สรรพากรเข้มรีดภาษีนิติบุคคลหลังส่งสัญญาณจัดเก็บต่ำเป้า จับตาผู้ตรวจบัญชีสร้างหลักฐานรายจ่ายเท็จหวังฉุดกำไรสุทธิใช้เป็นข้ออ้างจ่ายภาษีลดลง พร้อมทบทวนประมาณการจัดเก็บปี 52 คาดต่ำกว่าเป้า 8% หรือกว่า 1 แสนล้าน ไฟเขียวเงินบริจาคพรรคการเมืองสามารถลดหย่อนภาษีช่วยพัฒนาคุณภาพการเมืองไทยได้
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2552 รัดกุมมากยิ่งขึ้น ขณะนี้กรมสรรพากรได้เข้มงวดกับการชำระภาษีของผู้ประกอบการนิติบุคคลเป็นพิเศษ เนื่องจากพบว่าผู้ประกอบการหลายรายร่วมมือกับผู้ตรวจสอบบัญชีสร้างรายจ่ายที่เป็นเท็จหลายรายการ ได้แก่ ค่าจ้างเหมาจ่าย ค่าที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าไม่มีการใช้จ่ายตามที่แจ้งไว้จริงแต่อย่างใด แต่เป็นการสร้างรายจ่ายเท็จเพื่อให้กำไรสุทธิลดต่ำลงและเสียภาษีในอัตราต่ำตามไปด้วย อีกทั้งในภายหลังก็สามารถนำมาขอคืนภาษีได้อีก เนื่องจากการระบุว่ามีค่าจ้างเหมาจ่ายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ซึ่งส่วนนี้นอกจากรัฐจะไม่ได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้วยังต้องจ่ายภาษีกลับไปให้ผู้กระทำผิดเช่นนี้อีก
"ไม่เพียงแค่สร้างรายจ่ายเท็จเพื่อลดภาษีแต่ยังได้เม็ดเงินที่ไม่ได้จ่ายไว้ก่อนกลับไปด้วย ซึ่งทำให้รัฐเสียหายมาก จำเป็นต้องเข้มงวดกับการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลในรอบปีภาษีนี้ และจะตรวจสอบเพิ่มเติมถึงการตั้งคณะบุคคลอีกเป็นหมื่นรายที่ตั้งขึ้นเพื่อเลี่ยงภาษีเป็นหลัก"นายวินัยกล่าว
***ทบทวนจัดเก็บต่ำเป้า 1 แสนล้าน
อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวต่อว่า กรมสรรพากรได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประมาณการณ์การจัดเก็บรายได้ทั้งปีของปี 2552 ใหม่ พบว่า กรมสรรพากรจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าเดิม 8% หรือประมาณ 1.06 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักเกิดจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดต่ำลงมาก โดยสัดส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็น 40%ของรายได้รวมของกรม
ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลคิดเป็น 30% ซึ่งคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะเป็นเงินได้ที่มาจากผลประกอบการในปี 2551 ที่หลายบริษัทยังไม่ได้ปิดกิจการ ส่วนเงินได้บุคคลธรรมดาคิดเป็น 20% ซึ่งส่วนนี้อาจกระทบบ้างจากการเลิกจ้างงานในหลายกิจการเมื่อปี 2551 อีกทั้งจากการเลื่อนจ่ายโบนัสพนักงานของธุรกิจมาจ่ายในปี 2552 แทน ซึ่งจะกลายเป็นเงินได้ของปี 2552 ที่จะต้องไปชำระภาษีในรอบปี 2553
คาดการณ์ใหม่นี้ได้รวมปัจจัยบวกที่มีผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรม จากแผนการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลด้วยการเพิ่มเติมงบรายจ่ายกลางปี 1.167 แสนล้านบาท แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่เป็นลบที่อาจส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของปีนี้ คือภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะที่เกิดจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากยังคงถดถอยต่อเนื่องยาวนานก็จะส่งผลให้จัดเก็บได้น้อยลงไปอีก
***ไฟเขียวเว้นภาษีบริจาคพรรคการเมือง
รายงานข่าวจากกรมสรรพากร แจ้งว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ..) เรื่องกำหนดเกณฑ์ และวิธีการแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2552 นี้ จะมีผลให้กรมจะต้องแบ่งรายได้จากการบริจาคของผู้ชำระภาษีให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ที่จะนำไปจัดสรรให้พรรคการเมืองต่อไป โดยการบริจาคจะกระทำได้โดยผู้เสียภาษีแต่ละคนจะต้องมีภาระภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป และแจ้งความแสดงจำนงในแบบแสดงรายการด้วยการระบุชื่อพรรคการเมือง ดังนั้นรายได้ซึ่งแต่เดิมจะนำมาใช้เพื่อรายการตามงบประมาณในแต่ละปี ก็จะแบ่งไปเพื่อพัฒนาระบบประชาธิปไตยผ่านพรรคการเมืองด้วย
นอกจากนี้กรมสรรพากรยังอยู่ระหว่างเตรียมจะหารือกับกกต.เพื่อพิจารณาตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 เพื่อลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ที่บริจาคเงินให้พรรคการเมืองโดยตรง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 5,000 ส่วนนิติบุคคลสามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งโครงการเหล่านี้แม้จะทำให้รายได้ที่จะเข้ารัฐลดลงบ้าง แต่จะมีผลให้พัฒนาการเมืองไทยในอนาคตได้ก็คุ้มค่ากัน
