วิกฤติเศรษฐกิจของระบบการเงินโลกในปี 2550 ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในภาคการผลิต, การส่งออกและการใช้จ่ายของภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง รัฐบาลชุดปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดแรกนับตั้งแต่ต้นปี 2552 เช่น โครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท และโครงการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวได้ช่วยภาพรวมเศรษฐกิจในระยะสั้นไม่ให้ปรับตัวลดลงในอัตราเร่งมากเกินไป อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 " ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 " ซึ่งได้ผ่านขบวนการอนุมัติของรัฐสภาในเดือน มิ.ย. 2552
SCRI ประเมินแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยขยายตัวเฉลี่ยในกรอบปีละ 1.0 – 2.25% ในช่วงปี 2553 – 2555 แต่มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังเพิ่มขึ้น โดย SCRI ประเมินสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะสูงขึ้นสู่ระดับ 66% ของ GDP สำหรับความเสี่ยงของสภาพคล่องในปี 2552 จะอยู่ในระดับต่ำ แต่ในปี 2553 เป็นต้นไปสภาพคล่องในระบบจะตึงตัวขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการปรับเพิ่มขึ้นของทิศทางอัตราดอกเบี้ย
* SCRI ประเมินว่า ผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ของรัฐบาล จะหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2553 – 2555 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.0 – 2.25 % โดยการคำนวณดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบทางอ้อมที่จะผ่านเข้ามาจากการขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน เนื่องจากการลงทุนของภาครัฐฯ
* การกู้เงินในระดับที่สูงของรัฐบาล SCRI ประเมินว่า จะกระทบต่อเสถียรภาพฐานะการคลังของไทยในทิศทางที่แย่ลง จากการทำนโยบายขาดทุนต่อเนื่อง จากการประเมินในเบื้องต้น SCRI คาดว่า ระดับหนี้สาธารณะของไทยในช่วง 3 ปี ข้างหน้า จะปรับเพิ่มขึ้นใกล้เคียงระดับ 66% ของ GDP ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ และ การกู้ยืมเงินสินเชื่อของภาคเอกชนในต่างประเทศจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น
* SCRI ประเมินว่า ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตึงตัวและการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย (crowding out effect) ในปี 2552 จะยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่มีระดับเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงกลางปี 2553 เป็นต้นไป จากอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น และสภาพคล่องอาจจะตึงตัวหลังจากอุปสงค์โลกฟื้นตัวจากประสิทธิผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก
* แผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เม็ดเงินกว่า 77% ของวงเงินงบประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น SCRI จึงคาดว่า กลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ ที่มีความพร้อมที่จะปล่อยกู้รัฐบาลได้จะได้ประโยชน์จากความต้องการแหล่งเงินทุนที่รัฐบาลจะสามารถกู้ยืมเงินในประเทศ ทำให้ อีกทั้งกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการหมุนเวียนของเม็ดเงินคือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจค้าปลีก
ประมาณการณ์แหล่งเงินทุนในโครงการ SP2 (หน่วย : ล้านบาท)
.
SCRI ประเมินแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยขยายตัวเฉลี่ยในกรอบปีละ 1.0 – 2.25% ในช่วงปี 2553 – 2555 แต่มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังเพิ่มขึ้น โดย SCRI ประเมินสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะสูงขึ้นสู่ระดับ 66% ของ GDP สำหรับความเสี่ยงของสภาพคล่องในปี 2552 จะอยู่ในระดับต่ำ แต่ในปี 2553 เป็นต้นไปสภาพคล่องในระบบจะตึงตัวขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการปรับเพิ่มขึ้นของทิศทางอัตราดอกเบี้ย
* SCRI ประเมินว่า ผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ของรัฐบาล จะหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2553 – 2555 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.0 – 2.25 % โดยการคำนวณดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบทางอ้อมที่จะผ่านเข้ามาจากการขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน เนื่องจากการลงทุนของภาครัฐฯ
* การกู้เงินในระดับที่สูงของรัฐบาล SCRI ประเมินว่า จะกระทบต่อเสถียรภาพฐานะการคลังของไทยในทิศทางที่แย่ลง จากการทำนโยบายขาดทุนต่อเนื่อง จากการประเมินในเบื้องต้น SCRI คาดว่า ระดับหนี้สาธารณะของไทยในช่วง 3 ปี ข้างหน้า จะปรับเพิ่มขึ้นใกล้เคียงระดับ 66% ของ GDP ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ และ การกู้ยืมเงินสินเชื่อของภาคเอกชนในต่างประเทศจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น
* SCRI ประเมินว่า ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตึงตัวและการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย (crowding out effect) ในปี 2552 จะยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่มีระดับเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงกลางปี 2553 เป็นต้นไป จากอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น และสภาพคล่องอาจจะตึงตัวหลังจากอุปสงค์โลกฟื้นตัวจากประสิทธิผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก
* แผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เม็ดเงินกว่า 77% ของวงเงินงบประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น SCRI จึงคาดว่า กลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ ที่มีความพร้อมที่จะปล่อยกู้รัฐบาลได้จะได้ประโยชน์จากความต้องการแหล่งเงินทุนที่รัฐบาลจะสามารถกู้ยืมเงินในประเทศ ทำให้ อีกทั้งกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการหมุนเวียนของเม็ดเงินคือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจค้าปลีก
ประมาณการณ์แหล่งเงินทุนในโครงการ SP2 (หน่วย : ล้านบาท)
.