บสย.เผยแผนงานปี 52 ออกมาตรการค้ำประกันเงินกู้เพิ่มเป็น 7,000 ล้านบาท เตรียมพิจารณาประกันในลักษณะรับความเสี่ยงร่วมกัน พร้อมแบกรับหนี้เสียมากขึ้น หวังแบงก์รัฐฯ ปล่อยสินเชื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการ เผยขณะนี้ บสย.มีเงินกองทุน 3,400 ล้านบาท สามารถค้ำประกันสินเชื่อได้ 10 เท่าของเงินกองทุน จึงค้ำประกันสินเชื่อให้เอสเอ็มอีได้ถึง 34,000 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บยส.) กล่าวว่า แผนการดำเนินงานในปี 52 กำหนดเป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อตามธุรกรรมปกติ 6,000 ล้านบาท และค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาลเพิ่มเติมอีก 7,000 ล้านบาท รวมเป้าหมายค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 13,000 ล้านบาท โดย บสย.กำลังปรับปรุงการพิจารณาค้ำประกันในลักษณะรับความเสี่ยงร่วมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 52 นี้
“ผมยอมรับว่าแม้สภาพคล่องในระบบยังมีอีกมาก แต่ธนาคารก็ยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพราะไม่มั่นใจกับความเสี่ยงของสินเชื่อที่เกิดขึ้น ดังนั้น บสย.พร้อมเพิ่มสัดส่วนการรับภาระของหนี้เสียจากร้อยละ 8 เพิ่มเป็นร้อยละ 12-15 เพื่อดึงดูดให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะการค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลจำนวน 7,000 ล้านบาท จะผ่อนปรนหลักเกณฑ์การค้ำประกันและคิดค่าธรรมเนียมในอัตราพิเศษ” นายทวีศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีได้มากขึ้น ด้วยการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง การช่วยเหลือเอสเอ็มอีในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว และการค้ำประกันเอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอล แต่ยังมีศักยภาพเพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลให้ลดลง โดยขณะนี้ค่าธรรมเนียบที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 1.75 ของสินเชื่อ โดยขณะนี้ บสย.มีเงินกองทุน 3,400 ล้านบาท สามารถค้ำประกันสินเชื่อได้ 10 เท่าของเงินกองทุน จึงค้ำประกันสินเชื่อให้เอสเอ็มอีได้ถึง 34,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้ยังเหลือยอดค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 12,000-13,000 ล้านบาท หากรัฐบาลต้องการให้ค้ำประกันสินเชื่อกับเอสเอ็มอีอีก 20,000 ล้านบาท ก็ต้องช่วยเหลือการเพิ่มทุนให้ บสย.ประมาณ 3,000 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บยส.) กล่าวว่า แผนการดำเนินงานในปี 52 กำหนดเป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อตามธุรกรรมปกติ 6,000 ล้านบาท และค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาลเพิ่มเติมอีก 7,000 ล้านบาท รวมเป้าหมายค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 13,000 ล้านบาท โดย บสย.กำลังปรับปรุงการพิจารณาค้ำประกันในลักษณะรับความเสี่ยงร่วมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 52 นี้
“ผมยอมรับว่าแม้สภาพคล่องในระบบยังมีอีกมาก แต่ธนาคารก็ยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพราะไม่มั่นใจกับความเสี่ยงของสินเชื่อที่เกิดขึ้น ดังนั้น บสย.พร้อมเพิ่มสัดส่วนการรับภาระของหนี้เสียจากร้อยละ 8 เพิ่มเป็นร้อยละ 12-15 เพื่อดึงดูดให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะการค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลจำนวน 7,000 ล้านบาท จะผ่อนปรนหลักเกณฑ์การค้ำประกันและคิดค่าธรรมเนียมในอัตราพิเศษ” นายทวีศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีได้มากขึ้น ด้วยการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง การช่วยเหลือเอสเอ็มอีในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว และการค้ำประกันเอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอล แต่ยังมีศักยภาพเพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลให้ลดลง โดยขณะนี้ค่าธรรมเนียบที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 1.75 ของสินเชื่อ โดยขณะนี้ บสย.มีเงินกองทุน 3,400 ล้านบาท สามารถค้ำประกันสินเชื่อได้ 10 เท่าของเงินกองทุน จึงค้ำประกันสินเชื่อให้เอสเอ็มอีได้ถึง 34,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้ยังเหลือยอดค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 12,000-13,000 ล้านบาท หากรัฐบาลต้องการให้ค้ำประกันสินเชื่อกับเอสเอ็มอีอีก 20,000 ล้านบาท ก็ต้องช่วยเหลือการเพิ่มทุนให้ บสย.ประมาณ 3,000 ล้านบาท