“ทียูเอฟ” แจงผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ตัวเลขกำไร-ยอดขาย เติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจโลก โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 13% ยอดขายรูปเงินบาทโต 15% และยอดขายรูปเงินเหรียญสหรัฐโตขึ้น 4% แสดงถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่ง มั่นใจยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมยืนยันปรับเป้าเติบโตสำหรับยอดขายรูปเงินบาทปีนี้จาก 8-10% เป็น 15%
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของไทย เผยถึงผลประกอบการไตรมาส 1 ประจำปี 2552 ว่า บริษัทสามารถสร้างอัตราการเติบโตของกำไร ยอดขายในรูปเงินบาท และยอดขายในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น นับเป็นผลการดำเนินงานที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี บริษัทยังสามารถทำกำไรสุทธิเท่ากับ 653 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิเท่ากับ 578 ล้านบาท และสามารถทำรายได้จากการขายในรูปเงินบาทเท่ากับ 17,666 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อนที่เท่ากับ 15,416 ล้านบาท ขณะที่รายได้จากการขายในรูปของเงินเหรียญสหรัฐก็เติบโตขึ้น 4 % จากยอดขายไตรมาส 1 ปี 2551 ที่เท่ากับ 478 ล้านเหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 ขณะเดียวกันรายได้รวมในไตรมาสนี้ก็เพิ่มขึ้นจาก 15,988 ล้านบาท ในปี 2551 มาอยู่ที่ 17,889 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12%
“ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกนี้ บริษัทยังคงมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงเวลานั้น ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงปัญหาที่ทั่วโลกยังต้องเผชิญในเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจ แต่บริษัทยังสามารถทำยอดขายในรูปของเงินเหรียญสหรัฐได้เพิ่มขึ้น ส่วนยอดขายในรูปของเงินบาทก็ยังมีการเติบโตขึ้นถึง 15% เช่นเดียวกัน และจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงถึง 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จึงส่งผลดีต่อยอดขายรูปเงินบาทในอีกทางหนึ่ง และสำหรับในไตรมาสนี้กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทมีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 และในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2551 นอกจากความสามารถในการบริหารผลกำไรจากการดำเนินงานแล้ว บริษัทยังสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดี ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่องของการบริหารทางการเงินที่ดีขึ้น เช่น การลดลงของสินค้าคงคลัง ส่งผลให้มีหนี้ที่ลดลง รวมถึงการควบคุมต้นทุนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วส่งผลให้กำไรสุทธิของไตรมาสนี้ดีกว่าปีที่แล้ว”
สำหรับสัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์ในไตรมาสแรกนี้ ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ามีสัดส่วนยอดขายมากที่สุดจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทคือ 48% รองลงมาได้แก่ กุ้งแช่แข็ง 17% ตามด้วยอาหารแมวบรรจุกระป๋อง 10% อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง 9% ปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุกระป๋อง 5% ขายในประเทศ 4% อาหารกุ้ง 4% และปลาหมึกแช่แข็ง 3% โดยมีตลาดส่งออกหลักอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา 51% รองลงมาคือ สหภาพยุโรป 15% ญี่ปุ่น 11% อัฟริกา 6% ออสเตรเลีย 3% เอเชีย 2% ตะวันออกกลาง 2% แคนาดา 1% และอเมริกาใต้ 1%
ทั้งนี้นายธีรพงศ์ ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศว่า “เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างชัดเจน จากตัวเลขภาพรวมการส่งออกช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ที่ติดลบถึง 20.6% ทำให้ทุกคนวิตกกังวลและเป็นห่วงเกี่ยวกับภาคการส่งออกของไทย แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้กระทบในทุกๆ ภาคของการส่งออก ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารนั้น แม้ว่าอำนาจการซื้อและการบริโภคจะชะลอลงกว่าเดิม แต่ก็ยังมีแนวโน้มของการเติบโตอยู่ เนื่องจากสินค้าอาหารเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการบริโภค สำหรับทียูเอฟนั้น เรายังเชื่อมั่นถึงโอกาสในการเติบโตของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โอกาสในการสร้างยอดขายและสร้างผลกำไรสำหรับ 3 ไตรมาสที่เหลือ ด้วยจุดแข็งทางด้านการมีฐานการตลาดที่แข็งแกร่ง เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในส่วนของผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม และจุดแข็งของบริษัทที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การมีกลุ่มพันธมิตรที่มีความเข้มแข็งและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีศักยภาพ และมีการควบคุมในเรื่องของต้นทุนต่างๆ อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี บริษัทมั่นใจว่า จุดแข็งต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้บริษัทสามารถสร้างยอดขายให้เติบโตบรรลุตามเป้าที่วางไว้ 15% ในปีนี้”
และกรณีของไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกที่กำลังเป็นที่วิตกไปทั่วโลกนั้น ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกอะไรที่จะส่งผลกระทบกับบริษัท เนื่องจากสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าประเภทอาหารทะเล และในทางกลับกันผู้บริโภคอาจจะหันมาบริโภคอาหารทะเลแทน แต่อย่างไรก็ดี สำหรับในเรื่องนี้ ทางบริษัทได้ให้ความสำคัญและมีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด นายธีรพงศ์กล่าวเสริม
และนายธีรพงศ์ยังกล่าวต่อว่า “และจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ทำให้บริษัท ไทร-ยูเนี่ยน ซีฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของทียูเอฟ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า “Chicken of the Sea” มีแผนงานที่จะพัฒนาในเรื่องของกระบวนการซัพพลายเชนและการบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยบริษัทมีแผนจะตั้งโรงงานใหม่ที่รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีแผนจะปรับโครงสร้างโรงงานที่อเมริกันซามัว ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้นอีกด้วย”
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของไทย เผยถึงผลประกอบการไตรมาส 1 ประจำปี 2552 ว่า บริษัทสามารถสร้างอัตราการเติบโตของกำไร ยอดขายในรูปเงินบาท และยอดขายในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น นับเป็นผลการดำเนินงานที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี บริษัทยังสามารถทำกำไรสุทธิเท่ากับ 653 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิเท่ากับ 578 ล้านบาท และสามารถทำรายได้จากการขายในรูปเงินบาทเท่ากับ 17,666 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อนที่เท่ากับ 15,416 ล้านบาท ขณะที่รายได้จากการขายในรูปของเงินเหรียญสหรัฐก็เติบโตขึ้น 4 % จากยอดขายไตรมาส 1 ปี 2551 ที่เท่ากับ 478 ล้านเหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 499 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552 ขณะเดียวกันรายได้รวมในไตรมาสนี้ก็เพิ่มขึ้นจาก 15,988 ล้านบาท ในปี 2551 มาอยู่ที่ 17,889 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12%
“ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกนี้ บริษัทยังคงมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงเวลานั้น ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงปัญหาที่ทั่วโลกยังต้องเผชิญในเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจ แต่บริษัทยังสามารถทำยอดขายในรูปของเงินเหรียญสหรัฐได้เพิ่มขึ้น ส่วนยอดขายในรูปของเงินบาทก็ยังมีการเติบโตขึ้นถึง 15% เช่นเดียวกัน และจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงถึง 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จึงส่งผลดีต่อยอดขายรูปเงินบาทในอีกทางหนึ่ง และสำหรับในไตรมาสนี้กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทมีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 และในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2551 นอกจากความสามารถในการบริหารผลกำไรจากการดำเนินงานแล้ว บริษัทยังสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดี ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่องของการบริหารทางการเงินที่ดีขึ้น เช่น การลดลงของสินค้าคงคลัง ส่งผลให้มีหนี้ที่ลดลง รวมถึงการควบคุมต้นทุนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วส่งผลให้กำไรสุทธิของไตรมาสนี้ดีกว่าปีที่แล้ว”
สำหรับสัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์ในไตรมาสแรกนี้ ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ามีสัดส่วนยอดขายมากที่สุดจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทคือ 48% รองลงมาได้แก่ กุ้งแช่แข็ง 17% ตามด้วยอาหารแมวบรรจุกระป๋อง 10% อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง 9% ปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลบรรจุกระป๋อง 5% ขายในประเทศ 4% อาหารกุ้ง 4% และปลาหมึกแช่แข็ง 3% โดยมีตลาดส่งออกหลักอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา 51% รองลงมาคือ สหภาพยุโรป 15% ญี่ปุ่น 11% อัฟริกา 6% ออสเตรเลีย 3% เอเชีย 2% ตะวันออกกลาง 2% แคนาดา 1% และอเมริกาใต้ 1%
ทั้งนี้นายธีรพงศ์ ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศว่า “เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างชัดเจน จากตัวเลขภาพรวมการส่งออกช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ที่ติดลบถึง 20.6% ทำให้ทุกคนวิตกกังวลและเป็นห่วงเกี่ยวกับภาคการส่งออกของไทย แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้กระทบในทุกๆ ภาคของการส่งออก ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารนั้น แม้ว่าอำนาจการซื้อและการบริโภคจะชะลอลงกว่าเดิม แต่ก็ยังมีแนวโน้มของการเติบโตอยู่ เนื่องจากสินค้าอาหารเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการบริโภค สำหรับทียูเอฟนั้น เรายังเชื่อมั่นถึงโอกาสในการเติบโตของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โอกาสในการสร้างยอดขายและสร้างผลกำไรสำหรับ 3 ไตรมาสที่เหลือ ด้วยจุดแข็งทางด้านการมีฐานการตลาดที่แข็งแกร่ง เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในส่วนของผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม และจุดแข็งของบริษัทที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การมีกลุ่มพันธมิตรที่มีความเข้มแข็งและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีศักยภาพ และมีการควบคุมในเรื่องของต้นทุนต่างๆ อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี บริษัทมั่นใจว่า จุดแข็งต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้บริษัทสามารถสร้างยอดขายให้เติบโตบรรลุตามเป้าที่วางไว้ 15% ในปีนี้”
และกรณีของไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกที่กำลังเป็นที่วิตกไปทั่วโลกนั้น ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกอะไรที่จะส่งผลกระทบกับบริษัท เนื่องจากสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าประเภทอาหารทะเล และในทางกลับกันผู้บริโภคอาจจะหันมาบริโภคอาหารทะเลแทน แต่อย่างไรก็ดี สำหรับในเรื่องนี้ ทางบริษัทได้ให้ความสำคัญและมีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด นายธีรพงศ์กล่าวเสริม
และนายธีรพงศ์ยังกล่าวต่อว่า “และจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ทำให้บริษัท ไทร-ยูเนี่ยน ซีฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของทียูเอฟ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า “Chicken of the Sea” มีแผนงานที่จะพัฒนาในเรื่องของกระบวนการซัพพลายเชนและการบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยบริษัทมีแผนจะตั้งโรงงานใหม่ที่รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีแผนจะปรับโครงสร้างโรงงานที่อเมริกันซามัว ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้นอีกด้วย”