“กรณ์ จาติกวณิช” เบรกแผนควบเอสเอ็มอีแบงก์-บสย.ให้โอกาส 2 หน่วยงานปรับประประสิทธิภาพ ร่วมกันผลักดันเศรษฐกิจให้เดินหน้าจะเป็นทางออกที่ดี เปิดทางเอเอ็มซีซื้อหนี้เสียไปบริหาร หวังให้ธนาคารเดินหน้าทำธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ส่วนการเพิ่มทุนต้องแลกกับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการภายในให้เรียบร้อยก่อน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จะไม่มีการควบรวมธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ กับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ตามแผนเดิมที่ขอความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ได้หารือกับ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่เป็นผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 2 แห่ง ซึ่งเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะเดิมการควบรวมถือเป็นช่องทางที่ควรจะพิจารณาในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของทั้งสององค์กร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคิดว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
“ผมได้เรียนกับผู้บริหารทั้งสององค์กร ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับการทำงานของทั้งสององค์กร เพราะว่าความสำคัญของทั้งสององค์กรในปัจจุบันมีมากขึ้น ฉะนั้น แผนการควบรวมของทั้งสององค์กร ต้องพักไปก่อน เพราะว่ามีช่องทางอื่นที่ดีกว่า ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้รับทราบนโยบายนี้แล้ว และ นายประดิษฐ์ ก็รับทราบแล้ว”
นายกรณ์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทางการบริษัท บริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) เพื่อซื้อหนี้เสียจากเอสเอ็มอีแบงก์ไปบริหารต่อ เพราะถือว่าจะเกิดประโยชน์ เนื่องจากมีการแยกสิ่งที่มีปัญหาออกจากส่วนการดำเนินการอื่นของธนาคาร เพื่อที่ธนาคารจะได้เดินหน้าในส่วนหน้าที่หลักของธนาคารได้ต่อไป
“โดยปกติทักษะที่สร้างธุรกิจแตกต่างจากการแก้ปัญหาหนี้เสียที่สะสมมาในอดีต ดังนั้น หากแยกตัวละครให้ออกมาอย่างชัดเจนจะเป็นประโยชน์ ทำให้เราสามารถประเมินผลงาน และทีมบริหารของธนาคารจากวันนี้ไปในอนาคตได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งแนวคิดการตั้งเอเอ็มซีรับได้ ส่วนรายละเอียดต้องมีการปรึกษากับนายประดิษฐ์ ซึ่งดูเรื่องเอสเอ็มอีแบงก์โดยตรง”
นายกรณ์ กล่าวว่า การเพิ่มทุนให้เอสเอ็มอีแบงก์มีความจำเป็น เพื่อให้ขยายสินเชื่อกับผู้ประกอบการ ซึ่งรัฐบาลคาดหวังให้เอสเอ็มอีแบงก์เป็นส่วนสำคัญช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่อง และการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กมากขึ้น จึงต้องเพิ่มทุนให้เอสเอ็มอีแบงก์ ส่วนจะต้องมีการปรับการบริหารงานอย่างไร ก็ยังเป็นคำถามที่ต้องมีคำตอบ ซึ่งที่ผ่านมาทราบกันดีกว่าเอสเอ็มอีแบงก์มีปัญหาเรื่องบริหารจัดการทำให้มีหนี้เสียสูง
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จะไม่มีการควบรวมธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ กับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ตามแผนเดิมที่ขอความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ได้หารือกับ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่เป็นผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 2 แห่ง ซึ่งเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะเดิมการควบรวมถือเป็นช่องทางที่ควรจะพิจารณาในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของทั้งสององค์กร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคิดว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
“ผมได้เรียนกับผู้บริหารทั้งสององค์กร ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับการทำงานของทั้งสององค์กร เพราะว่าความสำคัญของทั้งสององค์กรในปัจจุบันมีมากขึ้น ฉะนั้น แผนการควบรวมของทั้งสององค์กร ต้องพักไปก่อน เพราะว่ามีช่องทางอื่นที่ดีกว่า ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้รับทราบนโยบายนี้แล้ว และ นายประดิษฐ์ ก็รับทราบแล้ว”
นายกรณ์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทางการบริษัท บริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) เพื่อซื้อหนี้เสียจากเอสเอ็มอีแบงก์ไปบริหารต่อ เพราะถือว่าจะเกิดประโยชน์ เนื่องจากมีการแยกสิ่งที่มีปัญหาออกจากส่วนการดำเนินการอื่นของธนาคาร เพื่อที่ธนาคารจะได้เดินหน้าในส่วนหน้าที่หลักของธนาคารได้ต่อไป
“โดยปกติทักษะที่สร้างธุรกิจแตกต่างจากการแก้ปัญหาหนี้เสียที่สะสมมาในอดีต ดังนั้น หากแยกตัวละครให้ออกมาอย่างชัดเจนจะเป็นประโยชน์ ทำให้เราสามารถประเมินผลงาน และทีมบริหารของธนาคารจากวันนี้ไปในอนาคตได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งแนวคิดการตั้งเอเอ็มซีรับได้ ส่วนรายละเอียดต้องมีการปรึกษากับนายประดิษฐ์ ซึ่งดูเรื่องเอสเอ็มอีแบงก์โดยตรง”
นายกรณ์ กล่าวว่า การเพิ่มทุนให้เอสเอ็มอีแบงก์มีความจำเป็น เพื่อให้ขยายสินเชื่อกับผู้ประกอบการ ซึ่งรัฐบาลคาดหวังให้เอสเอ็มอีแบงก์เป็นส่วนสำคัญช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่อง และการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กมากขึ้น จึงต้องเพิ่มทุนให้เอสเอ็มอีแบงก์ ส่วนจะต้องมีการปรับการบริหารงานอย่างไร ก็ยังเป็นคำถามที่ต้องมีคำตอบ ซึ่งที่ผ่านมาทราบกันดีกว่าเอสเอ็มอีแบงก์มีปัญหาเรื่องบริหารจัดการทำให้มีหนี้เสียสูง