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2552 รัดกุมมากยิ่งขึ้น ขณะนี้กรมสรรพากรได้เข้มงวดกับการชำระภาษีของผู้ประกอบการนิติบุคคลเป็นพิเศษ เนื่องจากพบว่าผู้ประกอบการหลายรายร่วมมือกับผู้ตรวจสอบบัญชีสร้างรายจ่ายที่เป็นเท็จหลายรายการ ได้แก่ ค่าจ้างเหมาจ่าย ค่าที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าไม่มีการใช้จ่ายตามที่แจ้งไว้จริงแต่อย่างใด แต่เป็นการสร้างรายจ่ายเท็จเพื่อให้กำไรสุทธิลดต่ำลงและเสียภาษีในอัตราต่ำตามไปด้วย อีกทั้งในภายหลังก็สามารถนำมาขอคืนภาษีได้อีก เนื่องจากการระบุว่ามีค่าจ้างเหมาจ่ายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ซึ่งส่วนนี้นอกจากรัฐจะไม่ได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้วยังต้องจ่ายภาษีกลับไปให้ผู้กระทำผิดเช่นนี้อีก
"ไม่เพียงแค่สร้างรายจ่ายเท็จเพื่อลดภาษีแต่ยังได้เม็ดเงินที่ไม่ได้จ่ายไว้ก่อนกลับไปด้วย ซึ่งทำให้รัฐเสียหายมาก จำเป็นต้องเข้มงวดกับการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลในรอบปีภาษีนี้ และจะตรวจสอบเพิ่มเติมถึงการตั้งคณะบุคคลอีกเป็นหมื่นรายที่ตั้งขึ้นเพื่อเลี่ยงภาษีเป็นหลัก"นายวินัยกล่าว
***ทบทวนจัดเก็บต่ำเป้า 1 แสนล้าน
อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวต่อว่า กรมสรรพากรได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประมาณการณ์การจัดเก็บรายได้ทั้งปีของปี 2552 ใหม่ พบว่า กรมสรรพากรจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าเดิม 8% หรือประมาณ 1.06 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักเกิดจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าลดต่ำลงมาก โดยสัดส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็น 40%ของรายได้รวมของกรม
ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลคิดเป็น 30% ซึ่งคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะเป็นเงินได้ที่มาจากผลประกอบการในปี 2551 ที่หลายบริษัทยังไม่ได้ปิดกิจการ ส่วนเงินได้บุคคลธรรมดาคิดเป็น 20% ซึ่งส่วนนี้อาจกระทบบ้างจากการเลิกจ้างงานในหลายกิจการเมื่อปี 2551 อีกทั้งจากการเลื่อนจ่ายโบนัสพนักงานของธุรกิจมาจ่ายในปี 2552 แทน ซึ่งจะกลายเป็นเงินได้ของปี 2552 ที่จะต้องไปชำระภาษีในรอบปี 2553
คาดการณ์ใหม่นี้ได้รวมปัจจัยบวกที่มีผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรม จากแผนการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลด้วยการเพิ่มเติมงบรายจ่ายกลางปี 1.167 แสนล้านบาท แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่เป็นลบที่อาจส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของปีนี้ คือภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะที่เกิดจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากยังคงถดถอยต่อเนื่องยาวนานก็จะส่งผลให้จัดเก็บได้น้อยลงไปอีก
***ไฟเขียวเว้นภาษีบริจาคพรรคการเมือง
รายงานข่าวจากกรมสรรพากร แจ้งว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ..) เรื่องกำหนดเกณฑ์ และวิธีการแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2552 นี้ จะมีผลให้กรมจะต้องแบ่งรายได้จากการบริจาคของผู้ชำระภาษีให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ที่จะนำไปจัดสรรให้พรรคการเมืองต่อไป โดยการบริจาคจะกระทำได้โดยผู้เสียภาษีแต่ละคนจะต้องมีภาระภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป และแจ้งความแสดงจำนงในแบบแสดงรายการด้วยการระบุชื่อพรรคการเมือง ดังนั้นรายได้ซึ่งแต่เดิมจะนำมาใช้เพื่อรายการตามงบประมาณในแต่ละปี ก็จะแบ่งไปเพื่อพัฒนาระบบประชาธิปไตยผ่านพรรคการเมืองด้วย
นอกจากนี้กรมสรรพากรยังอยู่ระหว่างเตรียมจะหารือกับกกต.เพื่อพิจารณาตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 เพื่อลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ที่บริจาคเงินให้พรรคการเมืองโดยตรง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 5,000 ส่วนนิติบุคคลสามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งโครงการเหล่านี้แม้จะทำให้รายได้ที่จะเข้ารัฐลดลงบ้าง แต่จะมีผลให้พัฒนาการเมืองไทยในอนาคตได้ก็คุ้มค่ากัน