ครม.เศรษฐกิจผ่านแผนกระตุ้นรอบ 2 ปีงบประมาณ 53-54 ใช้เม็ดเงิน 1.56 ล้านล้าน เพิ่มจากกรอบที่สภาพัฒน์เสนออีก 1.6 แสนล้าน หวังดันจีดีโตได้ปีละ 5% เกิดการจ้างงานใหม่ 1.6 ล้านคน ภายใน 3 ปี "มาร์ค" ปัดกู้เพิ่ม 400 ล้านดอลลาร์ จากจีน หวังอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจฉาบฉวยแต่จะนำไปสู่การพัฒนายั่งยืน ดึงสังคมมีส่วนรวมขับเคลื่อนนโยบาย
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีด้านศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ว่า ที่ประชุมฯ เห็นชอบกรอบของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ภายใต้วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท ที่จะใช้ในช่วงปีงบประมาณ 2553 ถึงปี 2555 ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยผลักดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในระยะเวลาดังกล่าวเติบโตได้อย่างน้อยปีละ 5% และทำให้เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 1.6 ล้านคน ภายใน 3 ปี
ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเวลา 3 ปีวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจรอบ 2 มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ เป็นการเพิ่มแรงกระตุ้นให้กับเศรษฐกิจจากการที่รัฐเพิ่มการลงทุนประมาณ 5% ของ GDP สร้างตำแหน่งงานใหม่ อีก 1.6 ล้านคนภายใน 3 ปี และกระจายการลงทุนทางด้านการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานไปสู่ชนบท
ภายใต้แผนฟื้นฟูระยะที่ 2 มีโครงการที่สำคัญทั้งหมด 7 แผนงาน ประกอบด้วย 1.แผนงานปรับปรุงและพัฒนาบริหารสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทันสมัยและจำเป็นของการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน วงเงิน 1.14 ล้านบาท 2.แผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการกระจายน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อกาเรกษตร น้ำเพื่ออุตสาหกรรม และประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท 3.แผนงานลงทุนเพือการยกะดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระดับชุมชนและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท 4.แผนงานยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท 5.แผนงานพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท 6.แผนงานปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุข วงเงิน 9.2 พันล้านบาท และ 7.แผนงานเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว วงเงิน 6.6 พันล้านบาท
สำหรับแหล่งเงินกู้ที่จะนำมาใช้ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ วานนี้ ยังมีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมีนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีหน้าที่พิจารณาแหล่งที่มาของเงินทุนว่าจะมาจากส่วนใดบ้าง เช่น งบประมาณ หรือ การกู้จากในหรือต่างประเทศ หรือการทำโครงการในรูปแบบการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน(Public Private Partnership:PPP) คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณารายละเอียดโครงการทั้งหมด และคัดเลือกโครงการ จัดลำดับความสำคัญ รวมทั้งพิจารณาวงเงินที่เหมาะสมของแต่ละโครงการ โดยให้กรอบระยะเวลาของคณะกรรมการชุดนี้ไว้ 30 วัน และนำกลับมารายงานต่อที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ก่อนที่จะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป อย่างไรดี ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ได้ตั้งข้อสังเกตจำนวนเม็ดเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการที่อยู่ในแผนฟื้นฟูรอบ 2 ว่าอาจจะมีข้อจำกัด 2 ประการ คือ กรอบวินัยการคลัง และควรจะต้องมั่นใจว่าแต่ละโครงการหากอนุมัติแล้วจะสามารถดำเนินการได้จริง ไม่ใช่เป็นโครงการขายฝัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ยังได้มีการทบทวนภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจไทย ซึ่งเห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออก การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงได้รับทราบยอดผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 มีทั้งสิ้น 878,900 คน หรือเพิ่มขึ้น 247,700 คน จากเดือนมกราคม 2551
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ถึงกระแสข่าวว่า รัฐบาลเตรียมขอกู้เงิน จำนวน 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำมาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ตนเองยืนยันว่าไม่มีการคุยกันในวันนี้ เพียงแต่ที่รัฐบาลจะเสนอต่อที่ประชุมสภา มีเพียงธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น วงเงิน 70,000 ล้านบาท เท่านั้น ส่วนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน จะเข้าเยี่ยมคารวะช่วงบ่ายวันนี้ เนื่องจากจะต้องมีการพบปะกับผู้นำจีน ในช่วงการประชุมอาเซียน +3 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่เมืองพัทยา
ทั้งนี้ สศช.ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกกว่าจะฟื้นตัวได้ภายในปลายปี 52 หรือกลางปี 53 ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2-3 ปีในการที่จะเข้าสู่การขยายตัวตามปกติ ดังนั้นเศรษฐกิจของไทยในปี 53-55 จะเติบโตได้ที่ 2-3%,3-4% และ 4-5% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพในการขยายตัวระยะปานกลางของประเทศ ขณะที่การว่างงานในปี 51 จะเพิ่มมากขึ้นเป็น 1.3 ล้านคนในปี 51 และมีแนวโน้มยืดเยื้ออย่างต่อเนื่อง จึงต้องจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ในอนาคตโดยการลงทุนของภาครัฐ และโครงการที่จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในอนาคตและสร้างโอกาสให้กับเอกชนในการลงทุน
