ทุกอย่างสงบ แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่วิธีที่ดีนัก
ภายหลังผู้บริหาร ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าพบเพื่อรายงานแนวทางการบริหารทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ ภายใต้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ชี้แจงถึงสถานการณ์ทางการเงินของไทยและระบบการเงินโลกในปัจจุบันให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ธปท.รับทราบ รวมทั้งหารือแนวนโยบายในการบริหารทุนสำรองทางการและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในระยะต่อไปนั้น
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธาน บอร์ด ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท.เห็นว่า แม้ขณะนี้ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศจำนวนมาก ทำให้แนวทางในการบริหารทุนสำรองมีข้อจำกัดในการดูแลค่าเงินบาท แต่การจะปรับเปลี่ยนเกณฑ์ หรือกำหนดแนวทางในการบริหารทุนสำรองและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท จะต้องคำนึงถึงทั้ง 2 ด้าน เพราะในช่วงต่อไปจากนี้มีความเป็นไปได้ที่ภาวะเศรษฐกิจอาจพลิกกลับมาอีกด้านหนึ่ง นอกจากนั้น ในส่วนของการนำเข้าที่ลดลงมาก ทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐน้อยลงนั้น ในขณะนี้ ดูเหมือนว่า การลดลงอาจจะมาจากจากการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศที่น้อยลง
“การนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนต้องพิจารณาให้ดี เพราะแทนที่เราจะเป็นลูกจ้าง ในที่สุดอาจกลายพลิกผันเป็นเจ้าของก็ได้ หรือจากการเขามาขอยืมเงินเรา เรากลับต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินแทน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้นโยบายที่วางไว้อาจจะเปลี่ยนแปลง และยืดหยุ่นได้ ดังนั้น การใช้นโยบายจุดเดียวกัน ค่อยๆ ดูกันไปมีเวลานาน เพราะขณะนี้ประเทศไทยปล่อยให้ไปลงทุนต่างประเทศค่อยข้างมากและกฎเกณฑ์เปิดกว้างมากขึ้น ที่เห็นได้ชัด คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดสามารถทำตรงนี้ได้เลย หรืออุตสาหกรรม หรือบริษัทคนไทยจำนวนมาก ที่มีการเปิดสาขา หรือซื้อโรงงานต่างประเทศ ทำให้ในความเป็นจริงประเทศมีสินทรัพย์ต่างประเทศที่ใกล้เคียงกับสินทรัพย์ต่างประเทศในประเทศไทย”
ในส่วนของการดูแลบริหารทุนสำรองทางการนั้น ตามกฎหมาย ธปท.ฉบับใหม่ เปิดโอกาสให้ธปท.นำทุนสำรองเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ มากประเภทขึ้น แต่เพื่อช่วยพิจารณาในเรื่องความเสี่ยงในการลงทุน จึงให้อำนาจบอร์ด ธปท.ที่มีทั้งอัยการสูงสุด และคณะกรรมการกฤษฎีกา จะมีหน้าที่อนุมัติ ประเภทของสินทรัพย์ที่จะเพิ่มเติมให้ฝ่ายตลาดการเงินนำทุนสำรองเข้าไปลงทุนได้ ส่วนจะเป็นสินทรัพย์ใด ชนิดใด และมีสัดส่วนเท่าไรเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ธปท.(คบร.) ซึ่งมีผู้ว่าการ ธปท.นั่งเป็นประธาน ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะดูแลสถานการณ์นโยบายดอกเบี้ยและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนว่าเหมาะสมต่อการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
“เท่าที่มารายงานในขณะนี้ เชื่อว่า ธปท.เข้าใจดีกว่าจะนำเงินสำรองไปบริหารอย่างไรหรือควรจะซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลใด โดยขณะนี้ทุกคน ธปท.มีความเห็นว่า การดำเนินนโยบายการเงิน ของธปท.ในช่วงที่ผ่านมาได้ทำต่อเนื่องเพียงพอแล้ว รวมทั้งการผลักดันธนาคารพาณิชย์ในดูแลฐานะของธนาคารให้เหมาะสมต่อการปล่อยสินเชื่อในอนาคต และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท แต่ขณะนี้มีเพียงภาคการอย่างเดียวที่ยังคงนิ่งอยู่”
ส่วนจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ธปท.ในอนาคตหรือไม่ ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า พ.ร.บ.ธปท.ที่ใช้ปัจจุบันคงไม่มีรื้อ เพราะอยากให้ทุกอย่างสงบ แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่วิธีที่ดีนัก