ผู้จัดการกองทุน ขานรับมุมมองเวิลด์แบงก์ ยกเป็นประเทศน่าลงทุนอันดับ 4 ของเอเชีย ระบุพื้นฐานเศรษฐกิจไทยเหมาะกับการเข้ามาลงทุน ชี้ถึงแม้ระยะสั้นการเมืองยังเป็นปัญหา แต่ถือเป็นโอกาสดีในระยะยาว ย้ำหากการเมืองจบเร็ว จะสามารถดึงเม็ดเงินและความมั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น
หากถามถึงพื้นฐานของเศรษฐกิจจริงๆ ในปัจจุบันแล้ว แน่นอนว่าจะได้รับคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นพื้นฐานเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับดี ยังแข็งแกร่ง ถึงแม้จะเผชิญกับปัจจัยลบนานับประการเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งเรื่องนี้ยืนยันได้จาก... การออกมาเปิดเผนของธนาคารโลกและบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) ถึงการจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจประจำปี 2552 (Doing Business 2009)
โดยจากข้อมูลเดือนก.ค.50-มิ.ย.51 ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 13 จาก 181ประเทศทั่วโลกและเป็นลำดับที่ 4 ในเอเชีย ดีขึ้นจากการสำรวจครั้งที่แล้วที่อยู่อันดับ 19 อย่างไรก็ตาม ประเทศสิงคโปร์ยังคงครองตำแหน่งประเทศที่ง่ายที่สุดต่อการทำธุรกิจ 3 ปีซ้อน อันดับ 2 ได้แก่ นิวซีแลนด์ อันดับ 3 สหรัฐ อันดับ 4 ฮ่องกงและจีน
เกี่ยวกับเรื่องนี้นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด-กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)จำกัด เปิดเผยว่า จากกรณีที่ธนาคารโลก ได้จัดอันดับประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 13 จาก 181 ประเทศทั่วโลก และเป็นลำดับที่ 4 ในเอเชีย ถือเป็นความสะดวกในการทำธุรกิจ อีกทั้งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกรมศุลกากรและช่วยในเรื่องของธุรกิจส่งออกของไทยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
โดยการจัดอันดับของธนาคารโลกในครั้งนี้ สามารถที่จะเรียกความมั่นใจจากนักลงทุนได้ในอีกระดับ ซึ่งจะถือเป็นผลดีต่อนักลงทุนได้ระยะยาว แต่ในระยะสั้นการประกาศในครั้งนี้ถือว่าไม่ช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้นเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารโลก ออกมาประกาศเรื่องการจัดอันดับประเทศไทยในครั้งนี้ไม่น่าที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยพื้นตัวขึ้นภายในระยะเวลา 1-2 เดือนข้างหน้านี้ แต่หากเป็นในระยะยาว 3-6 เดือนคาดว่า จะสามารถดึงเม็ดเงินจากนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศไทยยังดีอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศต่างๆ มาลดความมั่นใจของนักลงทุนลงบ้างก็ตาม
นายณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยและบริหารความเสี่ยง บลจ. บีที กล่าวว่า จากการที่ธนาคารโลกออกมาประกาศจัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุน คาดว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนชาวนักลงทุนต่างชาติให้กลับมาลงทุนในประเทศได้อย่างแน่นอน
แต่ทั้งนี้ จะต้องให้เวลานักลงทุนในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อน ซึ่งในการตรวจสอบอาจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ไตรมาส สอดคล้องกับที่ช่วงนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนมองถึงอัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงิน หากค่าเงินยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไปอีกนักลงทุนก็คงจะยังชะลอการลงทุนไปอีก โดยนักลงทุนชาวต่างชาติจะเข้ามาลงทุนเมื่อค่าเงินคงที่หรืออ่อนค่าไม่มาก
"จากการจัดอันดับดังกล่าว จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 3-6 เดือนไปแล้ว เพราะนักลงทุนจะมีความมั่นใจที่จะกลับมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้จะต้องมองว่าธนาคารโลกใช้หลักเกณฑ์หรือมีปัจจัยใดบ้างในการประเมินและจัดอันดับในครั้งนี้ หากในการจัดอันดับ ธนาคารโลกได้มองข้ามปัจจัยทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศ ว่าเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น จึงทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 13 จากอันดับที่ 19 ของปี 2550 " นายณัฐพัชร์ กล่าว
