ธปท.รับช่วงเศรษฐกิจชะลอ มีประชาชนร้องเรียนทวงหนี้ไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้น แต่มั่นใจส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตามแนวทางไกด์ไลน์ที่ ธปท.ออกมาช่วยเตือนได้ ยอมรับปัญหาการทวงหนี้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเกิดจากไม่มีบทลงโทษชัดเจน ลุ้นรัฐบาลผลักดันให้ พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ เชื่อ ดูแลระบบการทวงหนี้และช่วยเหลือลูกหนี้ได้
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงรอบปี 2551 ที่ผ่านมา พบว่า มีประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันการเงินในระบบ รวมถึงบริการต่างๆ ที่ติดขัดทั้งสิ้น 975 ราย โดยหัวข้อที่มีการร้องเรียนมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ เรื่องแรก เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการรับและจ่ายดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง เรื่องที่สอง เป็นการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม สร้างความรบกวนให้แก่ผู้ใช้บริการ เรื่องที่สาม เกี่ยวกับความไม่ถูกต้องของสัญญา และเรื่องสุดท้าย การติดแบล็กลิสต์ในศูนย์ข้อมูลเครดิต
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ธปท.ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวก็ได้ส่งเรื่องให้สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข ชี้แจงให้แก่ลูกค้ารับทราบทันที พร้อมทั้งรายงานผลกลับมายังธปท.ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ทั้งลูกค้าและสถาบันการเงินสามารถทำความเข้าใจและตกลงกันได้ด้วยดี
ต่อข้อถามที่ว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรวดเร็ว มีลูกค้าธนาคารพาณิชย์ร้องเรียนถึงเรื่องการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม หรือสร้างความรำคาญและรบกวนจนกระทั่งข่มขู่ลูกหนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมามีการรายงานเรื่องข้อร้องเรียนการทวงหนี้ที่เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่ถือว่ามากขึ้นจนผิดปกติ
ด้าน นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว การติดตามทวงหนี้ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการเร่งปรับโครงสร้างลูกหนี้อาจจะเข้มขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตามแนวทางการทวงหนี้ที่ ธปท.เคยออกไป และที่ผ่านมามีบ้างเล็กน้อย ในกรณีที่ทำเกินกว่าแนวทางปฏิบัตร เป็นการรบกวนหรือข่มขู่ อย่างไรก็ตาม ธปท.ก็ได้สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการแก้ไขแล้ว
“อย่างกรณีที่มีการโทร.เตือนให้ชำระหนี้นั้น ในไกด์ไลน์ของ ธปท.ถือว่าทำได้ แต่จะถือเป็นกรณีให้ลูกค้าต้องจ่ายเงินค่าติดตามทวงถามไม่ได้ เพราะค่าติดตามทวงถามนั้น ลูกค้าจะจ่ายต่อเมื่อมีการติดตามทวงถามหนี้หลังจากวันกำหนดชำระแล้วเท่านั้น และการโทร.ทวงถามก็ต้องทำด้วยความสุภาพ และไม่สร้างความรำคาญ เช่น กรณีที่พบว่า มีการโทร.เป็นระยะๆ เพื่อทวงถามหนี้ ตลอดทั้งวันนั้นทำไม่ได้”
นายเกริก กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาปัญหาของการติดตามดูแลการทวงหนี้ของสถาบันการเงินในระบบนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีบทลงโทษ และอำนาจลงโทษสถาบันการเงินที่ชัดเจน เพราะในส่วนของไกด์ไลน์ของ ธปท.นั้น สามารถลงโทษได้ในลักษณะติเตือนเท่านั้น แต่หาก พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ ซึ่งรัฐบาลมีความคิดจะดำเนินการออกเป็นกฎหมายเกิดขึ้นได้เร็ว เชื่อว่าจะช่วยดูแลระบบการทวงหนี้ได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากลูกค้ารายใดเห็นว่าการติดตามทวงหนี้ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทติดตามหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์ว่าจ้างให้ติดตามหนี้ให้สร้างความรำควญ มีวาจาไม่สุภาพ หรือข่มขู่ สามารถที่จะติดต่อหรือร้องเรียนมายัง ธปท.ได้ ที่โทร.02-283-6938 ในวันและเวลาราชการ
