อนาคตมืดมน คนขอสินเชื่อแบงก์ต้องรอสิ้นปี บิ๊ก ธปท.ป้องแบงก์พาณิชย์ยังไม่ปล่อยกู้ เพราะสถานการณ์ยังไม่เป็นใจ หวั่นเจอลูกค้าไม่ดี คุยต่อไปใช้หลักเกณฑ์บาเซิล 2 การปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น เหตุลดน้ำหนักความเสี่ยงที่ใช้คำนวณเงินกองทุน โดยเฉพาะปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อยเหลือ 75% สินเชื่อบ้าน 35% เอื้อธุรกิจแบงก์เล็กที่มีพอร์ตด้านนี้มาก รวมถึงให้แบงก์กันสำรองลูกหนี้เอ็นพีแอลในสัดส่วนที่สูงสามารถลดน้ำหนักความเสี่ยงลงได้
นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงปลายปีนี้ ธปท.เชื่อว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องรักษาลูกค้าที่ดีไว้ ขณะเดียวกัน การปล่อยสินเชื่อถือเป็นธุรกิจหลักของสถาบันการเงิน หากมีการปล่อยกู้ได้น้อย หรือได้ลูกค้าที่ไม่ดีจะทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์พังได้ ดังนั้น ในช่วงนี้สถาบันการเงินจึงมีการรอดูสถานการณ์ต่างๆ ให้นิ่งเสียก่อน
“ตอนนี้ระบบแบงก์มีกำไรมาก แม้อยู่ภายใต้สถานการณ์ไม่ดีนัก เพราะได้มีการตั้งสำรองครบแล้วตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39) ถึง 1.49 แสนล้านบาท และสะท้อนให้เห็นสิ่งที่แบงก์ชาติและแบงก์พาณิชย์ ร่วมกันทำ ดังนั้น ขณะนี้แบงก์จะเคร่งครัดปล่อยสินเชื่อบ้าง แต่เชื่อว่า ไม่กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง เพราะไม่มีใครสามารถขยายสินเชื่อได้ในช่วงที่คำสั่งซื้อลดลง”
ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทย มีเงินกองทุนส่วนเกินประมาณ 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งมีฐานรองรับการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้สูงสุดราว 5.1 ล้านล้านบาท คิดเป็น 76% จากยอดสินเชื่อทั้งหมด
โดยก่อนหน้านี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันแม้ต้นทุนทางการเงินจะต่ำแต่ต้นทุนความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อก็สูงขึ้นเช่นกัน วิธีการที่จะแก้ปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือ การค้ำประกันสินเชื่อโอนผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เท่านั้น
**หวังบาเซิล 2 ช่วยปล่อยกู้ฉลุย
สำหรับการนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนฉบับใหม่ (บาเซิล 2) มาใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.2551 ที่ผ่านมา นายเกริก กล่าวว่า สถาบันการเงินในระบบทั้งสิ้น 34 แห่ง ส่วนใหญ่เลือกใช้วิธี SA และที่เหลืออีก 3 แห่ง ใช้วิธี IRB ซึ่งเป็นสถาบันการเงินต่างชาติขนาดเล็กที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย และเป็นการใช้ตามบริษัทแม่ในต่างประเทศ และมั่นใจว่า จะสามารถเดินหน้าตามหลักเกณฑ์นี้ที่เหลือภายในสิ้นปีนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้เกิดวิกฤตการเงินโลก แต่ ธปท.ยังนำหลักเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้ เนื่องจากมองว่า สถาบันการเงินไทยยังมีความแข็งแกร่ง ซึ่งล่าสุด ในสิ้นเดือน ก.ย.สถาบันการเงินไทยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) อยู่ที่ 15.7% แต่เมื่อใช้หลักเกณฑ์นี้เงินกองทุนลดลง 1.8% เหลือประมาณ 13.9% ประกอบสถาบันการเงินได้เตรียมการรองรับนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ตั้งแต่ปี 2548 จึงเชื่อว่า แม้จะนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ก็ไม่ได้กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อให้น้อยลง และไม่จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินในระบบเพิ่มทุน
