บลจ.อเบอร์ดีนมองนโยบายขึ้นดอกเบี้ยไทย เป็นไปค่อนข้างช้า สวนทางตลาดที่ขยับรอล่วงหน้าไปแล้ว 2 เดือน ระบุอาร์พีวันนี้ (16 ก.ค.) ขึ้นเท่าไหร่ไม่สำคัญ เพราะขยับอีก 0.25%หรือ 0.50% ก็ไม่มีผล มองตลาดตราสารหนี้ไทยเล็ก-ผลตอบแทนต่ำ นักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจนโยบายดอกเบี้ย แต่ยังมองภาพรวมบอนด์ตลาดเกิดใหม่น่าสนกว่า เหตุพื้นฐานเศรษฐกิจยังเติบโตสูง ด้านThaiBMA คาดปริมาณการซื้อขายตลาดตราสารหนี้ไทยในครึ่งหลังปีทรงตัว เหตุไม่มีปัจจัยในแง่บวกมากระตุ้นตลาด
นางสาวเคท หัตถีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด เปิดเผยว่า นโยบายการปรับดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นไปค่อนข้างช้า ผิดกับในอัตราดอกเบี้ยตลาดที่ปรับขึ้นไปล่วงหน้าแล้วทุกช่วงอายุตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ (16 ก.ค.) เราเชื่อว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีก 0.25% แต่เรามองว่าควรจะปรับ 0.50% เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของไทยเป็นไปค่อนข้างช้า
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% หรือ 0.50% ก็ไม่มีความแตกต่างกันหรือมีผลต่อตลาดมากนัก เพราะหากรอบนี้ขยับขึ้นเพียง 0.25% รอบหน้าก็ต้องปรับขึ้นอีก 0.25% หรือหากจะปรับขึ้นทีเดียว 0.50% ครั้งหน้า กนง. ก็จะไม่มีการปรับขึ้นอีก ซึ่งการปรับในระดับนี้ ยังเป็นสิ่งที่กนง. สามารถทำได้ เพราะถ้าหากปรับขึ้นไปถึง 1% อาจจะมากไปในช่วงที่การบริโภคในประเทศยังอยู่ในระดับปัจจุบัน
ด้านนายเควิน เดลี่ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน จำกัด กล่าวว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยยังได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากขนาดที่ไม่ใหญ่มากนักหากเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกทั้งยังไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางของไทยจะสามารถดูแลเงินเฟ้อได้ดีหรือไม่ เนื่องจากมีการขึ้นดอกเบี้ยค่อนข้างช้า ประกอบกับผลตอบแทนของพันธบัตรไทยเองไม่ได้สูงมากนัก หากเทียบกับประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ซึ่งโดยเฉลี่ยพันธบัตรรัฐบาลไทยให้ผลตอบแทนประมาณ 5.1-5.2% ต่างจากบราซิลที่ให้ผลตอบแทนถึง15% ตุรกี 21% หรืออินโดนีเซียที่ให้ผลตอบแทน 12%
“ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ไทยค่อนข้างแกว่งตัวมาก ดังนั้นเราจึงยังอยู่เฉยและให้น้ำหนักการลงทุนเพียง 1% แต่ช่วงนี้ดอกเบี้ยเริ่มลงและราคาเพิ่มแล้ว ทำให้เริ่มมีความน่าสนใจขึ้นมาบ้างแล้ว โดยในช่วง 1 ปีข้างหน้าเรามองว่าดอกเบี้ยไทยน่าจะขึ้นไปได้อีก 1% บวกลบ 0.25% ซึ่งธนาคารกลางของไทยเองคงไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้สูงกว่านี้ เพราะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ดีหากขึ้นดอกเบี้ยสูงเกินไปอาจเป็นปัญหาได้”นายเควินกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายเควินกล่าวว่า ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่หลายคนเป็นห่วงว่าจะมีปัญหาขึ้นอีกรอบ รวมถึงปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ตลาดตราสารหนี้ในประเทศเกิดใหม่ยังมีมีความน่าสนใจอยู่อย่างต่อเนื่อง และถือเป็นแอสเซทคลาสที่ทนทานต่อความผันผวนได้เป็นอย่างดี
โดยปัจจัยที่สนับสนุนความน่าสนใจของตลาดตราสารหนี้ในประเทศเกิดใหม่ มาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศเหล่านี้เอง เพราะถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีความเสี่ยงมากแต่ประเทศเหล่านี้ก็ยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคในประเทศซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นมาก จนสามารถเข้ามาพยุงเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ได้ โดยเฉพาะจีนที่เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะลดลงบ้างจากปีก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ในระดับที่สูงมาก ก็เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาที่ส่งออกสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมาก แล้วถึงแม้ที่ผ่านมา ราคาสินค้าจะปรับตัวลดลงมาบ้างแต่ก็ไม่ได้ส่งผลเสีย เพราะในบางกรณีทำให้เงินเฟ้อปรับลดลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ เชื่อว่าเรื่องของเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ แต่ที่ผ่านมาบางประเทศก็ได้แสดงความรับผิดชอบในส่วนนี้ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เช่น บราซิล ที่นโยบายของธนาคารกลางออกมาดี ด้วยการปรับดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่สำหรับประเทศเกิดใหม่ในแถบเอเชีย นักลงทุนต่างชาติค่อนข้างเห็นว่าขึ้นดอกเบี้ยช้าไปพอสมควร ซึ่งปัจจัยนี้เองทำให้นักลงทุนต่างชาติยังเป็นห่วงปัญหาการจัดการเงินเฟ้อของประเทศในเอเชียอยู่ อย่างไรก็ตาม ถือเป็นความท้าทายของธนาคารกลางของประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ว่าจะสามารถเข้ามาดูแลเรื่องเงินเฟ้อได้ดีแค่ไหน
“หลังจากนี้เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งเงินเฟ้อพื้นฐานและเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะผลกระทบจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และเมื่อราคาสินค้าเพื่อคนก็จะได้ค่าจ้างเพิ่มด้วย ซึ่งปัจจัยนี้จะเป็นผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออีกระรอก”นายเควินกล่าว
**ประเทศเกิดใหม่ศก.ยังขยายตัว**
นายเควินกล่าวว่า สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตประมาณ 6.5% ในขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะเติบโตประมาณ 1.5% แต่ที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวได้เพียง 0.5% ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ขยายตัวลดลงอาจจะอยู่ที่ 1% เท่านั้น
นางสาวเคทกล่าวต่อว่า จากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้ในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยในการลงทุนในตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่ ซึ่งบลจ.อเบอร์ดีนเองมีกองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์ ที่มีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ถึงแม้ที่ผ่านมาผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าวจะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ
“ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศเกิดใหม่อาจจะเป็นความกังวลหลัก แต่อย่างไรก็ตามกองทุนหลักที่ลงทุนในต่างประเทศมีสัดส่วนของการลงทุนในพันธบัตรที่อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐถึง 65-70% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐนั่นต่ำกว่ากลุ่มประเทศเกิดใหม่มาก ดังนั้นความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อจึงไม่สูงมากหากเทียบกับการลงทุนในสกุลเงินท้องถิ่น”นางสาวเคท
**ครึ่งปีหลังตลาดบอนด์ไม่คึกคัก**
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 คาดว่ายังคงมีการซื้อขายในปริมาณที่ใกล้เคียงกับครึ่งแรกของปี เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นให้การซื้อขายเพิ่มขึ้น โดยทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นนั้น ไม่ส่งผลกระทบในแง่บวกให้กับตลาดตราสารหนี้เท่าใดนัก ประกอบกับอุปทานในช่วงครึ่งหลังของปียังไม่มีอะไรโดดเด่นมากพอที่จะกระตุ้นให้ตลาดคึกคักอย่างเห็นได้ชัด
“ในส่วนนักลงทุนต่างประเทศคาดว่าจะยังคงมีอุปสงค์เข้ามาซื้อขายในตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะเบาบางลงกว่าช่วงครึ่งแรกของปี จากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) น่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบ้านเราไม่น่าจะขึ้นในอัตราที่แรงเท่ากับเฟด ดังนั้น นักลงทุนต่างประเทศอาจจะหันไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐ ถ้าผลตอบแทนน่าดึงดูดกว่า สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นไปได้อีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะปรับขึ้น”
