“กรณ์” หนุน 8 มาตรการพัฒนาตลาดทุนไทยดันมาร์เก็ตแคปขยายตัวเพิ่มสัดส่วนเป็น 150% ของจีดีพี แก้ไขกฎหมายและสิทธิทางภาษีดูดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดทุน พร้อมเสนอ ครม.อนุมัติแนวทางภายในเดือนกันยายนนี้ เล็งลดสัดส่วนเวนเจอร์ แคปิตอลเหลือ 50 ล้านบาทหวังกระตุ้นให้เอสเอ็มอีและธุรกิจที่รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนเมื่อวานนี้ (20 ก.ค.) ว่า คณะกรรมการได้วางแนวทาง 8 มาตรการ เพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแค็ป) เพิ่มขึ้นมีสัดส่วน 150% ของขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศภายใน 4 ปี หลังจากที่มาร์เก็ตแค็ปตลาดหุ้นไทยลดลงต่อเนื่อง ปัจจุบันมูลค่าตลาดหุ้นรวมกับตลาดตราสารหนี้ยังต่ำกว่าจีดีพี ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีขนาดที่มากกว่าจีดีพีทั้งสิ้น นอกจากนี้สัดส่วนน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในดัชนีเอ็มเอสซีไอเหลือเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากจากเดิมที่เคยมีถึง 10% ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
แนวทางที่จะไปให้ถึงเป้าหมายคือ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาว่า การปรับโครงสร้างความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนและประเด็นที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมีอะไรบ้าง ซึ่งจะสรุปแนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 เดือน 2. การเปิดเสรีในอนุญาตซื้อขายหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เพื่อเปิดให้มีผู้แข่งขันมากขึ้น 3.การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน เพื่อดึงให้บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น
***แก้ไขภาษีสร้างความเป็นธรรม
4.การปรับระบบภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม 5.พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น กองทุนเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ 6.จัดการการออมเพื่อชราภาพ ซึ่งได้มีการหารือถึงบทบาทหน้าที่ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อแก้ไขปัญหาและการจัดการกองทุนประกันสังคม รวมถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนการออมเพื่อชราภาพ (กอช.) 7.เพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับผู้ออมระยะยาว ที่สามารถเลือกลงทุนตามต้องการได้ และ 8.พัฒนาตลาดพันธบัตรภาครัฐ เพื่อเอื้อในการออกพันธบัตรและบริหารเงินสดรัฐบาล และจะเป็นพื้นฐานอ้างอิงในการระดมทุนของภาคเอกชนด้วย
“กระทรวงการคลังจะเสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ซึ่งตามเป้าหมายคาดว่าจะเสนอได้ภายในกันยายนนี้ เพราะในแผนดังกล่าวจะมีการแก้ไขระบบภาษี จึงต้องแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ทั้งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ ประมวลกฎหมายรัษฏากร ซึ่งขณะนี้ถือว่าคืบหน้าไปกว่า 85% แล้ว”นายกรณ์กล่าว
***เว้นตราสารตามหลักศาสนาอิสลาม
นายสาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลังกล่าวถึงการปรับระบบภาษีในตลาดทุนไทยว่า ประกอบด้วย 1.ภาษีในการควบรวมกิจการจะได้รับยกเว้นเป็นการถาวรจากเดิมที่กำหนดเป็นการชั่วคราว และกรณีที่มีการควบรวมกิจการในเครือ ไม่ต้องเสียภาษีจนกว่าจะมีการขายเกิดขึ้น 2.ปรับลดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีจากกำไรในอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ กรณีที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ ให้ยืนขอคืนภาษีได้โดยตรง 3.ยกเว้นภาษีสำหรับเงินปันผลจากบริษัททั่วไปให้เหมือนกับเงินปันผลจากที่ได้จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทโฮลดิ้งส์ 4.ยกเว้นภาษีให้กับผู้ลงทุนที่ลงทุนโดยตรงผ่านกองทุนให้เหมือนกับกองทุนรวมรวมถึงผู้ลงทุนต่างประเทศที่ได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมให้เสียภาษีเหมือนกับคนไทยจากเดิมที่ได้รับการยกเว้น
5.การโอนย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีที่เกษียณอายุแล้ว สามารถเก็บเงินไว้ในกองทุนต่อเนื่องได้และจะได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนกรณีที่ยังไม่ไถ่ถอนออก แม้ว่าจะเกษียณอายุแล้ว 6.กองทุนออมเพื่อชราภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างจัดตั้งจะได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนกับ กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมถึงกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ(อาร์เอ็มเอฟ) เพราะเป็นกองทุนประเภทเดียวกัน 7.ปรับการเสียภาษีของการประกันภัยให้เป็นสากลคณิตศาสตร์ตามหลักประกันภัยที่ปรับไปก่อนหน้า เพื่อให้สอดคล้องกัน 8.ยกเว้นภาษีจากการลงทุนตราสารที่ระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม 9.ให้ขยายการยกเว้นภาษีในธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (เอสบีแอล) ให้ครอบคลุมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้ ธปท.ที่ถือครองตราสารหนี้จำนวนมากนำมาทำเอสบีแอลได้