ทั้งนี้ การนำหลักเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้กลับช่วยสนับสนุนการขยายตัวสินเชื่อมากขึ้น จากหลักเกณฑ์บาเซิล 1 โดยเฉพาะลดน้ำหนักความเสี่ยงที่ใช้คำนวณเงินกองทุนสำหรับสินเชื่อรายย่อยจาก 100% เป็น 75% สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 50% เป็น 35% ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กจะปล่อยสินเชื่อด้านนี้มาก อีกทั้งด้านหลักประกันการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่สามารถใช้ปรับลดความเสี่ยงและลดเงินกองทุนได้ก็ขยายประเภทมากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินมีภาระหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สูงขึ้น ประกอบกับหลักเกณฑ์นี้จะกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนสูงขึ้นกว่าหลักเกณฑ์บาเซิล 1 คือ มีน้ำหนักความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจาก 100% มาเป็น 150% แต่ ธปท.ได้กลับเปิดช่องให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้เอ็นพีแอลในสัดส่วนสูงสามารถลดน้ำหนักความเสี่ยงลงได้
อีกทั้งเกณฑ์บาเซิล 2 ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ถือว่าสอดคล้องกับความเสี่ยงที่แท้จริงมากขึ้น และแม้ไทยเริ่มใช้หลักเกณฑ์นี้ในปี 2551-2552 ซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายในลุ่มอาเซียน แต่เชื่อว่า การนำเกณฑ์มาตรฐานสากลมาใช้ช่วยให้ความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงินไทยมากขึ้น
“ในสถานการณ์ปัจจุบันการผ่อนคลายกฎเกณฑ์มากเกินไป หรือขันนอตให้แน่นมากเกินไปไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่แบงก์ชาติพยายามให้การเกณฑ์ต่างๆ ให้นิ่ง ซึ่งปัจจุบันระบบแบงก์พาณิชย์ไทยแข่งแกร่งมีเงินกองทุนเฉลี่ยทั้งระบบอยู่ที่ระดับ 13-14% ขณะที่ต่างชาติมีเงินกองทุนแค่ 8% เท่านั้น จึงไม่ได้ห่วงเรื่องการออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มาบังคับสถาบันการเงินในระบบ”
นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงปลายปีนี้ ธปท.เชื่อว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องรักษาลูกค้าที่ดีไว้ ขณะเดียวกัน การปล่อยสินเชื่อถือเป็นธุรกิจหลักของสถาบันการเงิน หากมีการปล่อยกู้ได้น้อย หรือได้ลูกค้าที่ไม่ดีจะทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์พังได้ ดังนั้น ในช่วงนี้สถาบันการเงินจึงมีการรอดูสถานการณ์ต่างๆ ให้นิ่งเสียก่อน
“ตอนนี้ระบบแบงก์มีกำไรมาก แม้อยู่ภายใต้สถานการณ์ไม่ดีนัก เพราะได้มีการตั้งสำรองครบแล้วตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39) ถึง 1.49 แสนล้านบาท และสะท้อนให้เห็นสิ่งที่แบงก์ชาติและแบงก์พาณิชย์ ร่วมกันทำ ดังนั้น ขณะนี้แบงก์จะเคร่งครัดปล่อยสินเชื่อบ้าง แต่เชื่อว่า ไม่กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง เพราะไม่มีใครสามารถขยายสินเชื่อได้ในช่วงที่คำสั่งซื้อลดลง”
ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทย มีเงินกองทุนส่วนเกินประมาณ 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งมีฐานรองรับการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้สูงสุดราว 5.1 ล้านล้านบาท คิดเป็น 76% จากยอดสินเชื่อทั้งหมด
โดยก่อนหน้านี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันแม้ต้นทุนทางการเงินจะต่ำแต่ต้นทุนความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อก็สูงขึ้นเช่นกัน วิธีการที่จะแก้ปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือ การค้ำประกันสินเชื่อโอนผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เท่านั้น