“เห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออก การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงได้รับทราบยอดผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 มีทั้งสิ้น 878,900 คน หรือเพิ่มขึ้น 247,700 คน จากเดือนมกราคม 2551” นายอำพนกล่าว
มาร์คหวังอัดฉีดฉาบฉวยแต่ยั่งยืน
วานนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวในการแสดงปาฐกถาพิเศษ “การขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนท้องถิ่น” ว่า การแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนั้นจะต้องระดมพลังของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนที่เป็นหน่วยพื้นฐานสำคัญในการชี้ขาดการขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่น ทั้งนี้ การที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วม คือ หัวใจของการกระจายอำนาจ ซึ่งแนวทางที่ใช้อยู่ถือว่าถูกต้องแล้วและจะดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนกว่าจะเป็นผลต้องใช้เวลานานนับ 10 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นแบบในการมีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรการแก้วิกฤตของรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งแผนที่ 2 และ 3ที่จะออกมาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า จะมุ่งเน้นการลงทุนและการพัฒนาด้านต่างๆ แต่ยอมรับว่า แผนที่ 1 ที่ออกไป เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินเนื่องจากไม่มีทางเลือกเพราะวิกฤตมีความรุนแรงมาก ซึ่งในวันที่ 26 มี.ค. จะมีการส่งเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท ตามโครงการชุมชนพอเพียงด้วย
“รัฐบาลให้การดูแลปัญหาเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้บานปลายจนกลายเป็นวิกฤตสังคม จนอาจนำมาสู่การล่มสลายของระบบ สำหรับธนาคารต้นไม้ เป็นรูปแบบการปลูกต้นไม้ใช้หนี้หรือการปลูกต้นไม้แล้วมีค่าตอบแทนถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องสนับสนุน” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุจากที่คิดว่าเป็นการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ แต่ที่แท้จริงแล้วถือเป็นเบี้ยความกตัญญูที่ได้ตอบแทนผู้สูงอายุที่ได้ทำประโยชน์เพื่อชาติบ้านเมือง ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีชัดเจนว่าเงินอาจไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องมุ่งไปที่การสร้างความสุข แม้จะต้องพบกับภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจแต่จะต้องทดแทนได้ด้วยการมีสุขภาวะ สามารถพึ่งพิงต้นเองได้ ขณะที่รัฐบาลก็จะพยายามทุ่มเทกำลังอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหา
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีด้านศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ว่า ที่ประชุมฯ เห็นชอบกรอบของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ภายใต้วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท ที่จะใช้ในช่วงปีงบประมาณ 2553 ถึงปี 2555 ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยผลักดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในระยะเวลาดังกล่าวเติบโตได้อย่างน้อยปีละ 5% และทำให้เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 1.6 ล้านคน ภายใน 3 ปี
ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเวลา 3 ปีวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจรอบ 2 มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ เป็นการเพิ่มแรงกระตุ้นให้กับเศรษฐกิจจากการที่รัฐเพิ่มการลงทุนประมาณ 5% ของ GDP สร้างตำแหน่งงานใหม่ อีก 1.6 ล้านคนภายใน 3 ปี และกระจายการลงทุนทางด้านการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานไปสู่ชนบท
ภายใต้แผนฟื้นฟูระยะที่ 2 มีโครงการที่สำคัญทั้งหมด 7 แผนงาน ประกอบด้วย 1.แผนงานปรับปรุงและพัฒนาบริหารสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทันสมัยและจำเป็นของการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน วงเงิน 1.14 ล้านบาท 2.แผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการกระจายน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อกาเรกษตร น้ำเพื่ออุตสาหกรรม และประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท 3.แผนงานลงทุนเพือการยกะดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระดับชุมชนและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท 4.แผนงานยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท 5.แผนงานพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท 6.แผนงานปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุข วงเงิน 9.2 พันล้านบาท และ 7.แผนงานเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว วงเงิน 6.6 พันล้านบาท
