ตลาดหุ้นไทยผันผวนสุดๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 13 จุดในช่วงเข้า ก่อนเจอนักลงทุนต่างชาติกระหน่ำขายกว่า 3.7 พันล้านบาท กดดันดัชนีติดลบ 1.37 จุด ระบุตั้งแต่ต้นปีต่างชาติขายสุทธิแล้วกว่า 6.6 หมื่นล้านบาท ด้าน "ปกรณ์" ชี้ดัชนีตลาดหุ้นมีโอกาสรูดต่อ จากที่ผ่านมาลดลงถึง 17-18%
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวผันผวนค่อนข้างรุนแรง โดยช่วงเช้าปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 13 จุด ตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค แต่กลับมีแรงเทขายออกมาในช่วงบ่ายทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบ มีจุดต่ำสุดที่ 719.65 จุด สูงสุด 736.24 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 721.13 จุด ลดลง 1.37 จุด หรือ 0.19% มูลค่าการซื้อขาย 17,238.71 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง มียอดขายสุทธิสูงถึง 3,738.19 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,468.71 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,269.47 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดเดิมแล้วประมาณ 17-18% ซึ่งอยู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการกันเงินสำรอง 30% ขณะเดียวกันดัชนีตลาดหุ้นยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงได้อีก แต่คงไม่มากแล้ว เพราะปัจจุบันราคาหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทมีมูลค่าต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมแล้ว
"ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ ครึ่งวันเช้าปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นดาวโจนส์ และภูมิภาค หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ช่วงบ่ายดัชนีลดลง เพราะนักลงทุนยังไม่ค่อยมั่นใจสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องยุบพรรคพลังประชาชน (พปช.) หลังจากศาลฎีกาพิจารณาให้ใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรค ไปก่อนหน้าแล้ว"
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะต้องการประกาศงบการเงินครึ่งปีแรกของสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) มากน้อยแค่ไหน รวมถึงนโยบายการดูแลและแก้ปัญหาเรื่องอัตราเงินเฟ้อจะดำเนินการอย่างไร หลังจากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรอบที่กำหนดไว้ ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
"ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงน่าจะมาจากราคาหุ้นกลุ่มพลังงานที่ลดลง ทั้งที่ความจริงแล้วราคาหุ้นพลังงานน่าจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นราคาหุ้นที่ลดลงน่าจะเกิดจากนโยบายพลังงานของรัฐบาลที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของนักลงทุนที่มีการถือหุ้นในกลุ่มพลังงานมากกว่า 1 แสนคน"
นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิแล้วกว่า 66,299 ล้านบาท ทำให้ค่า P/E ลดลงมาอยู่ที่ 12-13 เท่า และผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ประมาณ 4% ซึ่งถือเป็นจุดที่น่าสนใจเข้ามาลงทุนได้แล้ว
"การขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติครั้งนี้แตกต่างจากการขายหุ้นในปีที่ผ่านมา ที่มีการขายแล้วนำเงินไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ แต่ในปีนี้เป็นการขายหุ้นแล้วนำเงินออกนอกประเทศ"
**นักลงทุนทิ้งแบงก์พลังงาน
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ผันผวนโดยในช่วงเข้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 13 จุด ซึ่งเป็นไปตามทิศทางภูมิภาคและจากปัจจัยทางการเมืองผ่อนคลายลง แต่ในช่วงบ่ายนักลงทุนมีการเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน ออกมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลง
ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังขายหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จากความกังวลเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น แม้ว่าปัจจัยทางการเมืองจะมีการคลี่คลายแต่จากยังมีประเด็นที่เป็นตัวแปรสำคัญที่จะต้องติดตามทำให้นักลงทุนมีความกังวลส่งผลให้ดัชนีปิดลดลง
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวได้ แต่หากปรับตัวลดลงคงปรับตัวลดลงไม่มาก จากที่ผ่านมาดัชนีปรับตัวมามากแล้วและหุ้นก็ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 720-725 จุด แนวต้านที่ระดับ 730-735 จุด
**รอสร้างฐานใหม่
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า ดัชนีตลาดห้นไทยผันผวน จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำให้นักลงทนุมีการเข้าเก็งกำไรในหุ้นขนส่ง รวมถึงเก็งกำไรงบการเงินไตรมาส 2/51 ของหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ แต่ในช่วงบ่ายมีแรงเทขายหุ้นออกมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการขายหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศทำให้ดัชนีปิดปรับตัวดลลงเล็กน้อย