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงรอบปี 2551 ที่ผ่านมา พบว่า มีประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันการเงินในระบบ รวมถึงบริการต่างๆ ที่ติดขัดทั้งสิ้น 975 ราย โดยหัวข้อที่มีการร้องเรียนมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ เรื่องแรก เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการรับและจ่ายดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง เรื่องที่สอง เป็นการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม สร้างความรบกวนให้แก่ผู้ใช้บริการ เรื่องที่สาม เกี่ยวกับความไม่ถูกต้องของสัญญา และเรื่องสุดท้าย การติดแบล็กลิสต์ในศูนย์ข้อมูลเครดิต
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ธปท.ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวก็ได้ส่งเรื่องให้สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข ชี้แจงให้แก่ลูกค้ารับทราบทันที พร้อมทั้งรายงานผลกลับมายังธปท.ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ทั้งลูกค้าและสถาบันการเงินสามารถทำความเข้าใจและตกลงกันได้ด้วยดี
ต่อข้อถามที่ว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรวดเร็ว มีลูกค้าธนาคารพาณิชย์ร้องเรียนถึงเรื่องการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม หรือสร้างความรำคาญและรบกวนจนกระทั่งข่มขู่ลูกหนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมามีการรายงานเรื่องข้อร้องเรียนการทวงหนี้ที่เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่ถือว่ามากขึ้นจนผิดปกติ
ด้าน นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว การติดตามทวงหนี้ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการเร่งปรับโครงสร้างลูกหนี้อาจจะเข้มขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตามแนวทางการทวงหนี้ที่ ธปท.เคยออกไป และที่ผ่านมามีบ้างเล็กน้อย ในกรณีที่ทำเกินกว่าแนวทางปฏิบัตร เป็นการรบกวนหรือข่มขู่ อย่างไรก็ตาม ธปท.ก็ได้สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการแก้ไขแล้ว
“อย่างกรณีที่มีการโทร.เตือนให้ชำระหนี้นั้น ในไกด์ไลน์ของ ธปท.ถือว่าทำได้ แต่จะถือเป็นกรณีให้ลูกค้าต้องจ่ายเงินค่าติดตามทวงถามไม่ได้ เพราะค่าติดตามทวงถามนั้น ลูกค้าจะจ่ายต่อเมื่อมีการติดตามทวงถามหนี้หลังจากวันกำหนดชำระแล้วเท่านั้น และการโทร.ทวงถามก็ต้องทำด้วยความสุภาพ และไม่สร้างความรำคาญ เช่น กรณีที่พบว่า มีการโทร.เป็นระยะๆ เพื่อทวงถามหนี้ ตลอดทั้งวันนั้นทำไม่ได้”
นายเกริก กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาปัญหาของการติดตามดูแลการทวงหนี้ของสถาบันการเงินในระบบนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีบทลงโทษ และอำนาจลงโทษสถาบันการเงินที่ชัดเจน เพราะในส่วนของไกด์ไลน์ของ ธปท.นั้น สามารถลงโทษได้ในลักษณะติเตือนเท่านั้น แต่หาก พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ ซึ่งรัฐบาลมีความคิดจะดำเนินการออกเป็นกฎหมายเกิดขึ้นได้เร็ว เชื่อว่าจะช่วยดูแลระบบการทวงหนี้ได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากลูกค้ารายใดเห็นว่าการติดตามทวงหนี้ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทติดตามหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์ว่าจ้างให้ติดตามหนี้ให้สร้างความรำควญ มีวาจาไม่สุภาพ หรือข่มขู่ สามารถที่จะติดต่อหรือร้องเรียนมายัง ธปท.ได้ ที่โทร.02-283-6938 ในวันและเวลาราชการ