**หวังบาเซิล 2 ช่วยปล่อยกู้ฉลุย
สำหรับการนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนฉบับใหม่ (บาเซิล 2) มาใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.2551 ที่ผ่านมา นายเกริก กล่าวว่า สถาบันการเงินในระบบทั้งสิ้น 34 แห่ง ส่วนใหญ่เลือกใช้วิธี SA และที่เหลืออีก 3 แห่ง ใช้วิธี IRB ซึ่งเป็นสถาบันการเงินต่างชาติขนาดเล็กที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย และเป็นการใช้ตามบริษัทแม่ในต่างประเทศ และมั่นใจว่า จะสามารถเดินหน้าตามหลักเกณฑ์นี้ที่เหลือภายในสิ้นปีนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้เกิดวิกฤตการเงินโลก แต่ ธปท.ยังนำหลักเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้ เนื่องจากมองว่า สถาบันการเงินไทยยังมีความแข็งแกร่ง ซึ่งล่าสุด ในสิ้นเดือน ก.ย.สถาบันการเงินไทยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) อยู่ที่ 15.7% แต่เมื่อใช้หลักเกณฑ์นี้เงินกองทุนลดลง 1.8% เหลือประมาณ 13.9% ประกอบสถาบันการเงินได้เตรียมการรองรับนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ตั้งแต่ปี 2548 จึงเชื่อว่า แม้จะนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ก็ไม่ได้กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อให้น้อยลง และไม่จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินในระบบเพิ่มทุน
ทั้งนี้ การนำหลักเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้กลับช่วยสนับสนุนการขยายตัวสินเชื่อมากขึ้น จากหลักเกณฑ์บาเซิล 1 โดยเฉพาะลดน้ำหนักความเสี่ยงที่ใช้คำนวณเงินกองทุนสำหรับสินเชื่อรายย่อยจาก 100% เป็น 75% สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 50% เป็น 35% ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กจะปล่อยสินเชื่อด้านนี้มาก อีกทั้งด้านหลักประกันการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่สามารถใช้ปรับลดความเสี่ยงและลดเงินกองทุนได้ก็ขยายประเภทมากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินมีภาระหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สูงขึ้น ประกอบกับหลักเกณฑ์นี้จะกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนสูงขึ้นกว่าหลักเกณฑ์บาเซิล 1 คือ มีน้ำหนักความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจาก 100% มาเป็น 150% แต่ ธปท.ได้กลับเปิดช่องให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้เอ็นพีแอลในสัดส่วนสูงสามารถลดน้ำหนักความเสี่ยงลงได้
อีกทั้งเกณฑ์บาเซิล 2 ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ถือว่าสอดคล้องกับความเสี่ยงที่แท้จริงมากขึ้น และแม้ไทยเริ่มใช้หลักเกณฑ์นี้ในปี 2551-2552 ซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายในลุ่มอาเซียน แต่เชื่อว่า การนำเกณฑ์มาตรฐานสากลมาใช้ช่วยให้ความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงินไทยมากขึ้น
“ในสถานการณ์ปัจจุบันการผ่อนคลายกฎเกณฑ์มากเกินไป หรือขันนอตให้แน่นมากเกินไปไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่แบงก์ชาติพยายามให้การเกณฑ์ต่างๆ ให้นิ่ง ซึ่งปัจจุบันระบบแบงก์พาณิชย์ไทยแข่งแกร่งมีเงินกองทุนเฉลี่ยทั้งระบบอยู่ที่ระดับ 13-14% ขณะที่ต่างชาติมีเงินกองทุนแค่ 8% เท่านั้น จึงไม่ได้ห่วงเรื่องการออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มาบังคับสถาบันการเงินในระบบ”