ASTVผู้จัดการรายวัน - “กรณ์” รับดึงแบงก์กรุงไทยร่วมแก้หนี้นอกระบบหวังแก้ปัญหาครบวงจรรวมไปถึงข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ระบุอยากให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันและดอกเบี้ยไม่ควรเกิน 12% ต่อปี บิ๊กแบงก์รัฐชี้คิดดอกเบี้ยเท่ากันยากเหตุลูกค้ามีความเสี่ยงต่างกัน
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเปิดเผยถึงกรณีการดึงธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTBเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลหนี้นอกระบบว่า เพื่อให้การแก้ไขหนี้หนี้นอกระบบครบวงจรทั้งที่เป็นส่วนของประชาชนทั่วไป และที่เป็นข้าราชการรัฐวิสาหกิจ เพราะเดิมจะแยกกรุงไทยออกจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่งอยู่แล้ว โดยถือกรุงไทยเป็นธนาคารของรัฐ ที่ทำธุรกิจแบบมาเอกชนมาตลอด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างการร่างหลักเกณฑ์ในการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้นอกระบบให้เป็นรูปแบบเดียวกัน
“คณะทำงานกำลังดูในรายละเอียดว่า ในกรณีที่ลูกหนี้มีรายชื่อในบัญชีลูกค้าของศูนย์ข้อมูลเครดิต หรือ เครดิตบูโรจะทำอย่างไร หลักการค้ำประกันด้วยบุคคลจะใช้กี่คน เพื่อสรุปหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนก่อนจะเปิดตัวโครงการในวันที่ 19 พฤศิกายน ซึ่งจะมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะคลังเองต้องการให้เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันและอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี”นายกรณ์กล่าว
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ทั้ง 6 แห่งจะเข้ามาช่วยรับดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับฐานลูกค้าของตัวเอง เช่น ธนาคาร ออมสิน จะเน้นแก้หนี้นอกระบบของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเน้นการช่วยแก้หนี้นอกระบบให้กับกลุ่มเกษตรกร ขณะที่ กรุงไทยจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล โดยจะเน้นเข้าไปดูแลหนี้นอกระบบของกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญของธนาคาร เพื่อให้โครงการครบถ้วน ส่วนรายละเอียดนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังจะชี้แจงในวันที่ 19 พฤศิกายนนี้
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่าการขึ้นทะเบียนลูกหนี้อนกระบบรอบนี้น่าจะมีประมาณ 1 ล้านคนและคาดหวังว่าจะดึงลูกหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบได้ 8 แสนคน โดยคณะกรรมการเจรจาปรับลดมูลหนี้และดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้เงินกู้จะมีตัวแทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.) และกรมสรรพากรเข้าร่วมด้วย จึงมองว่าเจ้าหนี้จะให้ความร่วมมือลดต้นและดอกเบี้ยให้เพื่อให้ลูกหนี้มีความสามารถชำระหนี้ได้ต่อไปโดยไม่ต้องหันไปกู้ยืมจากแบงก์รัฐ หรือหากจะกู้ยืมจากแบงก์รัฐมาโปะหนี้ทั้งก้อนก็ต้องเจรจาต่อรองให้ปรับลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งเพราะที่ผ่านมาลูกหนี้ได้จ่ายดอกเบี้ยไปจนเกินยอดเงินต้นแล้ว โดยหากแบกง์รัฐจะคิดดอกเบี้ยที่ 12% ต่อปีก็ลูกหนี้ก็น่าจะมีความสามารถผ่อนชำระได้
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าวว่าเบื้องต้นออมสินยังยืนยันคิดดอกเบี้ยเริ่มต้นที่เดือนละ 0.5% หรือ 6% ต่อปีเท่าธนาคารประชาชน แต่อาจสูงกว่านี้หากเป็นลูกหนี้การค้าที่มีมูลหนี้สูง แต่คงไม่ถึง 12% ซึ่งเข้าใจว่าแต่ละแบงก์คงคิดดอกเบี้ยเท่ากันได้ยากเพราะฐานลูกหนี้มีความเสี่ยงแตกต่างกัน
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยเดียวกันตามแผนแก้หนี้นอกระบบ เพราะลุกหนี้แตกต่างกัน และพื้นฐานการปล่อยกู้ของธนาคารการเงินเฉพาะกิจของรัฐเองก็ต่างกันด้วย เช่น ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ให้กับเกษตรการ ขณะที่ออมสินปล่อยก็ให้กับประชาชนทั่วไป หรือแม้แต่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ก็เป็นปล่อยกู้เพื่อซื้อบ้าน อัตราดอกเบี้ยย่อมต่างๆกัน ซึ่งลูกหนี้ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงส่วนนี้ด้วย ขณะที่ธนาคารจะใช้อัตราดอกเบี้ยตามปกติของธนาคารซึ่งเริ่มตั้ง แต่ 6.75%-9.75% ต่อปีขึ้นอยู่กับคุณภาพของลูกหนี้