สำหรับแหล่งเงินกู้ที่จะนำมาใช้ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ วานนี้ ยังมีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมีนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีหน้าที่พิจารณาแหล่งที่มาของเงินทุนว่าจะมาจากส่วนใดบ้าง เช่น งบประมาณ หรือ การกู้จากในหรือต่างประเทศ หรือการทำโครงการในรูปแบบการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน(Public Private Partnership:PPP) คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณารายละเอียดโครงการทั้งหมด และคัดเลือกโครงการ จัดลำดับความสำคัญ รวมทั้งพิจารณาวงเงินที่เหมาะสมของแต่ละโครงการ โดยให้กรอบระยะเวลาของคณะกรรมการชุดนี้ไว้ 30 วัน และนำกลับมารายงานต่อที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ก่อนที่จะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป อย่างไรดี ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ได้ตั้งข้อสังเกตจำนวนเม็ดเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการที่อยู่ในแผนฟื้นฟูรอบ 2 ว่าอาจจะมีข้อจำกัด 2 ประการ คือ กรอบวินัยการคลัง และควรจะต้องมั่นใจว่าแต่ละโครงการหากอนุมัติแล้วจะสามารถดำเนินการได้จริง ไม่ใช่เป็นโครงการขายฝัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ยังได้มีการทบทวนภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจไทย ซึ่งเห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออก การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงได้รับทราบยอดผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 มีทั้งสิ้น 878,900 คน หรือเพิ่มขึ้น 247,700 คน จากเดือนมกราคม 2551
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ถึงกระแสข่าวว่า รัฐบาลเตรียมขอกู้เงิน จำนวน 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำมาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ตนเองยืนยันว่าไม่มีการคุยกันในวันนี้ เพียงแต่ที่รัฐบาลจะเสนอต่อที่ประชุมสภา มีเพียงธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น วงเงิน 70,000 ล้านบาท เท่านั้น ส่วนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน จะเข้าเยี่ยมคารวะช่วงบ่ายวันนี้ เนื่องจากจะต้องมีการพบปะกับผู้นำจีน ในช่วงการประชุมอาเซียน +3 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่เมืองพัทยา
ทั้งนี้ สศช.ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกกว่าจะฟื้นตัวได้ภายในปลายปี 52 หรือกลางปี 53 ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2-3 ปีในการที่จะเข้าสู่การขยายตัวตามปกติ ดังนั้นเศรษฐกิจของไทยในปี 53-55 จะเติบโตได้ที่ 2-3%,3-4% และ 4-5% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพในการขยายตัวระยะปานกลางของประเทศ ขณะที่การว่างงานในปี 51 จะเพิ่มมากขึ้นเป็น 1.3 ล้านคนในปี 51 และมีแนวโน้มยืดเยื้ออย่างต่อเนื่อง จึงต้องจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ในอนาคตโดยการลงทุนของภาครัฐ และโครงการที่จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในอนาคตและสร้างโอกาสให้กับเอกชนในการลงทุน
“เห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออก การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงได้รับทราบยอดผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 มีทั้งสิ้น 878,900 คน หรือเพิ่มขึ้น 247,700 คน จากเดือนมกราคม 2551” นายอำพนกล่าว
มาร์คหวังอัดฉีดฉาบฉวยแต่ยั่งยืน
วานนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวในการแสดงปาฐกถาพิเศษ “การขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนท้องถิ่น” ว่า การแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนั้นจะต้องระดมพลังของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนที่เป็นหน่วยพื้นฐานสำคัญในการชี้ขาดการขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่น ทั้งนี้ การที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วม คือ หัวใจของการกระจายอำนาจ ซึ่งแนวทางที่ใช้อยู่ถือว่าถูกต้องแล้วและจะดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนกว่าจะเป็นผลต้องใช้เวลานานนับ 10 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นแบบในการมีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรการแก้วิกฤตของรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งแผนที่ 2 และ 3ที่จะออกมาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า จะมุ่งเน้นการลงทุนและการพัฒนาด้านต่างๆ แต่ยอมรับว่า แผนที่ 1 ที่ออกไป เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินเนื่องจากไม่มีทางเลือกเพราะวิกฤตมีความรุนแรงมาก ซึ่งในวันที่ 26 มี.ค. จะมีการส่งเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท ตามโครงการชุมชนพอเพียงด้วย
“รัฐบาลให้การดูแลปัญหาเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้บานปลายจนกลายเป็นวิกฤตสังคม จนอาจนำมาสู่การล่มสลายของระบบ สำหรับธนาคารต้นไม้ เป็นรูปแบบการปลูกต้นไม้ใช้หนี้หรือการปลูกต้นไม้แล้วมีค่าตอบแทนถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องสนับสนุน” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุจากที่คิดว่าเป็นการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ แต่ที่แท้จริงแล้วถือเป็นเบี้ยความกตัญญูที่ได้ตอบแทนผู้สูงอายุที่ได้ทำประโยชน์เพื่อชาติบ้านเมือง ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีชัดเจนว่าเงินอาจไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องมุ่งไปที่การสร้างความสุข แม้จะต้องพบกับภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจแต่จะต้องทดแทนได้ด้วยการมีสุขภาวะ สามารถพึ่งพิงต้นเองได้ ขณะที่รัฐบาลก็จะพยายามทุ่มเทกำลังอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหา