ที่ประชุมครม.เลื่อนพิจารณากรอบเงินกู้ 9.4 หมื่นล้านชดเชยขาดดุล หนุนเพิ่มทุนเอดีบี 1.2 แสนล้านเหรียญภายใน 5 ปี เพิ่มสภาพคล่องประเทศสมาชิก ด้านกระทรวงพาณิชย์ขอเพิ่มโควตาจำนำข้าวโพดอีก 3 ล้านตันแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด พร้อมอนุมัติกองทุนอ้อยกู้ ธ.ก.ส. 450 ลบ.จ่ายเกษตรกร จ่ายเงินชดเชยรัฐวิสาหกิจ 3.4 พันล้านบาทที่แบกรับภาระจาก 6 มาตรการ 6 เดือน
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะคณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้(7 เม.ย.) ยังไม่ได้มีการพิจารณากรอบวงเงินกู้ 9.4 หมื่นล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุล แต่ทั้งนี้จะติดขัดปัญหาอะไรนั้น คงต้องไปสอบถามจากนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ว่าทำไมจึงไม่มีการเสนอวาระนี้เข้าสู่การพิจารณา
อย่างไรก็ตามที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มทุนให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) วงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ระยะเวลา 5 ปี (53-57) ตามกรอบข้อตกลงการประชุมรัฐมนตรีคลังเซียน ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องในเอดีบีนำไปปล่อยกู้ช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียน
***ขอเพิ่มโควต้าจำนำข้าวโพด
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอขอโควตารับจำนำมันสำปะหลังเพิ่มเติมอีก 3 ล้านตัน กิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตออกมาล้นตลาด จากที่ผ่านมารัฐเปิดรับจำนำไปแล้ว 10 ล้านตัน นอกจากนี้ได้รายงานผลการจัดงานไทยรวมพลังกู้เศรษฐกิจชาติ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-9 เม.ย.52 โดยตั้งเป้ามีเม็ดเงินสะพัดประมาณ 500-600 ล้านบาท จากเป้าเดิมที่ตั้งไว้ 200 ล้านบาท เพราะหลังจากการจัดงานผ่านไปสามวันปรากฎมีประชาชนให้ความสนใจมาจับจ่ายซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ทำให้มีเม็ดเงินสะพัดเกินกว่า 200 ล้านบาทแล้ว
ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่มีการร้องเรียนว่ามีบูทจำหน่ายสินค้าภายในงานตามโครงการบลู ช็อป ของกระทรวงพาณิชย์เกินราคาที่กำหนดไว้ 60 บาทนั้น ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ และเร่งรัดดูแลสั่งให้ผู้จำหน่ายปรับลดลงราคาสินค้าลงตามเงื่อนไขของกระทรวงพาณิชย์แล้ว อีกทั้งยังกำชับให้เจ้าหน้าที่กวดขันตรวจสอบเรื่องปัญหาราคาสินค้าอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สำหรับกระแสข่าวความขัดแย้งของกระทรวงพาณิชย์กับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวุ รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจำหน่ายข้าวโพดที่อยู่ในสต็อกรับจำนำของรัฐบาล จำนวน 4 แสนตันนั้น เป็นเพียงเรื่องของลิ้นกับฟันที่อาจจะมีกระทบกระทั่งกันบ้างเล็กน้อย ไม่ได้มีปัญหาอะไร ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องคงต้องเข้ามาพูดคุยกันมากขึ้น เชื่อว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้
***ไฟเขียวกองทุนอ้อยกู้เงินธ.ก.ส.
นายศุภรักษ์ ควรหา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. วันที่ 7 เม.ย.52 มีมติเห็นชอบอนุมัติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 450 ล้านบาท เพื่อให้กองทุนจ่ายเงินโดยตรงให้กับชาวไร่อ้อยแต่ละรายตามค่าอ้อยขั้นต่ำ เนื่องจากสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยร้องเรียนคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (กอน.) ว่าโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ ชัยมงคงค้างชำระ กลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 จำนวนกว่า 2,500 ครอบครัว
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจัดการดำเนินการและควบคุมกำกับดูแลการจัดเก็บ และจำหน่ายน้ำตาลทราย เพื่อชำระหนี้ให้กับ ธ.ก.ส. โดยกำหนดเวลาดำเนินการไม่เกิน 10 เดือน (มี.ค.-ธ.ค.52) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
***ชดเชยรสก.แบกภาระมาตรการ 6 เดือน
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีมติเห็นชอบการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) วงเงิน 1,174.711 ล้านบาท จากที่เสนอขอรับจำนวน 1,329.013 ล้านบาท และให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 2,355 ล้านบาท จากที่เสนอขอรับจำนวน 3,717.417 ล้านบาท เพื่อให้ทั้งสองหน่วยงานดำเนินการตามนโยบายการควบคุมราคาค่าน้ำและรถไฟ เป็นเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ให้ รฟท. ควรกำหนดความชัดเจนของการให้บริการเชิงสังคมและการให้เงินอุดหนุนดังกล่าวตามเงื่อนไขของรัฐบาล
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะคณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้(7 เม.ย.) ยังไม่ได้มีการพิจารณากรอบวงเงินกู้ 9.4 หมื่นล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุล แต่ทั้งนี้จะติดขัดปัญหาอะไรนั้น คงต้องไปสอบถามจากนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ว่าทำไมจึงไม่มีการเสนอวาระนี้เข้าสู่การพิจารณา
อย่างไรก็ตามที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มทุนให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) วงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ระยะเวลา 5 ปี (53-57) ตามกรอบข้อตกลงการประชุมรัฐมนตรีคลังเซียน ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องในเอดีบีนำไปปล่อยกู้ช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียน
***ขอเพิ่มโควต้าจำนำข้าวโพด
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอขอโควตารับจำนำมันสำปะหลังเพิ่มเติมอีก 3 ล้านตัน กิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตออกมาล้นตลาด จากที่ผ่านมารัฐเปิดรับจำนำไปแล้ว 10 ล้านตัน นอกจากนี้ได้รายงานผลการจัดงานไทยรวมพลังกู้เศรษฐกิจชาติ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-9 เม.ย.52 โดยตั้งเป้ามีเม็ดเงินสะพัดประมาณ 500-600 ล้านบาท จากเป้าเดิมที่ตั้งไว้ 200 ล้านบาท เพราะหลังจากการจัดงานผ่านไปสามวันปรากฎมีประชาชนให้ความสนใจมาจับจ่ายซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ทำให้มีเม็ดเงินสะพัดเกินกว่า 200 ล้านบาทแล้ว
ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่มีการร้องเรียนว่ามีบูทจำหน่ายสินค้าภายในงานตามโครงการบลู ช็อป ของกระทรวงพาณิชย์เกินราคาที่กำหนดไว้ 60 บาทนั้น ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ และเร่งรัดดูแลสั่งให้ผู้จำหน่ายปรับลดลงราคาสินค้าลงตามเงื่อนไขของกระทรวงพาณิชย์แล้ว อีกทั้งยังกำชับให้เจ้าหน้าที่กวดขันตรวจสอบเรื่องปัญหาราคาสินค้าอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สำหรับกระแสข่าวความขัดแย้งของกระทรวงพาณิชย์กับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวุ รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจำหน่ายข้าวโพดที่อยู่ในสต็อกรับจำนำของรัฐบาล จำนวน 4 แสนตันนั้น เป็นเพียงเรื่องของลิ้นกับฟันที่อาจจะมีกระทบกระทั่งกันบ้างเล็กน้อย ไม่ได้มีปัญหาอะไร ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องคงต้องเข้ามาพูดคุยกันมากขึ้น เชื่อว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้
***ไฟเขียวกองทุนอ้อยกู้เงินธ.ก.ส.
นายศุภรักษ์ ควรหา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. วันที่ 7 เม.ย.52 มีมติเห็นชอบอนุมัติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 450 ล้านบาท เพื่อให้กองทุนจ่ายเงินโดยตรงให้กับชาวไร่อ้อยแต่ละรายตามค่าอ้อยขั้นต่ำ เนื่องจากสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยร้องเรียนคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (กอน.) ว่าโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ ชัยมงคงค้างชำระ กลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 จำนวนกว่า 2,500 ครอบครัว
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจัดการดำเนินการและควบคุมกำกับดูแลการจัดเก็บ และจำหน่ายน้ำตาลทราย เพื่อชำระหนี้ให้กับ ธ.ก.ส. โดยกำหนดเวลาดำเนินการไม่เกิน 10 เดือน (มี.ค.-ธ.ค.52) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
***ชดเชยรสก.แบกภาระมาตรการ 6 เดือน
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีมติเห็นชอบการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) วงเงิน 1,174.711 ล้านบาท จากที่เสนอขอรับจำนวน 1,329.013 ล้านบาท และให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 2,355 ล้านบาท จากที่เสนอขอรับจำนวน 3,717.417 ล้านบาท เพื่อให้ทั้งสองหน่วยงานดำเนินการตามนโยบายการควบคุมราคาค่าน้ำและรถไฟ เป็นเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ให้ รฟท. ควรกำหนดความชัดเจนของการให้บริการเชิงสังคมและการให้เงินอุดหนุนดังกล่าวตามเงื่อนไขของรัฐบาล