ธปท.หวั่นการลงทุนภาคเอกชนบั่นทอนการขยายตัวเศรษฐกิจ โดยล่าสุดสัดส่วนการลงทุนภาคเอกชนลดลงเหลือ 17%ของจีดีพี เทียบกับช่วงก่อนวิกฤตที่ระดับ 33%ของจีดีพี แนะใช้การลงทุนภาครัฐ การดูแลเงินเฟ้อ ค่าเงินบาท และสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ด้าน “เกริก”เผยสินเชื่อภาคธุรกิจยังขยายตัว 11-12% เพราะต้องการกู้เงินใช้จ่ายหมุนเวียนมากขึ้น แต่ยังไม่เห็นเงินกู้เพื่อลงทุนใหม่
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้เผยแพร่บทวิจัยเรื่อง “ปัจจัยกำหนดทิศทางการลงทุนของภาคเอกชน : การศึกษาแยกประเภทการลงทุน” ซึ่งจัดทำโดยน.ส.พรนภา ลีลาพรชัย นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ โดยระบุว่า แม้ขณะนี้อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ของไทยจะดี แต่การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังเป็นไปค่อนข้างช้า และไม่ต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนการลงทุนของภาคเอกชนของไทยลดลงมากจากช่วงก่อนเกิดวิกฤตประมาณ 1 ใน 3 หรือ ประมาณ 33% ของจีดีพี เหลือเพียง 17% ของจีดีพีในปัจจุบัน ซึ่งแสดงว่าที่ผ่านมาภาคการลงทุนมีผลน้อยมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชนมากที่สุดคือ การใช้กำลังการผลิตและการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ปัจจัยทางการเงิน และการเข้าถึงแหล่งเงินเป็นปัจจัยรองลงมา ซึ่งปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีผลเฉพาะการลงทุนในหมวดก่อสร้างและอุปกรณ์เครื่องจักร ส่วนปัจจัยการลงทุนของภาครัฐจะเป็นตัวสนับสนุนในเชิงบวกให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในระยะยาว ส่วนอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยด้านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดการลงทุนทุกประเภท นอกจากนี้ปัจจัยความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนให้ขยายตัวสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต้องประเทศ กระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวของการใช้จ่าย และการส่งเสริมให้เอกชนเข้าถึงการระดมทุนในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ให้มากขึ้น รวมทั้งต้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท และอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และที่สำคัญ คือ การสร้างบรรยากาศที่ดีในกับนักลงทุน เช่น ความมีเสถียรภาพ และธรรมาภิบาลในระบบการเมืองการปกครอง
“ในระยะต่อไปรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลให้การลงทุนภาคเอกชนมีการเติบโตสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะอุปทานการลงทุนส่วนเกินอย่างประสบการณ์ในช่วงก่อนวิกฤต อีกทั้งยังส่งผลดีให้เศรษฐกิจโดยรวมและการลงทุนมีการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไปด้วย”
ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า แม้ขณะนี้การลงทุนใหม่ยังไม่ได้เกิดขึ้นมากนักในระบบเศรษฐกิจ แต่สถาบันการเงินยังมีการปล่อยกู้ให้แก่ภาคธุรกิจ(Corporate Loan) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงอยู่ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ระดับ 10-11% ในช่วงไตรมาสที่2 ของปีนี้ โดยสาเหตุหลักเกิดจากต้นทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ ทำให้ความต้องการเงินลงทุนหมุนเวียนยังมีการเติบโตที่ดีอยู่
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้เผยแพร่บทวิจัยเรื่อง “ปัจจัยกำหนดทิศทางการลงทุนของภาคเอกชน : การศึกษาแยกประเภทการลงทุน” ซึ่งจัดทำโดยน.ส.พรนภา ลีลาพรชัย นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ โดยระบุว่า แม้ขณะนี้อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ของไทยจะดี แต่การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังเป็นไปค่อนข้างช้า และไม่ต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนการลงทุนของภาคเอกชนของไทยลดลงมากจากช่วงก่อนเกิดวิกฤตประมาณ 1 ใน 3 หรือ ประมาณ 33% ของจีดีพี เหลือเพียง 17% ของจีดีพีในปัจจุบัน ซึ่งแสดงว่าที่ผ่านมาภาคการลงทุนมีผลน้อยมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชนมากที่สุดคือ การใช้กำลังการผลิตและการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ปัจจัยทางการเงิน และการเข้าถึงแหล่งเงินเป็นปัจจัยรองลงมา ซึ่งปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีผลเฉพาะการลงทุนในหมวดก่อสร้างและอุปกรณ์เครื่องจักร ส่วนปัจจัยการลงทุนของภาครัฐจะเป็นตัวสนับสนุนในเชิงบวกให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในระยะยาว ส่วนอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยด้านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดการลงทุนทุกประเภท นอกจากนี้ปัจจัยความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนให้ขยายตัวสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต้องประเทศ กระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวของการใช้จ่าย และการส่งเสริมให้เอกชนเข้าถึงการระดมทุนในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ให้มากขึ้น รวมทั้งต้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท และอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และที่สำคัญ คือ การสร้างบรรยากาศที่ดีในกับนักลงทุน เช่น ความมีเสถียรภาพ และธรรมาภิบาลในระบบการเมืองการปกครอง
“ในระยะต่อไปรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลให้การลงทุนภาคเอกชนมีการเติบโตสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะอุปทานการลงทุนส่วนเกินอย่างประสบการณ์ในช่วงก่อนวิกฤต อีกทั้งยังส่งผลดีให้เศรษฐกิจโดยรวมและการลงทุนมีการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไปด้วย”
ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า แม้ขณะนี้การลงทุนใหม่ยังไม่ได้เกิดขึ้นมากนักในระบบเศรษฐกิจ แต่สถาบันการเงินยังมีการปล่อยกู้ให้แก่ภาคธุรกิจ(Corporate Loan) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงอยู่ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ระดับ 10-11% ในช่วงไตรมาสที่2 ของปีนี้ โดยสาเหตุหลักเกิดจากต้นทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ ทำให้ความต้องการเงินลงทุนหมุนเวียนยังมีการเติบโตที่ดีอยู่