ทั้งนี้ธ.ก.ส.จะเริ่มต้นลงทะเบียนในวันที่ 1-31 ธันวาคม 2552 หลังจากนั้น ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คลังจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ และผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการในพื้นที่จะช่วยคัดลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับ ธ.ก.ส.ซึ่งคณะกรรมการในพื้นที่ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กระทรวงมหาดไทย ในการตั้งโต๊ะช่วยเจรจาหนี้ให้กับชาวบ้าน ซึ่งในขั้นตอนนี้เจ้าหนี้นอกระบบต้องงดคิดอัตราดอกเบี้ยก่อนอันดับแรก และเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้น ธ.ก.ส.ก็จะปล่อยสินเชื่อในวงเงินที่พิจารณาจากเงินต้นที่เป็นหนี้ค้างเดิมเท่านั้น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเปิดเผยถึงกรณีการดึงธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTBเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลหนี้นอกระบบว่า เพื่อให้การแก้ไขหนี้หนี้นอกระบบครบวงจรทั้งที่เป็นส่วนของประชาชนทั่วไป และที่เป็นข้าราชการรัฐวิสาหกิจ เพราะเดิมจะแยกกรุงไทยออกจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่งอยู่แล้ว โดยถือกรุงไทยเป็นธนาคารของรัฐ ที่ทำธุรกิจแบบมาเอกชนมาตลอด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างการร่างหลักเกณฑ์ในการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้นอกระบบให้เป็นรูปแบบเดียวกัน
“คณะทำงานกำลังดูในรายละเอียดว่า ในกรณีที่ลูกหนี้มีรายชื่อในบัญชีลูกค้าของศูนย์ข้อมูลเครดิต หรือ เครดิตบูโรจะทำอย่างไร หลักการค้ำประกันด้วยบุคคลจะใช้กี่คน เพื่อสรุปหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนก่อนจะเปิดตัวโครงการในวันที่ 19 พฤศิกายน ซึ่งจะมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะคลังเองต้องการให้เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันและอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี”นายกรณ์กล่าว
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ทั้ง 6 แห่งจะเข้ามาช่วยรับดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับฐานลูกค้าของตัวเอง เช่น ธนาคาร ออมสิน จะเน้นแก้หนี้นอกระบบของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเน้นการช่วยแก้หนี้นอกระบบให้กับกลุ่มเกษตรกร ขณะที่ กรุงไทยจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล โดยจะเน้นเข้าไปดูแลหนี้นอกระบบของกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญของธนาคาร เพื่อให้โครงการครบถ้วน ส่วนรายละเอียดนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังจะชี้แจงในวันที่ 19 พฤศิกายนนี้
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่าการขึ้นทะเบียนลูกหนี้อนกระบบรอบนี้น่าจะมีประมาณ 1 ล้านคนและคาดหวังว่าจะดึงลูกหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบได้ 8 แสนคน โดยคณะกรรมการเจรจาปรับลดมูลหนี้และดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้เงินกู้จะมีตัวแทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.) และกรมสรรพากรเข้าร่วมด้วย จึงมองว่าเจ้าหนี้จะให้ความร่วมมือลดต้นและดอกเบี้ยให้เพื่อให้ลูกหนี้มีความสามารถชำระหนี้ได้ต่อไปโดยไม่ต้องหันไปกู้ยืมจากแบงก์รัฐ หรือหากจะกู้ยืมจากแบงก์รัฐมาโปะหนี้ทั้งก้อนก็ต้องเจรจาต่อรองให้ปรับลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งเพราะที่ผ่านมาลูกหนี้ได้จ่ายดอกเบี้ยไปจนเกินยอดเงินต้นแล้ว โดยหากแบกง์รัฐจะคิดดอกเบี้ยที่ 12% ต่อปีก็ลูกหนี้ก็น่าจะมีความสามารถผ่อนชำระได้
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าวว่าเบื้องต้นออมสินยังยืนยันคิดดอกเบี้ยเริ่มต้นที่เดือนละ 0.5% หรือ 6% ต่อปีเท่าธนาคารประชาชน แต่อาจสูงกว่านี้หากเป็นลูกหนี้การค้าที่มีมูลหนี้สูง แต่คงไม่ถึง 12% ซึ่งเข้าใจว่าแต่ละแบงก์คงคิดดอกเบี้ยเท่ากันได้ยากเพราะฐานลูกหนี้มีความเสี่ยงแตกต่างกัน
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยเดียวกันตามแผนแก้หนี้นอกระบบ เพราะลุกหนี้แตกต่างกัน และพื้นฐานการปล่อยกู้ของธนาคารการเงินเฉพาะกิจของรัฐเองก็ต่างกันด้วย เช่น ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ให้กับเกษตรการ ขณะที่ออมสินปล่อยก็ให้กับประชาชนทั่วไป หรือแม้แต่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ก็เป็นปล่อยกู้เพื่อซื้อบ้าน อัตราดอกเบี้ยย่อมต่างๆกัน ซึ่งลูกหนี้ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงส่วนนี้ด้วย ขณะที่ธนาคารจะใช้อัตราดอกเบี้ยตามปกติของธนาคารซึ่งเริ่มตั้ง แต่ 6.75%-9.75% ต่อปีขึ้นอยู่กับคุณภาพของลูกหนี้
ทั้งนี้ธ.ก.ส.จะเริ่มต้นลงทะเบียนในวันที่ 1-31 ธันวาคม 2552 หลังจากนั้น ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คลังจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ และผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการในพื้นที่จะช่วยคัดลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับ ธ.ก.ส.ซึ่งคณะกรรมการในพื้นที่ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กระทรวงมหาดไทย ในการตั้งโต๊ะช่วยเจรจาหนี้ให้กับชาวบ้าน ซึ่งในขั้นตอนนี้เจ้าหนี้นอกระบบต้องงดคิดอัตราดอกเบี้ยก่อนอันดับแรก และเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้น ธ.ก.ส.ก็จะปล่อยสินเชื่อในวงเงินที่พิจารณาจากเงินต้นที่เป็นหนี้ค้างเดิมเท่านั้น