บลจ.เอ็มเอฟซี จับมือกระทรวงศึกษาธิการ ให้คำปรึกษาแก้หนี้ครูทั้งในและนอกระบบกว่า 1.73 แสนล้านบาท จากครูทั่วประเทศประมาณ 1 ล้านคน "พิชิต" ชี้รัฐต้องแก้ปัญหาควบคู่ 2 ทาง ทั้งลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ หวั่นหากปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรัง อาจกระทบต่อคุณภาพของการศึกษาในอนาคต ระบุแนวทางเบื้องต้น ต้องใช้เครื่องมือด้านตลาดทุนเข้าช่วย เน้นลดต้นทุนจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย คาดเห็นความชัดเจน และทำได้ภายในปีนี้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าไปให้คำปรึกษากับกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ครูทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมูลหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบสถาบันการเงินรวมกันกว่า 1.73 แสนล้านบาท จากจำนวนครูทั้งประเทศกว่า 1 ล้านคน โดยแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว กำลังอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้ครูเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งมีสาเหตุหลักเพราะมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน และถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่ควรจะได้รับการแก้ไข โดยแนวทางในการแก้ไขนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการจะต้องไปดูเรื่องของการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครูไปควบคู่กันทั้ง 2 ทาง เพราะหากปล่อยให้ครูมีปัญหาเรื่องหนี้อยู่ในชีวิตประจำวันต่อไป อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษาและคุณภาพของเด็กที่ผลิตออกมาได้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับรายจ่ายของครูมีส่วนหนึ่งที่เป็นหนี้ และตัวที่มีปัญหา คือหนี้นอกระบบ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งปัญหาหนี้ของครู เราคงแก้ไขได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น เช่น ในส่วนที่ไปกู้มาจากธนาคารออมสิน ซึ่งในช่วงนั้นอาจจะไปกู้ยืมมาที่ดอกเบี้ยสูงในขณะนั้น ตรงนี้เป็นปัญหาทางเทคนิคที่สามารถจัดโครงสร้างทางการเงินใหม่เพื่อให้ครูมีความสามารถที่จะผ่อนชำระหนี้ได้ เช่น มีระยะเวลาปลอดหนี้ หรือยืดระยะเวลาการในการผ่อนชำระให้ยาวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ของครูลดลงและเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ให้ครูเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของหนี้นอกระบบจะต้องแก้ไขด้วยความระมัดระวัง ซึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้ต้องพยายามที่จะนำกลับเข้ามาในระบบให้ได้ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการนำเงินในระบบไปชำระหนี้นอกระบบ โดยไม่ได้ครูมีการก่อหนี้ต่อ ซึ่งต้องมีแนวทางในการบริหารจัดการ ซึงโจทย์ก็คือ ต้องทำให้ต้นทุนทางการเงินของครูถูกลง ซึ่งจะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยที่ครูจะจ่ายลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้่ ระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ อาจจะต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การยืดหนี้ออกไป และอาจจะต้องมีช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้สถาบันการเงินอาจจะทำไม่ได้ ดังนั้น อาจจะต้องใช้เครื่องมือทางการเงินในตลาดเงินตลาดทุนเข้ามาช่วย ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือของธนาคารพาณิชย์ตามปกติ เพื่อจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลงและมีวิธีการคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
"ในกระบวนการลดรายจ่าย ในส่วนของ หนี้ เป็นปัญหาเหมือนมะเร็ง โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ซึ่งหากปล่อยเอาไว้ จะทำให้พอกพูดขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ในส่วนนี้ สามารถแก้ไขได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการปรับโครงสร้างหนี้ครูโดยผ่านระบบธนาคารพาณิชย์อาจจะมีข้อจำกัด เพราะปกติการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ จะมีต้นทุนทางการเงินที่ต้องนำมาคิดพิจารณาประกอบ เช่น ต้นทุนเงินฝาก ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ บวกด้วยกำไรที่แบงก์ต้องการ ซึ่งจากต้นทุนเหล่านี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งหากภาครัฐมีความตั้งใจที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครูโดยใช้เครื่องมือในตลาดเงินตลาดทุนแล้ว น่าจะช่วยให้ต้นทุนทางการเงินถูกลงได้ เพราะในส่วนของความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และกำไรนั้นรัฐสามารถลดลงได้
"ในการเข้าไปแก้ไขปัญหานั้น ต้องใช้เครื่องมือทางด้านตลาดทุนซึ่งไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้กับระบบธนาคารเข้าไปช่วย เพื่อให้สามารถบรรลุวัตุประสงค์ในการคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งเป็นอัตราที่ครูสามารถจ่ายได้"นายพิชิตกล่าว