ส่วนแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สำหรับตราสารหนี้ในตลาดแรก ปริมาณการออกตราสารหนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่ามีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 87% ด้วยมูลค่าการออกตราสารหนี้ใหม่ทั้งสิ้น 5,264,083.06 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. เป็นตราสารหนี้ที่มีปริมาณการออกตราสารหนี้ใหม่สูงสุดด้วยมูลค่า 4,120,769.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 117% รองลงมาได้แก่ ตราสารหนี้ระยะสั้น มูลค่า 550,218.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.38% สำหรับพันธบัตรรัฐบาลมีปริมาณการออกตราสารหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก ด้วยมูลค่า 133,097.87 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 17,511 ล้านบาทของปี 2550 สำหรับพันธบัตรต่างประเทศมีมูลค่าการออกใหม่ทั้งสิ้น 11,088 ล้านบาท
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า ในส่วนของหุ้นกู้ภาคเอกชน พบว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ภาคเอกชนออกหุ้นกู้ใหม่ทั้งสิ้น 131,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 71,809 ล้านบาทของปีก่อน โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นกลุ่มที่ออกหุ้นกู้มากที่สุด ด้วยมูลค่า 78,962 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 4,690 ล้านบาทอของช่วงเดียวกันเมื่อปี 2550 รองลงมาได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง มูลค่า 20,000 ล้านบาท หุ้นกู้ใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ได้อันดับความน่าเชื่อถือที่ AA ประมาณ 58% ของหุ้นกู้ที่ออกใหม่ทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีลงมา
ขณะที่ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่าทั้งสิ้น 20,197,362.84 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นปริมาณการซื้อแบบ Outright มูลค่า 8,573,321.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 77% และปริมาณการซื้อขายแบบ Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 70,273.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 39,953.60 ล้านบาท ของครึ่งแรกของปี 2550
“แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะการซื้อขายในตราสารหนี้ระยะยาว พบว่ามูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 6,136.24 ล้านบาท ลดลง 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การซื้อขายแบบ Outright กว่า 87% เป็นการซื้อขายในพันธบัตร ธปท. ด้วยมูลค่า 7,470,697.80 ล้านบาท รองลงมาได้แก่พันธบัตรรัฐบาล มูลค่า 667,066 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังตามลำดับ”
สำหรับหุ้นกู้ภาคเอกชนมีมูลค่าการซื้อขาย 42,869.98 ล้านบาท ซึ่งการซื้อขายในหุ้นกู้ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะเน้นซื้อขายหุ้นที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ A ขึ้นไป และอายุสั้นๆ ไม่เกิน 5 ปี ส่วนพันธบัตรรัฐวิสาหกิจยังคงมีการซื้อขายเบาบางด้วยมูลค่า 36,521.83 ล้านบาท ตราสารหนี้ระยะสั้น 17,516.75 ล้านบาท ส่วนพันธบัตรต่างประเทศถึงแม้จะมีปริมาณการออกใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 3 เท่า แต่มูลค่าการซื้อขายยังคงเบาบางหรืออยู่ที่ 2,163.10 ล้านบาท เนื่องจากส่วนใหญ่พันธบัตรรัฐบาลตางประเทศเป็นการซื้อขายในตลาดแรก และถือจนครบกำหนดมากกว่าจะนำมาซื้อขายในตลาดรองเหมือนกับตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ
“การซื้อขายตราสารหนี้ของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2551 ยังเป็นกรซื้อสุทธิ 55,383 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากภาครัฐยกเลิกมาตรการ 30% เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เห็นได้ชัดว่ามีปริมาณเข้าซื้อตราสารหนี้จาก FCO เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งให้มูลค่าถือครองตราสารหนี้ของ FCO ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 86,390 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน จากมูลค่า 47,220 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม” นายณัฐพล กล่าว