ขณะเดียวกัน การคาดหวังเม็ดเงินที่จะกลับเข้ามาลงทุนในประเทศจากนักลงทุนจะมีมากหรือน้อย ต้องขึ้นอยู่กับว่า ปัจจัยทางการเมืองภายในจะจบสิ้นเมื่อไหร่ เพราะถ้าหากว่าปัญหาการเมืองจบเร็ว นักลงทุนก็จะกลับเข้ามาเร็วทำให้มีเม็ดเงินเพิ่มมากขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สาเหตุมาจากประเทศในมีความพร้อมในด้านการลงทุน อีกทั้งค่า P/E ของประเทศยังถูกกว่าประเทศใกล้เคียงด้วย
นอกจากนี้ ปัจจัยทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นปัจจัยหลักที่การดึงนักลงทุนกลับมาลงทุนในประเทศจะเป็นไปได้มากหรือน้อย โดยที่นักลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาลงทุน อาจจะเกิดความไม่มั่นใจในภาวะที่เกิดขึ้น จึงหันไปลงทุนในประเทศใกล้เคียงหรือชะลอการลงทุนแทน แต่สำหรับนักลงทุนรายเก่า มองว่าจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าไปเก็บหน่วยลงทุนมาไว้ในพอร์ตลงทุน เพราะนักลงทุนรายเก่ามองว่า หลังจากที่ปัญหาทางการเมืองสิ้นสุด เศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้นอย่างแน่นอน และเมื่อการเมืองสิ้นสุด นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนแล้วจะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นแรงมาก
ด้าน นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ. วรรณ จำกัด กล่าวว่า สำหรับเรื่องของการจัดอันดับเป็นการมองเชิงโครงสร้าง โดยถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยในช่วงที่ประเทศกำลังประสบกับปัญหาทางการเมืองอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในการพิจารณาของธนาคารโลกนั้นถือว่ามีขบวนการในการวิเคราะห์ที่เป็นหลักการ และมองถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเชิงโครงสร้างมากกว่า และมองข้ามเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นว่าจะจบในไม่นาน
สำหรับการเข้ามาของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ จะมองถึงความเรียบร้อยโดยทั่วไปของประเทศ โดยมองว่าคนไทยสามารถที่จะพูดคุยกันได้ จากนั้นก็ทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้เรียบร้อยขึ้น เพราะเมื่อมองดูถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ดังนั้น จึงอยากให้คนไทยใช้ประโยชน์จากที่การประกาศของธนาคารโลกให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
หากถามถึงพื้นฐานของเศรษฐกิจจริงๆ ในปัจจุบันแล้ว แน่นอนว่าจะได้รับคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นพื้นฐานเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับดี ยังแข็งแกร่ง ถึงแม้จะเผชิญกับปัจจัยลบนานับประการเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งเรื่องนี้ยืนยันได้จาก... การออกมาเปิดเผนของธนาคารโลกและบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) ถึงการจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจประจำปี 2552 (Doing Business 2009)
โดยจากข้อมูลเดือนก.ค.50-มิ.ย.51 ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 13 จาก 181ประเทศทั่วโลกและเป็นลำดับที่ 4 ในเอเชีย ดีขึ้นจากการสำรวจครั้งที่แล้วที่อยู่อันดับ 19 อย่างไรก็ตาม ประเทศสิงคโปร์ยังคงครองตำแหน่งประเทศที่ง่ายที่สุดต่อการทำธุรกิจ 3 ปีซ้อน อันดับ 2 ได้แก่ นิวซีแลนด์ อันดับ 3 สหรัฐ อันดับ 4 ฮ่องกงและจีน
เกี่ยวกับเรื่องนี้นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด-กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)จำกัด เปิดเผยว่า จากกรณีที่ธนาคารโลก ได้จัดอันดับประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 13 จาก 181 ประเทศทั่วโลก และเป็นลำดับที่ 4 ในเอเชีย ถือเป็นความสะดวกในการทำธุรกิจ อีกทั้งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกรมศุลกากรและช่วยในเรื่องของธุรกิจส่งออกของไทยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
โดยการจัดอันดับของธนาคารโลกในครั้งนี้ สามารถที่จะเรียกความมั่นใจจากนักลงทุนได้ในอีกระดับ ซึ่งจะถือเป็นผลดีต่อนักลงทุนได้ระยะยาว แต่ในระยะสั้นการประกาศในครั้งนี้ถือว่าไม่ช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้นเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารโลก ออกมาประกาศเรื่องการจัดอันดับประเทศไทยในครั้งนี้ไม่น่าที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยพื้นตัวขึ้นภายในระยะเวลา 1-2 เดือนข้างหน้านี้ แต่หากเป็นในระยะยาว 3-6 เดือนคาดว่า จะสามารถดึงเม็ดเงินจากนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศไทยยังดีอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศต่างๆ มาลดความมั่นใจของนักลงทุนลงบ้างก็ตาม
นายณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยและบริหารความเสี่ยง บลจ. บีที กล่าวว่า จากการที่ธนาคารโลกออกมาประกาศจัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุน คาดว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนชาวนักลงทุนต่างชาติให้กลับมาลงทุนในประเทศได้อย่างแน่นอน
แต่ทั้งนี้ จะต้องให้เวลานักลงทุนในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อน ซึ่งในการตรวจสอบอาจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ไตรมาส สอดคล้องกับที่ช่วงนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนมองถึงอัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงิน หากค่าเงินยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไปอีกนักลงทุนก็คงจะยังชะลอการลงทุนไปอีก โดยนักลงทุนชาวต่างชาติจะเข้ามาลงทุนเมื่อค่าเงินคงที่หรืออ่อนค่าไม่มาก
"จากการจัดอันดับดังกล่าว จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 3-6 เดือนไปแล้ว เพราะนักลงทุนจะมีความมั่นใจที่จะกลับมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้จะต้องมองว่าธนาคารโลกใช้หลักเกณฑ์หรือมีปัจจัยใดบ้างในการประเมินและจัดอันดับในครั้งนี้ หากในการจัดอันดับ ธนาคารโลกได้มองข้ามปัจจัยทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศ ว่าเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น จึงทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 13 จากอันดับที่ 19 ของปี 2550 " นายณัฐพัชร์ กล่าว
ขณะเดียวกัน การคาดหวังเม็ดเงินที่จะกลับเข้ามาลงทุนในประเทศจากนักลงทุนจะมีมากหรือน้อย ต้องขึ้นอยู่กับว่า ปัจจัยทางการเมืองภายในจะจบสิ้นเมื่อไหร่ เพราะถ้าหากว่าปัญหาการเมืองจบเร็ว นักลงทุนก็จะกลับเข้ามาเร็วทำให้มีเม็ดเงินเพิ่มมากขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สาเหตุมาจากประเทศในมีความพร้อมในด้านการลงทุน อีกทั้งค่า P/E ของประเทศยังถูกกว่าประเทศใกล้เคียงด้วย
นอกจากนี้ ปัจจัยทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นปัจจัยหลักที่การดึงนักลงทุนกลับมาลงทุนในประเทศจะเป็นไปได้มากหรือน้อย โดยที่นักลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาลงทุน อาจจะเกิดความไม่มั่นใจในภาวะที่เกิดขึ้น จึงหันไปลงทุนในประเทศใกล้เคียงหรือชะลอการลงทุนแทน แต่สำหรับนักลงทุนรายเก่า มองว่าจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าไปเก็บหน่วยลงทุนมาไว้ในพอร์ตลงทุน เพราะนักลงทุนรายเก่ามองว่า หลังจากที่ปัญหาทางการเมืองสิ้นสุด เศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้นอย่างแน่นอน และเมื่อการเมืองสิ้นสุด นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนแล้วจะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นแรงมาก
ด้าน นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ. วรรณ จำกัด กล่าวว่า สำหรับเรื่องของการจัดอันดับเป็นการมองเชิงโครงสร้าง โดยถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยในช่วงที่ประเทศกำลังประสบกับปัญหาทางการเมืองอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในการพิจารณาของธนาคารโลกนั้นถือว่ามีขบวนการในการวิเคราะห์ที่เป็นหลักการ และมองถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเชิงโครงสร้างมากกว่า และมองข้ามเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นว่าจะจบในไม่นาน
สำหรับการเข้ามาของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ จะมองถึงความเรียบร้อยโดยทั่วไปของประเทศ โดยมองว่าคนไทยสามารถที่จะพูดคุยกันได้ จากนั้นก็ทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้เรียบร้อยขึ้น เพราะเมื่อมองดูถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ดังนั้น จึงอยากให้คนไทยใช้ประโยชน์จากที่การประกาศของธนาคารโลกให้เป็นประโยชน์มากที่สุด