ทั้งนี้ การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มไม่สูงจากการที่นักลงทุนยังมีความกังวลในเรื่องการเมืองในช่วงอีก 4-5 เดือนที่จะมีประเด็นในเรื่องการยุบพรรค และรัฐบาลถูแรงกดดันในเรื่องเขาพระวิหารที่จะกดดันให้นายกมีการลากออกทำให้ไม่มีเสถียรภาพการเมือง และแนวโน้มน้ำมันดิบจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความกังวลที่อิหร่านจะซ้อมรบ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวนในลักษณะปรับตัวลดลง ต่อเนื่องหากดัชนียังไม่สามารถสร้างฐานได้ ส่วนการที่จะมีการทำกำไรในหุ้นกลุ่มการเมืองเพื่อที่จะนำเงินไปเตรียมหาเสียงเลือกตั้งนั้นขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณจากที่กระบวนการจนถึงยุบพรรคต้องใช้เวลาอีกระยะ โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 700-720 จุด แนวต้านที่ระดับ 736 จุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวผันผวนค่อนข้างรุนแรง โดยช่วงเช้าปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 13 จุด ตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค แต่กลับมีแรงเทขายออกมาในช่วงบ่ายทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบ มีจุดต่ำสุดที่ 719.65 จุด สูงสุด 736.24 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 721.13 จุด ลดลง 1.37 จุด หรือ 0.19% มูลค่าการซื้อขาย 17,238.71 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง มียอดขายสุทธิสูงถึง 3,738.19 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,468.71 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,269.47 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดเดิมแล้วประมาณ 17-18% ซึ่งอยู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการกันเงินสำรอง 30% ขณะเดียวกันดัชนีตลาดหุ้นยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงได้อีก แต่คงไม่มากแล้ว เพราะปัจจุบันราคาหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทมีมูลค่าต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมแล้ว
"ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ ครึ่งวันเช้าปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นดาวโจนส์ และภูมิภาค หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ช่วงบ่ายดัชนีลดลง เพราะนักลงทุนยังไม่ค่อยมั่นใจสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องยุบพรรคพลังประชาชน (พปช.) หลังจากศาลฎีกาพิจารณาให้ใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรค ไปก่อนหน้าแล้ว"
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะต้องการประกาศงบการเงินครึ่งปีแรกของสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) มากน้อยแค่ไหน รวมถึงนโยบายการดูแลและแก้ปัญหาเรื่องอัตราเงินเฟ้อจะดำเนินการอย่างไร หลังจากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรอบที่กำหนดไว้ ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
"ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงน่าจะมาจากราคาหุ้นกลุ่มพลังงานที่ลดลง ทั้งที่ความจริงแล้วราคาหุ้นพลังงานน่าจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นราคาหุ้นที่ลดลงน่าจะเกิดจากนโยบายพลังงานของรัฐบาลที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของนักลงทุนที่มีการถือหุ้นในกลุ่มพลังงานมากกว่า 1 แสนคน"
นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิแล้วกว่า 66,299 ล้านบาท ทำให้ค่า P/E ลดลงมาอยู่ที่ 12-13 เท่า และผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ประมาณ 4% ซึ่งถือเป็นจุดที่น่าสนใจเข้ามาลงทุนได้แล้ว
"การขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติครั้งนี้แตกต่างจากการขายหุ้นในปีที่ผ่านมา ที่มีการขายแล้วนำเงินไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ แต่ในปีนี้เป็นการขายหุ้นแล้วนำเงินออกนอกประเทศ"
**นักลงทุนทิ้งแบงก์พลังงาน
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ผันผวนโดยในช่วงเข้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 13 จุด ซึ่งเป็นไปตามทิศทางภูมิภาคและจากปัจจัยทางการเมืองผ่อนคลายลง แต่ในช่วงบ่ายนักลงทุนมีการเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน ออกมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลง
ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังขายหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จากความกังวลเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น แม้ว่าปัจจัยทางการเมืองจะมีการคลี่คลายแต่จากยังมีประเด็นที่เป็นตัวแปรสำคัญที่จะต้องติดตามทำให้นักลงทุนมีความกังวลส่งผลให้ดัชนีปิดลดลง
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวได้ แต่หากปรับตัวลดลงคงปรับตัวลดลงไม่มาก จากที่ผ่านมาดัชนีปรับตัวมามากแล้วและหุ้นก็ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 720-725 จุด แนวต้านที่ระดับ 730-735 จุด
**รอสร้างฐานใหม่
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า ดัชนีตลาดห้นไทยผันผวน จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำให้นักลงทนุมีการเข้าเก็งกำไรในหุ้นขนส่ง รวมถึงเก็งกำไรงบการเงินไตรมาส 2/51 ของหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ แต่ในช่วงบ่ายมีแรงเทขายหุ้นออกมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการขายหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศทำให้ดัชนีปิดปรับตัวดลลงเล็กน้อย
ทั้งนี้ การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มไม่สูงจากการที่นักลงทุนยังมีความกังวลในเรื่องการเมืองในช่วงอีก 4-5 เดือนที่จะมีประเด็นในเรื่องการยุบพรรค และรัฐบาลถูแรงกดดันในเรื่องเขาพระวิหารที่จะกดดันให้นายกมีการลากออกทำให้ไม่มีเสถียรภาพการเมือง และแนวโน้มน้ำมันดิบจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความกังวลที่อิหร่านจะซ้อมรบ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวนในลักษณะปรับตัวลดลง ต่อเนื่องหากดัชนียังไม่สามารถสร้างฐานได้ ส่วนการที่จะมีการทำกำไรในหุ้นกลุ่มการเมืองเพื่อที่จะนำเงินไปเตรียมหาเสียงเลือกตั้งนั้นขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณจากที่กระบวนการจนถึงยุบพรรคต้องใช้เวลาอีกระยะ โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 700-720 จุด แนวต้านที่ระดับ 736 จุด