บิ๊กแบงก์ชาติชี้ควรชะลอการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF) หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย เหตุตลาดการเงินโลกผันผวนสูง สู้ยากขึ้นเพราะคู่แข่งมีหน้าตักมากขึ้น และ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่เปิดช่องให้นำทุนสำรองฯ ออกมาใช้ประโยชน์อยู่แล้ว เผยนโยบายค่าเงินช่วงนี้เน้นดูแลไม่ให้ขึ้นลงมากเกินไป
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) ของไทยในช่วงนี้อาจจะไม่เหมาะสม เนื่องจากภาวะตลาดเงินของโลกค่อนข้างผันผวนจากเงินทุนเคลื่อนย้ายของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับต้องใช้เม็ดเงินดำเนินการที่สูงมาก ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านแต่ละประเทศมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้น ทำให้มีการนำมาตั้งกองทุนมากขึ้น จึงอาจจะสู้ขนาดกองทุนใหญ่ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะดำเนินการอย่างไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกระทรวงการคลังต่อไป
“ถ้าจะตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไร เราก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะตอนนี้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ได้เปิดทางให้สามารถนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปหาผลประโยชน์ได้กว้างขึ้นอยู่แล้ว” นางสุชาดากล่าว
นางสุชาดากล่าวว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ประเทศไทยควรมีทุนสำรองเอาไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อความมั่นคงและมีควรมีเผื่อไว้ให้สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่จะขยายตัวต่อไปในอนาคตด้วย
ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้ ธปท.ได้มีการติดตามที่ใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน ซึ่งจากการหารือในเบื้องต้นกับผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า โดยทั้ง 2 ฝ่ายก็ไม่อยากให้ค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อนค่าเพื่อประโยชน์เฉพาะของฝ่ายตัวเองอยู่แล้ว แต่ขอให้ค่าเงินบาทนิ่งๆ ไม่ผันผวนเท่านั้น เพราะจะได้มีเวลาปรับตัวได้
“การเตรียมการรับมือกับค่าเงินบาทที่กำลังผันผวนในช่วงนี้ ธปท.คงไม่ต้องถึงขั้นตื่นตระหนกเตรียมการออกมาตรการรับมือใหม่ออกมาในช่วงนี้ เพราะในภาวะนี้ธปท.ก็มีการติดตามใกล้ชิดอยู่แล้ว เพื่อให้ค่าเงินนิ่งขึ้น และให้ทั้งผู้ส่งออกและนำเข้าปรับตัวได้ และภาวะค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้คงเลี่ยงไม่ได้ที่กระทบการนำเข้า แต่ตรงข้ามก็ส่งผลดีต่อการส่งออก” นางสุชาดากล่าว
แหล่งข่าว ธปท.ระบุว่า นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง โดยการสนับสนุนของที่ปรึกาษ มีนโยบายให้ตั้งกองทุนดังกล่าวซึ่งใช้หลักการเดียวกับเทมาเสกของสิงคโปร์ สิ่งที่ นพ.สุรพงษ์อยากเห็นคือการใช้กองทุนบริหารทุนสำรองฯ เพื่อให้รัฐบาลมาบริหารจัดการ นำไปลงทุนแสวงหากำไรในลักษณะที่มีความเสี่ยงแต่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูง
แนวคิดดังกล่าว ได้ถูกมอบหมายให้ สศค.ไปศึกษามาระยะหนึ่ง มีการวางแผนตั้งคณะกรรมการหรือบอร์ดกองทุน โดยมีทีมที่ปรึกษา รมว.คลัง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการดำเนินการ วงเงินที่ต้องการดึงจากทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศคาดว่าเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านเหรียญ (335,000 ล้านบาท) โดยอ้างว่าเพื่อการลงทุนตลาดหุ้น ตราสารหนี้ ลงทุนในทรัพย์สินหรือลงทุนโดยตรงในธุรกิจขนาดใหญ่ ตามที่กฎหมายอนุญาต รวมประมาณ 60,000 ล้านเหรียญ (จากทุนสำรองฯ ในปัจจุบัน 120,000 ล้านเหรียญ) ซึ่งใน 60,000 ล้านเหรียญ ถูกใช้ในการสนับสนุนการพิมพ์ธนบัตรประมาณ 40,000 ล้านเหรียญ.
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) ของไทยในช่วงนี้อาจจะไม่เหมาะสม เนื่องจากภาวะตลาดเงินของโลกค่อนข้างผันผวนจากเงินทุนเคลื่อนย้ายของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับต้องใช้เม็ดเงินดำเนินการที่สูงมาก ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านแต่ละประเทศมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้น ทำให้มีการนำมาตั้งกองทุนมากขึ้น จึงอาจจะสู้ขนาดกองทุนใหญ่ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะดำเนินการอย่างไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกระทรวงการคลังต่อไป
“ถ้าจะตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไร เราก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะตอนนี้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ได้เปิดทางให้สามารถนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปหาผลประโยชน์ได้กว้างขึ้นอยู่แล้ว” นางสุชาดากล่าว
นางสุชาดากล่าวว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ประเทศไทยควรมีทุนสำรองเอาไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อความมั่นคงและมีควรมีเผื่อไว้ให้สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่จะขยายตัวต่อไปในอนาคตด้วย
ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้ ธปท.ได้มีการติดตามที่ใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน ซึ่งจากการหารือในเบื้องต้นกับผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า โดยทั้ง 2 ฝ่ายก็ไม่อยากให้ค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อนค่าเพื่อประโยชน์เฉพาะของฝ่ายตัวเองอยู่แล้ว แต่ขอให้ค่าเงินบาทนิ่งๆ ไม่ผันผวนเท่านั้น เพราะจะได้มีเวลาปรับตัวได้
“การเตรียมการรับมือกับค่าเงินบาทที่กำลังผันผวนในช่วงนี้ ธปท.คงไม่ต้องถึงขั้นตื่นตระหนกเตรียมการออกมาตรการรับมือใหม่ออกมาในช่วงนี้ เพราะในภาวะนี้ธปท.ก็มีการติดตามใกล้ชิดอยู่แล้ว เพื่อให้ค่าเงินนิ่งขึ้น และให้ทั้งผู้ส่งออกและนำเข้าปรับตัวได้ และภาวะค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้คงเลี่ยงไม่ได้ที่กระทบการนำเข้า แต่ตรงข้ามก็ส่งผลดีต่อการส่งออก” นางสุชาดากล่าว
แหล่งข่าว ธปท.ระบุว่า นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง โดยการสนับสนุนของที่ปรึกาษ มีนโยบายให้ตั้งกองทุนดังกล่าวซึ่งใช้หลักการเดียวกับเทมาเสกของสิงคโปร์ สิ่งที่ นพ.สุรพงษ์อยากเห็นคือการใช้กองทุนบริหารทุนสำรองฯ เพื่อให้รัฐบาลมาบริหารจัดการ นำไปลงทุนแสวงหากำไรในลักษณะที่มีความเสี่ยงแต่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูง
แนวคิดดังกล่าว ได้ถูกมอบหมายให้ สศค.ไปศึกษามาระยะหนึ่ง มีการวางแผนตั้งคณะกรรมการหรือบอร์ดกองทุน โดยมีทีมที่ปรึกษา รมว.คลัง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการดำเนินการ วงเงินที่ต้องการดึงจากทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศคาดว่าเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านเหรียญ (335,000 ล้านบาท) โดยอ้างว่าเพื่อการลงทุนตลาดหุ้น ตราสารหนี้ ลงทุนในทรัพย์สินหรือลงทุนโดยตรงในธุรกิจขนาดใหญ่ ตามที่กฎหมายอนุญาต รวมประมาณ 60,000 ล้านเหรียญ (จากทุนสำรองฯ ในปัจจุบัน 120,000 ล้านเหรียญ) ซึ่งใน 60,000 ล้านเหรียญ ถูกใช้ในการสนับสนุนการพิมพ์ธนบัตรประมาณ 40,000 ล้านเหรียญ.