ส่วนผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มีความผันผวนตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลก และอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ในช่วงต้นปี กระแสความเชื่อมั่นว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับตัวลงจากผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐ (ซับไพรม์) และลามไปสู่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ส่งผลให้เฟดประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งด้วยกัน ทำให้หลายฝ่ายมองว่า ธปท.น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงในช่วงต้นปีเมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นปี 2550
“แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยทำให้ทิศทางการมองแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนไปจากเดิม และมีความไม่แน่นอนสูงที่ว่า ธปท.จะใช้มาตรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อหรือไม่ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และปรับขึ้นต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 พบว่า อัตราผลตอบแทนรัฐบาลอายุ 1 เดือนถึง 6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 8 ถึง 20 basis point อายุ 1 ถึง 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 55 ถึง 117 basis point อายุ 6 ถึง 10 ปีปรับเพิ่มขึ้น 105 ถึง 118 basis point และอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 99 ถึง 108 basis point
นายณัฐพล กล่าวว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันประกันเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อตลาดตราสารหนี้ โดยแนะนำว่านักลงทุนที่ไม่เคยลงทุนในตราสารหนี้ และรายย่อยควรมาลงทุนผ่านนักลงทุนสถาบัน เช่นการลงทุนผ่านกองทุนรวม เนื่องจากไม่ต้องรอคิวซื้อจากตัวแทนจำหน่าย และการซื้อตราสารหนี้เองจะต้องเสียภาษีด้วย ขณะที่การซื้อผ่านกองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น นักลงทุนจึงไม่ควรลงทุนเอง
ส่วนการที่รัฐบาลออกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพประชาชน 6 มาตรการ เพื่อมาช่วยเหลือประชาชนนั้น มองว่าจะสามารถพยุงภาวะเศรษฐกิจให้อัตราการเจริญเติบโตได้ที่ระดับ 5-6% เท่านั้น
นางสาวเคท หัตถีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด เปิดเผยว่า นโยบายการปรับดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นไปค่อนข้างช้า ผิดกับในอัตราดอกเบี้ยตลาดที่ปรับขึ้นไปล่วงหน้าแล้วทุกช่วงอายุตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ (16 ก.ค.) เราเชื่อว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีก 0.25% แต่เรามองว่าควรจะปรับ 0.50% เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของไทยเป็นไปค่อนข้างช้า
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% หรือ 0.50% ก็ไม่มีความแตกต่างกันหรือมีผลต่อตลาดมากนัก เพราะหากรอบนี้ขยับขึ้นเพียง 0.25% รอบหน้าก็ต้องปรับขึ้นอีก 0.25% หรือหากจะปรับขึ้นทีเดียว 0.50% ครั้งหน้า กนง. ก็จะไม่มีการปรับขึ้นอีก ซึ่งการปรับในระดับนี้ ยังเป็นสิ่งที่กนง. สามารถทำได้ เพราะถ้าหากปรับขึ้นไปถึง 1% อาจจะมากไปในช่วงที่การบริโภคในประเทศยังอยู่ในระดับปัจจุบัน
ด้านนายเควิน เดลี่ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน จำกัด กล่าวว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยยังได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากขนาดที่ไม่ใหญ่มากนักหากเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกทั้งยังไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางของไทยจะสามารถดูแลเงินเฟ้อได้ดีหรือไม่ เนื่องจากมีการขึ้นดอกเบี้ยค่อนข้างช้า ประกอบกับผลตอบแทนของพันธบัตรไทยเองไม่ได้สูงมากนัก หากเทียบกับประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ซึ่งโดยเฉลี่ยพันธบัตรรัฐบาลไทยให้ผลตอบแทนประมาณ 5.1-5.2% ต่างจากบราซิลที่ให้ผลตอบแทนถึง15% ตุรกี 21% หรืออินโดนีเซียที่ให้ผลตอบแทน 12%
“ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ไทยค่อนข้างแกว่งตัวมาก ดังนั้นเราจึงยังอยู่เฉยและให้น้ำหนักการลงทุนเพียง 1% แต่ช่วงนี้ดอกเบี้ยเริ่มลงและราคาเพิ่มแล้ว ทำให้เริ่มมีความน่าสนใจขึ้นมาบ้างแล้ว โดยในช่วง 1 ปีข้างหน้าเรามองว่าดอกเบี้ยไทยน่าจะขึ้นไปได้อีก 1% บวกลบ 0.25% ซึ่งธนาคารกลางของไทยเองคงไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้สูงกว่านี้ เพราะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ดีหากขึ้นดอกเบี้ยสูงเกินไปอาจเป็นปัญหาได้”นายเควินกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายเควินกล่าวว่า ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่หลายคนเป็นห่วงว่าจะมีปัญหาขึ้นอีกรอบ รวมถึงปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ตลาดตราสารหนี้ในประเทศเกิดใหม่ยังมีมีความน่าสนใจอยู่อย่างต่อเนื่อง และถือเป็นแอสเซทคลาสที่ทนทานต่อความผันผวนได้เป็นอย่างดี
โดยปัจจัยที่สนับสนุนความน่าสนใจของตลาดตราสารหนี้ในประเทศเกิดใหม่ มาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศเหล่านี้เอง เพราะถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีความเสี่ยงมากแต่ประเทศเหล่านี้ก็ยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคในประเทศซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นมาก จนสามารถเข้ามาพยุงเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ได้ โดยเฉพาะจีนที่เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะลดลงบ้างจากปีก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ในระดับที่สูงมาก ก็เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาที่ส่งออกสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมาก แล้วถึงแม้ที่ผ่านมา ราคาสินค้าจะปรับตัวลดลงมาบ้างแต่ก็ไม่ได้ส่งผลเสีย เพราะในบางกรณีทำให้เงินเฟ้อปรับลดลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ เชื่อว่าเรื่องของเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ แต่ที่ผ่านมาบางประเทศก็ได้แสดงความรับผิดชอบในส่วนนี้ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เช่น บราซิล ที่นโยบายของธนาคารกลางออกมาดี ด้วยการปรับดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่สำหรับประเทศเกิดใหม่ในแถบเอเชีย นักลงทุนต่างชาติค่อนข้างเห็นว่าขึ้นดอกเบี้ยช้าไปพอสมควร ซึ่งปัจจัยนี้เองทำให้นักลงทุนต่างชาติยังเป็นห่วงปัญหาการจัดการเงินเฟ้อของประเทศในเอเชียอยู่ อย่างไรก็ตาม ถือเป็นความท้าทายของธนาคารกลางของประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ว่าจะสามารถเข้ามาดูแลเรื่องเงินเฟ้อได้ดีแค่ไหน
“หลังจากนี้เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งเงินเฟ้อพื้นฐานและเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะผลกระทบจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และเมื่อราคาสินค้าเพื่อคนก็จะได้ค่าจ้างเพิ่มด้วย ซึ่งปัจจัยนี้จะเป็นผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออีกระรอก”นายเควินกล่าว
**ประเทศเกิดใหม่ศก.ยังขยายตัว**
นายเควินกล่าวว่า สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตประมาณ 6.5% ในขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะเติบโตประมาณ 1.5% แต่ที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวได้เพียง 0.5% ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ขยายตัวลดลงอาจจะอยู่ที่ 1% เท่านั้น
นางสาวเคทกล่าวต่อว่า จากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้ในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยในการลงทุนในตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่ ซึ่งบลจ.อเบอร์ดีนเองมีกองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์ ที่มีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ถึงแม้ที่ผ่านมาผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าวจะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ
“ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศเกิดใหม่อาจจะเป็นความกังวลหลัก แต่อย่างไรก็ตามกองทุนหลักที่ลงทุนในต่างประเทศมีสัดส่วนของการลงทุนในพันธบัตรที่อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐถึง 65-70% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐนั่นต่ำกว่ากลุ่มประเทศเกิดใหม่มาก ดังนั้นความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อจึงไม่สูงมากหากเทียบกับการลงทุนในสกุลเงินท้องถิ่น”นางสาวเคท
**ครึ่งปีหลังตลาดบอนด์ไม่คึกคัก**
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 คาดว่ายังคงมีการซื้อขายในปริมาณที่ใกล้เคียงกับครึ่งแรกของปี เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นให้การซื้อขายเพิ่มขึ้น โดยทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นนั้น ไม่ส่งผลกระทบในแง่บวกให้กับตลาดตราสารหนี้เท่าใดนัก ประกอบกับอุปทานในช่วงครึ่งหลังของปียังไม่มีอะไรโดดเด่นมากพอที่จะกระตุ้นให้ตลาดคึกคักอย่างเห็นได้ชัด
“ในส่วนนักลงทุนต่างประเทศคาดว่าจะยังคงมีอุปสงค์เข้ามาซื้อขายในตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะเบาบางลงกว่าช่วงครึ่งแรกของปี จากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) น่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบ้านเราไม่น่าจะขึ้นในอัตราที่แรงเท่ากับเฟด ดังนั้น นักลงทุนต่างประเทศอาจจะหันไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐ ถ้าผลตอบแทนน่าดึงดูดกว่า สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นไปได้อีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะปรับขึ้น”
ส่วนแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สำหรับตราสารหนี้ในตลาดแรก ปริมาณการออกตราสารหนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่ามีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 87% ด้วยมูลค่าการออกตราสารหนี้ใหม่ทั้งสิ้น 5,264,083.06 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. เป็นตราสารหนี้ที่มีปริมาณการออกตราสารหนี้ใหม่สูงสุดด้วยมูลค่า 4,120,769.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 117% รองลงมาได้แก่ ตราสารหนี้ระยะสั้น มูลค่า 550,218.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.38% สำหรับพันธบัตรรัฐบาลมีปริมาณการออกตราสารหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก ด้วยมูลค่า 133,097.87 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 17,511 ล้านบาทของปี 2550 สำหรับพันธบัตรต่างประเทศมีมูลค่าการออกใหม่ทั้งสิ้น 11,088 ล้านบาท
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า ในส่วนของหุ้นกู้ภาคเอกชน พบว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ภาคเอกชนออกหุ้นกู้ใหม่ทั้งสิ้น 131,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 71,809 ล้านบาทของปีก่อน โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นกลุ่มที่ออกหุ้นกู้มากที่สุด ด้วยมูลค่า 78,962 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 4,690 ล้านบาทอของช่วงเดียวกันเมื่อปี 2550 รองลงมาได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง มูลค่า 20,000 ล้านบาท หุ้นกู้ใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ได้อันดับความน่าเชื่อถือที่ AA ประมาณ 58% ของหุ้นกู้ที่ออกใหม่ทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีลงมา
ขณะที่ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่าทั้งสิ้น 20,197,362.84 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นปริมาณการซื้อแบบ Outright มูลค่า 8,573,321.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 77% และปริมาณการซื้อขายแบบ Outright มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 70,273.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 39,953.60 ล้านบาท ของครึ่งแรกของปี 2550
“แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะการซื้อขายในตราสารหนี้ระยะยาว พบว่ามูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 6,136.24 ล้านบาท ลดลง 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การซื้อขายแบบ Outright กว่า 87% เป็นการซื้อขายในพันธบัตร ธปท. ด้วยมูลค่า 7,470,697.80 ล้านบาท รองลงมาได้แก่พันธบัตรรัฐบาล มูลค่า 667,066 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังตามลำดับ”
สำหรับหุ้นกู้ภาคเอกชนมีมูลค่าการซื้อขาย 42,869.98 ล้านบาท ซึ่งการซื้อขายในหุ้นกู้ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะเน้นซื้อขายหุ้นที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ A ขึ้นไป และอายุสั้นๆ ไม่เกิน 5 ปี ส่วนพันธบัตรรัฐวิสาหกิจยังคงมีการซื้อขายเบาบางด้วยมูลค่า 36,521.83 ล้านบาท ตราสารหนี้ระยะสั้น 17,516.75 ล้านบาท ส่วนพันธบัตรต่างประเทศถึงแม้จะมีปริมาณการออกใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 3 เท่า แต่มูลค่าการซื้อขายยังคงเบาบางหรืออยู่ที่ 2,163.10 ล้านบาท เนื่องจากส่วนใหญ่พันธบัตรรัฐบาลตางประเทศเป็นการซื้อขายในตลาดแรก และถือจนครบกำหนดมากกว่าจะนำมาซื้อขายในตลาดรองเหมือนกับตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ
“การซื้อขายตราสารหนี้ของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2551 ยังเป็นกรซื้อสุทธิ 55,383 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากภาครัฐยกเลิกมาตรการ 30% เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เห็นได้ชัดว่ามีปริมาณเข้าซื้อตราสารหนี้จาก FCO เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งให้มูลค่าถือครองตราสารหนี้ของ FCO ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 86,390 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน จากมูลค่า 47,220 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม” นายณัฐพล กล่าว
ส่วนผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มีความผันผวนตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลก และอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ในช่วงต้นปี กระแสความเชื่อมั่นว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับตัวลงจากผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐ (ซับไพรม์) และลามไปสู่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ส่งผลให้เฟดประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งด้วยกัน ทำให้หลายฝ่ายมองว่า ธปท.น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงในช่วงต้นปีเมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นปี 2550
“แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยทำให้ทิศทางการมองแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนไปจากเดิม และมีความไม่แน่นอนสูงที่ว่า ธปท.จะใช้มาตรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อหรือไม่ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และปรับขึ้นต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 พบว่า อัตราผลตอบแทนรัฐบาลอายุ 1 เดือนถึง 6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 8 ถึง 20 basis point อายุ 1 ถึง 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 55 ถึง 117 basis point อายุ 6 ถึง 10 ปีปรับเพิ่มขึ้น 105 ถึง 118 basis point และอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 99 ถึง 108 basis point
นายณัฐพล กล่าวว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันประกันเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อตลาดตราสารหนี้ โดยแนะนำว่านักลงทุนที่ไม่เคยลงทุนในตราสารหนี้ และรายย่อยควรมาลงทุนผ่านนักลงทุนสถาบัน เช่นการลงทุนผ่านกองทุนรวม เนื่องจากไม่ต้องรอคิวซื้อจากตัวแทนจำหน่าย และการซื้อตราสารหนี้เองจะต้องเสียภาษีด้วย ขณะที่การซื้อผ่านกองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น นักลงทุนจึงไม่ควรลงทุนเอง
ส่วนการที่รัฐบาลออกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพประชาชน 6 มาตรการ เพื่อมาช่วยเหลือประชาชนนั้น มองว่าจะสามารถพยุงภาวะเศรษฐกิจให้อัตราการเจริญเติบโตได้ที่ระดับ 5-6% เท่านั้น