LH Bank ร่วมกับ กรุงไทย ให้บริการ "LH Bank โอนง่าย ฝากคล่อง ที่ KTB" ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการฝาก-โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์และใช้เครื่องเอทีเอ็มของกรุงไทย หวังเพิ่มความสะดวกและปริมาณธุรกรรม ด้านบิ๊กแบงก์กรุงไทยเผยโครงการต่อไปเชื่อมเครือข่ายการให้บริการกับแบงก์รัฐทั้งระบบ
วานนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB)และ นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)(LH Bank)ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในบริการ LH Bank โอนง่าย ฝากคล่อง ที่ KTB ที่อาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าของ LH Bank สามารถทำรายการฝากและโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวัน ที่เคาน์เตอร์ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ผ่านระบบ Online Real Time เพื่อเข้าบัญชี LH Bank ได้เสมือนใช้บริการที่เคาน์เตอร์ของ LH Bank นอกจากนี้ ลูกค้าที่ถือบัตร ATM ของ LH Bank สามารถใช้บริการผ่านเครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทยที่มีกว่า 6,000 เครื่อง เสมือนเป็น ATM ของ LH Bank ด้วย
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า จากเครือข่ายสาขาของธนาคารที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 850 แห่ง และประสิทธิภาพด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งนอกจากสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคารแล้ว ยังได้ขยายการให้บริการทางการเงินไปยังลูกค้าของสถาบันการเงินอื่นๆรวมทั้งหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการสนองนโยบายของทางการที่มุ่งเน้นให้ธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารหลักในการให้บริการกับธนาคารขนาดเล็กและธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีของประเทศชาติโดยรวม
นอกจากนี้ จากที่ธนาคารมีการบริหารจัดการด้านเงินสดที่ครบวงจรตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนด ตั้งแต่รับ-ส่งเงิน คัดแยก และจัดเก็บในห้องมั่นคงที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสมบูรณ์แบบ จึงมีธนาคารจำนวน 13 แห่ง หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจกว่า 1,000 แห่ง ใช้บริการด้านเงินสดกับธนาคาร
สำหรับแนวทางในการดำเนินต่อไป หากการร่วมมือกับ LH Bank เป็นไปด้วยดี โครงการต่อไปก็จะร่วมมือกับธนาคารของรัฐทุกแห่ง อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เพื่อร่วมเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการประหยัดงบประมาณด้านเทคโนโลยี และการเปิดสายตา อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งธนาคารกรุงไทยสามารถรองรับการใช้บริการได้ เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีสาขามากที่สุด
นางศศิธรกล่าวอีกว่า แม้ว่าในปัจจุบันจำนวนเงินฝากและจำนวนบัญชีของธนาคารจะยังไม่มากนัก โดยจำนวนบัญชีประมาณ 6 หมื่นรายเท่านั้น แต่เชื่อว่าหลังจากการร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความจูงใจในการใช้บริการของ LH Bank มากขึ้น เนื่องจากจะมีความสะดวกในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น และในการใช้บริการต่างๆลูกค้าจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด โดย LH Bank จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนดังกล่าว
"LH Bank ยังถือว่าเป็นธนาคารขนาดเล็กมีสาขาเพียง 21 แห่ง มีจำนวนบัญชีเงินฝากไม่มากนัก ซึ่งที่ผ่านมราธนาคารมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินออกมาอยู่บ้าง แต่ก็มักจะไม่ค่อยเข้าถึงลูกค้า ดังนั้น การร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้จึงช่วยธนาคารเหมือนมีสาขาเพิ่มขึ้นทันทีหลายร้อยแห่ง จึงน่าจะช่วยให้ธนาคารมีปริมาณการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มขึ้นได้"
**คาดขายหุ้นIPOไม่เกินกลางปีหน้า**
ส่วนความคืบหน้าในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น คาดว่าจะขายสามารถเปิดขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป(IPO)ได้ภายในปลายไตรมาสแรกหรือต้นไตรมาส2ของปีหน้า ซึ่งธนาคารจะต้องดูถึงภาวะของตลาดหลักทรัพย์เป็นสำคัญ โดยยังคงยึดเงื่อนไขที่ว่าหากจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ควรจะต้องมีปริมาณการซื้อขายต่อวันไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทและมีดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 500 จุด ซึ่งปัจจุบันทิศทางตลาดก็เริ่มที่จะดีขึ้น แต่ก็จะต้องดูในระยะต่อไปด้วย
วานนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB)และ นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)(LH Bank)ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในบริการ LH Bank โอนง่าย ฝากคล่อง ที่ KTB ที่อาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าของ LH Bank สามารถทำรายการฝากและโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวัน ที่เคาน์เตอร์ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ผ่านระบบ Online Real Time เพื่อเข้าบัญชี LH Bank ได้เสมือนใช้บริการที่เคาน์เตอร์ของ LH Bank นอกจากนี้ ลูกค้าที่ถือบัตร ATM ของ LH Bank สามารถใช้บริการผ่านเครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทยที่มีกว่า 6,000 เครื่อง เสมือนเป็น ATM ของ LH Bank ด้วย
นายอภิศักดิ์กล่าวว่า จากเครือข่ายสาขาของธนาคารที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 850 แห่ง และประสิทธิภาพด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งนอกจากสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคารแล้ว ยังได้ขยายการให้บริการทางการเงินไปยังลูกค้าของสถาบันการเงินอื่นๆรวมทั้งหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการสนองนโยบายของทางการที่มุ่งเน้นให้ธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารหลักในการให้บริการกับธนาคารขนาดเล็กและธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีของประเทศชาติโดยรวม
นอกจากนี้ จากที่ธนาคารมีการบริหารจัดการด้านเงินสดที่ครบวงจรตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนด ตั้งแต่รับ-ส่งเงิน คัดแยก และจัดเก็บในห้องมั่นคงที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสมบูรณ์แบบ จึงมีธนาคารจำนวน 13 แห่ง หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจกว่า 1,000 แห่ง ใช้บริการด้านเงินสดกับธนาคาร
สำหรับแนวทางในการดำเนินต่อไป หากการร่วมมือกับ LH Bank เป็นไปด้วยดี โครงการต่อไปก็จะร่วมมือกับธนาคารของรัฐทุกแห่ง อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เพื่อร่วมเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการประหยัดงบประมาณด้านเทคโนโลยี และการเปิดสายตา อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งธนาคารกรุงไทยสามารถรองรับการใช้บริการได้ เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีสาขามากที่สุด
นางศศิธรกล่าวอีกว่า แม้ว่าในปัจจุบันจำนวนเงินฝากและจำนวนบัญชีของธนาคารจะยังไม่มากนัก โดยจำนวนบัญชีประมาณ 6 หมื่นรายเท่านั้น แต่เชื่อว่าหลังจากการร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความจูงใจในการใช้บริการของ LH Bank มากขึ้น เนื่องจากจะมีความสะดวกในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น และในการใช้บริการต่างๆลูกค้าจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด โดย LH Bank จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนดังกล่าว
"LH Bank ยังถือว่าเป็นธนาคารขนาดเล็กมีสาขาเพียง 21 แห่ง มีจำนวนบัญชีเงินฝากไม่มากนัก ซึ่งที่ผ่านมราธนาคารมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินออกมาอยู่บ้าง แต่ก็มักจะไม่ค่อยเข้าถึงลูกค้า ดังนั้น การร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้จึงช่วยธนาคารเหมือนมีสาขาเพิ่มขึ้นทันทีหลายร้อยแห่ง จึงน่าจะช่วยให้ธนาคารมีปริมาณการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มขึ้นได้"
**คาดขายหุ้นIPOไม่เกินกลางปีหน้า**
ส่วนความคืบหน้าในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น คาดว่าจะขายสามารถเปิดขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป(IPO)ได้ภายในปลายไตรมาสแรกหรือต้นไตรมาส2ของปีหน้า ซึ่งธนาคารจะต้องดูถึงภาวะของตลาดหลักทรัพย์เป็นสำคัญ โดยยังคงยึดเงื่อนไขที่ว่าหากจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ควรจะต้องมีปริมาณการซื้อขายต่อวันไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทและมีดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 500 จุด ซึ่งปัจจุบันทิศทางตลาดก็เริ่มที่จะดีขึ้น แต่ก็จะต้องดูในระยะต่อไปด้วย