โดยในส่วนของต้นทุนทางการเงินนั้น หากภาครัฐสามารถจะหาแหล่งเงินทุนระยะยาวได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงมากนัก เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาล อายุ 30 ปี ที่ดอกเบี้ย 5% ตรงนี้ก็จะเป็นแหล่งเงินทุนของครูที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ และดอกเบี้ยนอกระบบค่อนข้างมาก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรูปแบบของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าง ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างทำการศึกษาอยู่ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปและทำได้ภายในปีนี้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับแนวทางในการปรับโครงสรางหนี้ครูเอง หากทำได้ ก็สามารถนำไปใช้กับองค์กรรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ของรัฐบาลได้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าไปให้คำปรึกษากับกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ครูทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมูลหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบสถาบันการเงินรวมกันกว่า 1.73 แสนล้านบาท จากจำนวนครูทั้งประเทศกว่า 1 ล้านคน โดยแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว กำลังอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้ครูเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งมีสาเหตุหลักเพราะมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน และถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่ควรจะได้รับการแก้ไข โดยแนวทางในการแก้ไขนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการจะต้องไปดูเรื่องของการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครูไปควบคู่กันทั้ง 2 ทาง เพราะหากปล่อยให้ครูมีปัญหาเรื่องหนี้อยู่ในชีวิตประจำวันต่อไป อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษาและคุณภาพของเด็กที่ผลิตออกมาได้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับรายจ่ายของครูมีส่วนหนึ่งที่เป็นหนี้ และตัวที่มีปัญหา คือหนี้นอกระบบ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งปัญหาหนี้ของครู เราคงแก้ไขได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น เช่น ในส่วนที่ไปกู้มาจากธนาคารออมสิน ซึ่งในช่วงนั้นอาจจะไปกู้ยืมมาที่ดอกเบี้ยสูงในขณะนั้น ตรงนี้เป็นปัญหาทางเทคนิคที่สามารถจัดโครงสร้างทางการเงินใหม่เพื่อให้ครูมีความสามารถที่จะผ่อนชำระหนี้ได้ เช่น มีระยะเวลาปลอดหนี้ หรือยืดระยะเวลาการในการผ่อนชำระให้ยาวขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ของครูลดลงและเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ให้ครูเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของหนี้นอกระบบจะต้องแก้ไขด้วยความระมัดระวัง ซึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้ต้องพยายามที่จะนำกลับเข้ามาในระบบให้ได้ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการนำเงินในระบบไปชำระหนี้นอกระบบ โดยไม่ได้ครูมีการก่อหนี้ต่อ ซึ่งต้องมีแนวทางในการบริหารจัดการ ซึงโจทย์ก็คือ ต้องทำให้ต้นทุนทางการเงินของครูถูกลง ซึ่งจะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยที่ครูจะจ่ายลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้่ ระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ อาจจะต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การยืดหนี้ออกไป และอาจจะต้องมีช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้สถาบันการเงินอาจจะทำไม่ได้ ดังนั้น อาจจะต้องใช้เครื่องมือทางการเงินในตลาดเงินตลาดทุนเข้ามาช่วย ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือของธนาคารพาณิชย์ตามปกติ เพื่อจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลงและมีวิธีการคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
"ในกระบวนการลดรายจ่าย ในส่วนของ หนี้ เป็นปัญหาเหมือนมะเร็ง โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ซึ่งหากปล่อยเอาไว้ จะทำให้พอกพูดขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ในส่วนนี้ สามารถแก้ไขได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการปรับโครงสร้างหนี้ครูโดยผ่านระบบธนาคารพาณิชย์อาจจะมีข้อจำกัด เพราะปกติการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ จะมีต้นทุนทางการเงินที่ต้องนำมาคิดพิจารณาประกอบ เช่น ต้นทุนเงินฝาก ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ บวกด้วยกำไรที่แบงก์ต้องการ ซึ่งจากต้นทุนเหล่านี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งหากภาครัฐมีความตั้งใจที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครูโดยใช้เครื่องมือในตลาดเงินตลาดทุนแล้ว น่าจะช่วยให้ต้นทุนทางการเงินถูกลงได้ เพราะในส่วนของความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และกำไรนั้นรัฐสามารถลดลงได้
"ในการเข้าไปแก้ไขปัญหานั้น ต้องใช้เครื่องมือทางด้านตลาดทุนซึ่งไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้กับระบบธนาคารเข้าไปช่วย เพื่อให้สามารถบรรลุวัตุประสงค์ในการคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งเป็นอัตราที่ครูสามารถจ่ายได้"นายพิชิตกล่าว
โดยในส่วนของต้นทุนทางการเงินนั้น หากภาครัฐสามารถจะหาแหล่งเงินทุนระยะยาวได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงมากนัก เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาล อายุ 30 ปี ที่ดอกเบี้ย 5% ตรงนี้ก็จะเป็นแหล่งเงินทุนของครูที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ และดอกเบี้ยนอกระบบค่อนข้างมาก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรูปแบบของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าง ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างทำการศึกษาอยู่ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปและทำได้ภายในปีนี้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับแนวทางในการปรับโครงสรางหนี้ครูเอง หากทำได้ ก็สามารถนำไปใช้กับองค์กรรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ของรัฐบาลได้