xs
xsm
sm
md
lg

โพลชี้ “มนุษย์เงินเดือน” ชักหน้าไม่ถึงหลัง ผวาอนาคตการทำงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


โพล ม.หอการค้า เผยผลสำรวจมนุษย์เงินเดือน 80% มีหนี้เพิ่มขึ้น ไม่มั่นใจอนาคตในการทำงาน หวั่นถูกเลิกจ้าง และกู้เงินนอกระบบมากขึ้น

นายธนวรรธน์ พลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสภาพคล่องของแรงงานไทยจาก 1,212 ตัวอย่าง พบว่าแรงงานรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เริ่มมีปัญหาค่าครองชีพประจำวัน รายได้ลดลง และหาทางออกโดยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ

ทั้งนี้ จากสถิติภาระหนี้ของแรงงานไทยพบ 83.3% มีปัญหาหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อจำแนกประเภทของหนี้ที่มาจากการการใช้จ่ายทั่วไป ถึง 63.64% รองลงมาคือหนี้จากการซื้อบ้าน 22.41% รวมถึงมีภาระหนี้จากการซื้อบ้าน 8.93% ภาระที่เพิ่มขึ้นจึงทำให้แรงงานไทยเป็นหนี้เพิ่มขึ้น

โดยแหล่งเงินกู้ที่แรงงานไทยส่วนใหญ่พึ่งพาเงินจากบัตรเครดิต 42.57% รองลงมาก็คือจากญาติ 31.11%, กองทุนหมู่บ้าน 27.31%, ธนาคารพาณิชย์ 22.38%, นายทุน 18.65%, เพื่อน/คนรู้จัก 14.11% ซึ่งจากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นคนว่าเริ่มเป็นหนี้นอกระบบมากขึ้นจากเดิม 25-30% คนเป็นหนี้นอกนอกระบบเพิ่มขึ้นถึง 45%

ปัญหารายได้ที่ลดลงเกิดจากการลดชั่วโมงทำงานและลดการทำงานล่วงเวลา (OT) ของพนักงานในโรงงานส่วนใหญ่ ระดับการศึกษาชั้นมัธยม สัดส่วน 63% พนักงานดังกล่าวได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อทั้งภายในประเทศและการส่งออกลดลง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้พนักงานเหล่านี้มีความกังวลเกี่ยวกับความไม่มั่นคงในการทำงาน และยังมีโอกาสตกงานสูง

ทั้งนี้ เกิดจากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความเชื่อมั่นในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งยังไม่เห็นผลชัดเจน นอกจากนี้ คนยังไม่เชื่อมั่นในปัญหาทางการเมือง

นายธนวรรธน์ ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า รัฐบาลควรเข้ามาเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อช่วยกลุ่มพนักงานที่มีรายได้น้อยจะได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มคนมีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน เริ่มขาดการชำระหนี้ จึงควรช่วยด้านการเพิ่มค่าครองชีพของประชาชน โดยการขึ้นอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำอีก 5.6% หรือ เพิ่มขึ้นอีก 7-8 บาท จากเดิม 204-205 บาทต่อวัน ซึ่งจะช่วยพนักงานแล้วยังช่วยชะลอการเลิกจ้างได้

“รัฐบาลควรเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานให้ลดลงกว่าที่คาดว่าจะมีคนตกงานประมาณ 1-1.2 ล้านคน ซึ่งหากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจจากเช็กช่วยชาติ และมาตรการเรียนฟรี 15 ปี ที่เริ่มดำเนินการในไตรมาส 2 เริ่มเห็นผล อาจจะช่วยลดจำนวนคนตกงานลงได้”

โดยอัตราการว่างงานโดยรวม ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2552 อยู่ที่ 8-9 แสนคน แต่อัตราคนว่างงานลดลงจากเดือนละ 1 แสนคนมาเหลือเพียง 8.5 หมื่นคนในเดือนเมษายน หลังจากที่ผ่านไตรมาส 1 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดมาแล้ว

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐจะช่วยให้เศรษฐกิจช่วยเป็นเศรษฐกิจขยายตัว 1-2% จากที่คาดว่าจะติดลบทั้งปีประมาณ 3.5-4.3% แต่สถานการณ์ทางการเมืองยังมีผลต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภคและการท่องเที่ยว แต่หากทุกอย่างฟื้นกลับมาจะทำให้ปัญหาต่างๆ เบาบางลง และฟื้นตัวได้ในไตรมาส 4 หลังจากที่เริ่มเห็นสัญญาการฟื้นตัวด้านการส่งออกในไตรมาส 3

ส่วนการมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐในการตัดภาระด้านการส่งเงินประกันสังคม 6 เดือน จะช่วยชะลอการเลิกจ้างได้ เพราะลดภาระของนายจ้างและลูกค้า ในขณะที่ภาครับไม่เสียอะไร และหากรัฐมีแผนใช้เงินควรเตรียมมาตรการรองรับ
กำลังโหลดความคิดเห็น