และ 10.ปรับรูปแบบการลงทุนในกองทุนร่วมทุน(เวนเจอร์ แคปิตอล) ที่ไปลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้รับความสนใจ จึงปรับขนาดกองทุนเหลือ 50 ล้านบาทจากเดิม 200 ล้านบาท และการทยอยใส่เงินลงทุน ให้มียอดคงค้างเพียง 50% ของวงเงินกองทุนจากเดิมให้ใส่ไว้ถึง 80% และยังเปลี่ยนจากการลงทุนในเอสเอ็มอีเป็นลงทุนในธุรกิจที่รัฐบาลส่งเสริม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวขึ้น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนเมื่อวานนี้ (20 ก.ค.) ว่า คณะกรรมการได้วางแนวทาง 8 มาตรการ เพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแค็ป) เพิ่มขึ้นมีสัดส่วน 150% ของขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศภายใน 4 ปี หลังจากที่มาร์เก็ตแค็ปตลาดหุ้นไทยลดลงต่อเนื่อง ปัจจุบันมูลค่าตลาดหุ้นรวมกับตลาดตราสารหนี้ยังต่ำกว่าจีดีพี ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีขนาดที่มากกว่าจีดีพีทั้งสิ้น นอกจากนี้สัดส่วนน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในดัชนีเอ็มเอสซีไอเหลือเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากจากเดิมที่เคยมีถึง 10% ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
แนวทางที่จะไปให้ถึงเป้าหมายคือ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาว่า การปรับโครงสร้างความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนและประเด็นที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมีอะไรบ้าง ซึ่งจะสรุปแนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 เดือน 2. การเปิดเสรีในอนุญาตซื้อขายหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เพื่อเปิดให้มีผู้แข่งขันมากขึ้น 3.การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน เพื่อดึงให้บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น
***แก้ไขภาษีสร้างความเป็นธรรม
4.การปรับระบบภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม 5.พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น กองทุนเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ 6.จัดการการออมเพื่อชราภาพ ซึ่งได้มีการหารือถึงบทบาทหน้าที่ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อแก้ไขปัญหาและการจัดการกองทุนประกันสังคม รวมถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนการออมเพื่อชราภาพ (กอช.) 7.เพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับผู้ออมระยะยาว ที่สามารถเลือกลงทุนตามต้องการได้ และ 8.พัฒนาตลาดพันธบัตรภาครัฐ เพื่อเอื้อในการออกพันธบัตรและบริหารเงินสดรัฐบาล และจะเป็นพื้นฐานอ้างอิงในการระดมทุนของภาคเอกชนด้วย
“กระทรวงการคลังจะเสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ซึ่งตามเป้าหมายคาดว่าจะเสนอได้ภายในกันยายนนี้ เพราะในแผนดังกล่าวจะมีการแก้ไขระบบภาษี จึงต้องแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ทั้งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ ประมวลกฎหมายรัษฏากร ซึ่งขณะนี้ถือว่าคืบหน้าไปกว่า 85% แล้ว”นายกรณ์กล่าว
***เว้นตราสารตามหลักศาสนาอิสลาม
นายสาธิต รังคสิริ รองปลัดกระทรวงการคลังกล่าวถึงการปรับระบบภาษีในตลาดทุนไทยว่า ประกอบด้วย 1.ภาษีในการควบรวมกิจการจะได้รับยกเว้นเป็นการถาวรจากเดิมที่กำหนดเป็นการชั่วคราว และกรณีที่มีการควบรวมกิจการในเครือ ไม่ต้องเสียภาษีจนกว่าจะมีการขายเกิดขึ้น 2.ปรับลดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีจากกำไรในอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ กรณีที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ ให้ยืนขอคืนภาษีได้โดยตรง 3.ยกเว้นภาษีสำหรับเงินปันผลจากบริษัททั่วไปให้เหมือนกับเงินปันผลจากที่ได้จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทโฮลดิ้งส์ 4.ยกเว้นภาษีให้กับผู้ลงทุนที่ลงทุนโดยตรงผ่านกองทุนให้เหมือนกับกองทุนรวมรวมถึงผู้ลงทุนต่างประเทศที่ได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมให้เสียภาษีเหมือนกับคนไทยจากเดิมที่ได้รับการยกเว้น
5.การโอนย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีที่เกษียณอายุแล้ว สามารถเก็บเงินไว้ในกองทุนต่อเนื่องได้และจะได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนกรณีที่ยังไม่ไถ่ถอนออก แม้ว่าจะเกษียณอายุแล้ว 6.กองทุนออมเพื่อชราภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างจัดตั้งจะได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนกับ กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมถึงกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ(อาร์เอ็มเอฟ) เพราะเป็นกองทุนประเภทเดียวกัน 7.ปรับการเสียภาษีของการประกันภัยให้เป็นสากลคณิตศาสตร์ตามหลักประกันภัยที่ปรับไปก่อนหน้า เพื่อให้สอดคล้องกัน 8.ยกเว้นภาษีจากการลงทุนตราสารที่ระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม 9.ให้ขยายการยกเว้นภาษีในธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (เอสบีแอล) ให้ครอบคลุมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้ ธปท.ที่ถือครองตราสารหนี้จำนวนมากนำมาทำเอสบีแอลได้
และ 10.ปรับรูปแบบการลงทุนในกองทุนร่วมทุน(เวนเจอร์ แคปิตอล) ที่ไปลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้รับความสนใจ จึงปรับขนาดกองทุนเหลือ 50 ล้านบาทจากเดิม 200 ล้านบาท และการทยอยใส่เงินลงทุน ให้มียอดคงค้างเพียง 50% ของวงเงินกองทุนจากเดิมให้ใส่ไว้ถึง 80% และยังเปลี่ยนจากการลงทุนในเอสเอ็มอีเป็นลงทุนในธุรกิจที่รัฐบาลส่งเสริม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวขึ้น